พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8674/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบทะเบียนพาณิชย์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การฟ้องคดีขาดอายุความ
ใบทะเบียนพาณิชย์เป็นเอกสารราชการที่รัฐต้องการควบคุมพาณิชยกิจบางประเภทให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ทางสถิติและเพื่อทราบหลักฐานการประกอบพาณิชยกิจของผู้ประกอบการค้า อันจะใช้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการพาณิชย์ อุตสาหกรรม และปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น มิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 1 (9) การที่จำเลยปลอมใบทะเบียนพาณิชย์และใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และไม่เป็นการใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดเดียวกัน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในคดีนี้กับคดีอาญาเลขแดงที่ 3337/2561 ของศาลชั้นต้นปรากฏว่า ธ. ขับรถกระบะเพื่อไปพาคนต่างด้าวชาวกัมพูชาซึ่งเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายที่ป่าอ้อยรวม 58 คน โดย ธ. ได้แจ้งให้ ม. ขับรถกระบะเพื่อไปรับคนต่างด้าวดังกล่าวด้วย โดยอ้างว่าจำเลยใช้ให้ขับรถไปรับคนต่างด้าวจำนวนดังกล่าว ภายหลังบรรทุกคนต่างด้าวขึ้นรถกระบะทั้งสองคันแล้ว ธ. กับ ม. ก็ขับติดตามกันออกมาจากป่าอ้อยและแล่นไล่ตามกันไปจนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมตัวพร้อมรถกระบะและคนต่างด้าวรวม 58 คน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ธ. กับ ม. มีเจตนาที่จะร่วมกันไปรับคนต่างด้าวทั้ง 58 คน ซึ่งรวมอยู่ที่ป่าอ้อย แม้มีการใช้รถกระบะไปรับคนต่างด้าวดังกล่าว 2 คัน โดย ธ. กับ ม. ขับรถกันคนละคันก็ตาม แต่ก็เนื่องมาจากรถกระบะเพียงคันเดียวไม่สามารถบรรทุกคนต่างด้าวได้หมด และคนต่างด้าวที่ไปรับก็รวมตัวกันอยู่ที่แห่งเดียวกัน ภายหลังจากรับคนต่างด้าวแล้วยังขับรถกระบะตามกันเพื่อพาคนต่างด้าวไปเพื่อให้พ้นการจับกุมโดยปลายทางเป็นที่แห่งเดียวกันอีก อันเป็นการกระทำในคราวเดียวกัน ต่อเนื่องกันไป เช่นนี้แล้วจึงต้องถือว่า ธ. กับ ม. มีเจตนาร่วมกันเพื่อพาคนต่างด้าวทั้ง 58 คน ไปเพื่อให้พ้นจากจากการจับกุมตามเจตนาที่มีมาแต่แรก การกระทำของ ธ. กับ ม. จึงเป็นการกระทำอันเดียวกัน และมีเจตนาอย่างเดียวกัน เกิดขึ้นในคราวเดียวกันต่อเนื่องกันไป เป็นการกระทำความผิดเพียงกรรมเดียว มิใช่หลายกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยร่วมกับ ม. ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3337/2561 ของศาลชั้นต้น ในการกระทำอันเดียวกันกับคดีนี้ไปแล้ว โดยศาลพิพากษายกฟ้องจำเลย คดีถึงที่สุด การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยว่าร่วมกับ ธ. เป็นคดีนี้อีก ซึ่งเป็นการกระทำอันเดียวกันกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยซ้ำในความผิดฐานฉ้อโกงและการลงโทษตามกฎหมายที่หนักที่สุด
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีนี้ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก (เดิม) ถึงแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก (เดิม) ด้วย แต่ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองคนหางานโดยเฉพาะ มิได้ลงโทษและกำหนดโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์แต่อย่างใด ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้จะเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งเพราะได้กระทำความผิดซ้ำในอนุมาตราเดียวกัน ตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) ไม่ได้ ต้องเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 และถึงแม้คดีนี้ โจทก์จะขอเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมาก็ตาม ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรบกวนสิทธิใช้ประโยชน์ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทำให้เสียหาย เป็นเหตุให้ฟ้องอาญาได้
การที่จำเลยทั้งสองถมดินและปลูกสร้างอาคารในทางสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่พลเมืองใช้ร่วมกัน จนทำให้โจทก์ทั้งสามไม่สามารถใช้สัญจรเข้าออกสู่ทางหลวงแผ่นดิน และใช้เป็นช่องทางระบายน้ำที่ท่วมขังให้ไหลลงสู่ห้วยสวนพริก เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังบ้านของโจทก์ทั้งสามจนได้รับความเสียหาย อันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ทั้งสามในอันที่จะใช้ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และถือว่าโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์ทั้งสามจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่เสนอราคาโดยมิชอบ การพิสูจน์เจตนาเอื้อประโยชน์ และความผิดตาม พ.ร.บ.เสนอราคา
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 นั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำการใด ๆ ต้องมีเจตนามุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและเพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ แต่การกระทำของจำเลยจากทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำการเพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดโดยเฉพาะที่เข้าเสนอราคาด้วยให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ คงเป็นแต่เพียงอาจทำให้ผู้เข้าเสนอราคามีจำนวนลดน้อยลงเพราะมิได้มีการส่งเอกสารการประกวดราคาไปประกาศที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอาจเป็นความผิดทางวินัยเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 โจทก์ไปหาจำเลยทั้งสองที่บ้านตามฟ้อง แต่ไม่พบจำเลยที่ 1 ทราบว่าย้ายออกจากบ้านนานแล้ว โดยนำทรัพย์สินภายในบ้านติดตัวไปด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่ทราบว่าทำงานอยู่ที่ใดเพราะปิดบังที่ทำงาน เพื่อไม่ให้โจทก์อายัดเงินเดือนของจำเลยที่ 2 ได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์ไม่บรรยายรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 อย่างชัดแจ้ง การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในฟ้องจึงไม่เป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ตนรู้ว่าน่าจะถูกอายัด อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 187 เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และปัญหาว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญอันเป็นองค์ประกอบความผิดหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ลงโทษฐานครอบครองกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตแทน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า เครื่องกระสุนปืนเล็กกลของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ และเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 เท่านั้น โดยไม่บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวเป็นชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง กรณีจึงไม่อาจฟังว่าเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวงดังกล่าว ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ตามฟ้อง แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครอง ย่อมรวมถึงการมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้ในตัวเอง จึงไม่ใช่ความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ แม้ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 บัญญัติความผิดทั้งสองฐานไว้ในคนละมาตรา แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องฟังได้ว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแพ่งและอาญา, อำนาจฟ้อง, ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา
พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดฐานฉ้อโกง กับมีคำขอให้คืนหรือใช้เงิน ที่ผู้เสียหายส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แก่ผู้เสียหาย อันเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คืนในคดีนี้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระยะเวลาที่คดีอาญาดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฟ้องโจทก์ในส่วนเงินที่ส่งมอบอันเป็นต้นเงินจึงเป็นฟ้องซ้อน แต่ในส่วนดอกเบี้ย พนักงานอัยการไม่ได้ขอให้ชดใช้ในคดีอาญาดังกล่าว จึงไม่เป็นฟ้อนซ้อน
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้หลอกลวงโจทก์ และเงินที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ถูกส่งเป็นทอด ๆ ไปให้จำเลยที่ 4 โดยมิได้อยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โจทก์จะใช้สิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชำระดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้หลอกลวงโจทก์ และเงินที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ถูกส่งเป็นทอด ๆ ไปให้จำเลยที่ 4 โดยมิได้อยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โจทก์จะใช้สิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชำระดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานรัฐ – การอนุมัติสินเชื่อโดยมิชอบ – ความผิดฐานสนับสนุน – อายุความ
คดีของโจทก์มิใช่เป็นกรณีที่อัยการสูงสุดเป็นผู้ฟ้องคดีหรือประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ฟ้องคดีในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 97 วรรคหนึ่ง ที่ศาลจะมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มาศาลในวันที่ศาลประทับฟ้องครั้งแรกซึ่งอยู่ในกำหนดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 แม้การประทับฟ้องครั้งดังกล่าวจะเป็นการผิดพลาดและศาลชั้นต้นต้องนัดไต่สวนมูลฟ้องใหม่ และวันที่ศาลชั้นต้นสั่งคดีมีมูลจะพ้นกำหนดอายุความไปแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้ามาแสดงตนในวันที่ศาลสั่งประทับฟ้องครั้งแรก และออกหมายขังจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไว้ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ในอำนาจศาลแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มาศาลในวันที่ศาลประทับฟ้องครั้งแรกซึ่งอยู่ในกำหนดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 แม้การประทับฟ้องครั้งดังกล่าวจะเป็นการผิดพลาดและศาลชั้นต้นต้องนัดไต่สวนมูลฟ้องใหม่ และวันที่ศาลชั้นต้นสั่งคดีมีมูลจะพ้นกำหนดอายุความไปแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้ามาแสดงตนในวันที่ศาลสั่งประทับฟ้องครั้งแรก และออกหมายขังจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไว้ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ในอำนาจศาลแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี และพรากผู้เยาว์จากผู้ปกครอง
โจทก์ร่วมที่ 1 ไปที่กระท่อมของจำเลย จำเลยข่มขู่โจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ให้ออกจากกระท่อม เพื่อต้องการกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 โดยโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองไม่ทราบเรื่องและไม่ยินยอมให้โจทก์ร่วมที่ 1 อยู่ภายในกระท่อมกับจำเลย ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ที่ใด หากบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่เด็กย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตลอดเวลา การที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากกระท่อมของจำเลย เป็นการแยกอำนาจปกครองโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากโจทก์ร่วมที่ 2 แม้เพียงชั่วคราวก็เป็นการพรากผู้เยาว์ เมื่อจำเลยพรากโจทก์ร่วมที่ 1 ไปจากโจทก์ร่วมที่ 2 แล้วกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร
โจทก์ร่วมที่ 1 เดินทางมาที่กระท่อมจำเลยพร้อมเด็กชาย ศ. ทั้งสองครั้ง จำเลยมิได้พาโจทก์ร่วมที่ 1 มาที่กระท่อมที่เกิดเหตุและมิได้พาโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากกระท่อมไปที่ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร
โจทก์ร่วมที่ 1 เดินทางมาที่กระท่อมจำเลยพร้อมเด็กชาย ศ. ทั้งสองครั้ง จำเลยมิได้พาโจทก์ร่วมที่ 1 มาที่กระท่อมที่เกิดเหตุและมิได้พาโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากกระท่อมไปที่ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร