พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของผู้รับตราส่งเมื่อสินค้าสูญหายก่อนถึงปลายทาง สิทธิจะเกิดขึ้นเมื่อสินค้าถึงปลายทางและมีการเรียกรับ
ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 1 เพื่อขนส่งมาให้โจทก์ที่ประเทศไทยแล้ว แต่โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง ไม่ใช่คู่สัญญารับขนเมื่อสินค้าได้สูญหายไปก่อนถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นสถานที่ที่กำหนดให้ส่งสินค้า แม้โจทก์จะได้เรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ส่งมอบสินค้าแต่เมื่อสินค้าได้สูญหายไปก่อนแล้ว ย่อมไม่อาจส่งมอบและรับมอบสินค้ากันได้ สิทธิของผู้ส่งหรือผู้ตราส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนยังไม่ตกได้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับตราส่งตกลงชำระค่าระวางแบบ ซีวาย/ซีวาย มีสิทธิรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเมื่อไม่รับสินค้า
จำเลยสั่งซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัท ก. ในประเทศ สหรัฐอเมริกาแล้วว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าทางทะเลแบบ ซีวาย/ซีวาย โดยบริษัท ก.เป็นฝ่ายนำตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ามามอบให้โจทก์บรรทุกลงเรือเมื่อมาถึงท่าเรือกรุงเทพฯซึ่งเป็นท่าปลายทางจำเลยมีหน้าที่ไปขนถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ภายใน7วันแล้วส่งตู้คอนเทนเนอร์คืนโจทก์จำเลยจะชำระราคาสินค้าให้บริษัท ก.โดยผ่านทางธนาคารแล้วจำเลยจะรับใบตราส่งจากธนาคารไปแลกใบสั่งปล่อยสินค้าจากโจทก์เพื่อไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยต่อมาโจทก์ขนส่งสินค้าพิพาทไปถึงท่าเรือปลายทางและพร้อมที่จะส่งมอบสินค้าโดยยกตู้คอนเทนเนอร์ออกจากเรือทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าระวางและค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ไปรับสินค้าตามข้อตกลงการที่จำเลยจะเรียกให้โจทก์ส่งมอบสินค้าหรือไม่หามีผลต่อความรับผิดที่จำเลยมีตามข้อตกลงไม่ปัญหาว่าเมื่อผู้รับตราส่งยังไม่ได้เรียกให้ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าโดยวิธีนำใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าจะทำให้ผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับโอนสิทธิหน้าที่อันเกิดจากสัญญารับขนหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนทางทะเลต่างประเทศ: การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อมูลคดีเกิดในไทย และข้อยกเว้นความรับผิด
สัญญารับขนทำในต่างประเทศระหว่างผู้ส่งและจำเลยผู้ขนส่งซึ่งต่างก็มิใช่บุคคลสัญชาติไทย เมื่อสินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่ง และผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วแต่ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนสูญหาย ทั้งผู้ซื้อและจำเลยเป็นนิติบุคคลที่มีสาขาในประเทศไทย มูลคดีจึงเกิดในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย กรณีไม่มีปัญหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่าผู้ส่งได้ทำความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิด ข้อความจำกัดความรับผิดด้านหลังใบตราส่งจึงใช้ยันผู้ส่งผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: การยกเว้นความรับผิดต้องชัดเจนและมีผลผูกพัน
มูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย ไม่อาจนำพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเลค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้บังคับเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่ง และบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงต้องชัดเจนและมีผลผูกพันตามกฎหมายไทย
มูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย ไม่อาจนำ พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา มาใช้บังคับเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5)แห่ง พระราชบัญญัติ รับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่ อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5)แห่ง พระราชบัญญัติ รับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่ อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: การแสดงเจตนาชัดแจ้งของผู้ส่งสินค้า
เมื่อสินค้าพิพาทส่งมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งปรากฏว่าหีบห่อชำรุดเสียหาย 2 หีบ สินค้าสูญหายไป 9 รายการ เช่นนี้มูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายไทย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่า รับขนของทางทะเล ให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่เลย จึงจำเป็นต้องนำบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5) แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ด้านหลังใบตราส่งเป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กมากจนยากที่จะอ่านได้ ไม่มีช่องสำหรับให้ผู้ใดลงชื่อ แม้ผู้ส่งสินค้าจะลงชื่อไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว แต่ก็ลงชื่อด้วยตัวอักษรโตกว่าข้อกำหนดต่าง ๆ มากทั้งลงชื่อทับข้อกำหนดต่าง ๆ ด้วยน่าจะเป็นการลงชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารมากกว่า ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ส่งและผู้รับตราส่งซึ่งรับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่งด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่จำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5) แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ด้านหลังใบตราส่งเป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กมากจนยากที่จะอ่านได้ ไม่มีช่องสำหรับให้ผู้ใดลงชื่อ แม้ผู้ส่งสินค้าจะลงชื่อไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว แต่ก็ลงชื่อด้วยตัวอักษรโตกว่าข้อกำหนดต่าง ๆ มากทั้งลงชื่อทับข้อกำหนดต่าง ๆ ด้วยน่าจะเป็นการลงชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารมากกว่า ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ส่งและผู้รับตราส่งซึ่งรับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่งด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้ขนส่งร่วมกันและการช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยสินค้า
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ผู้รับตราส่งได้นำใบตราส่งพร้อมหลักฐานอื่นไปขอออกสินค้าลูกปืนและตลับลูกปืนที่สั่งซื้อจากการท่าเรือแห่ง ประเทศไทยแล้วสิทธิของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนสินค้ารายนี้ย่อมตกได้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปย่อมได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องผู้รับขนผู้ก่อความเสียหายแก่สินค้ารายนี้ได้
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับสินค้าในใบตราส่ง เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย บริษัทตัวแทนเรือในต่างประเทศได้แจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ไปรับสินค้าจากคลังสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 มีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ผู้ควบคุมการเดินเรือของประเทศสหภาพโซเวียต โดยได้รับค่าตอบแทนตามอัตราสินค้าเข้าและสินค้าออกของค่าระวาง แต่ในคดีนี้เรือบรรทุกสินค้าของประเทศสหภาพโซเวียตมิได้เข้ามาในประเทศไทย โดยได้ขนถ่ายสินค้ารายนี้ให้สายการเดินเรืออื่นทำการขนส่งอีกทอดหนึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมดำเนินการขนส่งหรือได้ผลประโยชน์ในการขนส่งสินค้ารายนี้ ดังนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมขนส่งด้วยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับสินค้าในใบตราส่ง เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย บริษัทตัวแทนเรือในต่างประเทศได้แจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ไปรับสินค้าจากคลังสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 มีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ผู้ควบคุมการเดินเรือของประเทศสหภาพโซเวียต โดยได้รับค่าตอบแทนตามอัตราสินค้าเข้าและสินค้าออกของค่าระวาง แต่ในคดีนี้เรือบรรทุกสินค้าของประเทศสหภาพโซเวียตมิได้เข้ามาในประเทศไทย โดยได้ขนถ่ายสินค้ารายนี้ให้สายการเดินเรืออื่นทำการขนส่งอีกทอดหนึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมดำเนินการขนส่งหรือได้ผลประโยชน์ในการขนส่งสินค้ารายนี้ ดังนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมขนส่งด้วยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งหลายทอดและช่วงสิทธิจากประกันภัยสินค้า
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ผู้รับตราส่งได้นำใบตราส่งพร้อมหลักฐานอื่นไปขอออกสินค้าลูกปืนและตลับลูกปืนที่สั่งซื้อจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้วสิทธิของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนสินค้ารายนี้ย่อมตกได้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปย่อมได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องผู้รับขนผู้ก่อความเสียหายแก่สินค้ารายนี้ได้
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับสินค้าในใบตราส่ง เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย บริษัทตัวแทนเรือในต่างประเทศได้แจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดร.ไปรับสินค้าจากคลังสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1มีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา618
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ผู้ควบคุมการเดินเรือของประเทศสหภาพโซเวียต โดยได้รับค่าตอบแทนตามอัตราสินค้าเข้าและสินค้าออกของค่าระวาง แต่ในคดีนี้เรือบรรทุกสินค้าของประเทศสหภาพโซเวียตมิได้เข้ามาในประเทศไทย โดยได้ขนถ่ายสินค้ารายนี้ให้สายการเดินเรืออื่นทำการขนส่งอีกทอดหนึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมดำเนินการขนส่งหรือได้ผลประโยชน์ในการขนส่งสินค้ารายนี้ ดังนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมขนส่งด้วยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับสินค้าในใบตราส่ง เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย บริษัทตัวแทนเรือในต่างประเทศได้แจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดร.ไปรับสินค้าจากคลังสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1มีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา618
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ผู้ควบคุมการเดินเรือของประเทศสหภาพโซเวียต โดยได้รับค่าตอบแทนตามอัตราสินค้าเข้าและสินค้าออกของค่าระวาง แต่ในคดีนี้เรือบรรทุกสินค้าของประเทศสหภาพโซเวียตมิได้เข้ามาในประเทศไทย โดยได้ขนถ่ายสินค้ารายนี้ให้สายการเดินเรืออื่นทำการขนส่งอีกทอดหนึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมดำเนินการขนส่งหรือได้ผลประโยชน์ในการขนส่งสินค้ารายนี้ ดังนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมขนส่งด้วยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อเกิดความเสียหายในไทย และข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
แม้ผู้ขายสินค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้จ้างจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งซึ่งมีสัญชาติเดนมาร์กให้ขนส่งสินค้าทางทะเลจากประเทศสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย แต่เมื่อของที่ขนส่งทางทะเลได้มาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วพบว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตกของสูญหายไปบางส่วนมูลคดีนี้จึงเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย หามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยมาตรา13แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481ไม่ ป.พ.พ.มาตรา609วรรคสองบัญญัติว่ารับขนของทางทะเลให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้นแต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี การที่จำเลยได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา4(5)แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามป.พ.พ.มาตรา625นั่นเองเมื่อข้อความดังกล่าวระบุไว้ด้านหลังของใบตราส่งโดยไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วยจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งผู้รับตราส่งและโจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงที่ต้องชัดแจ้ง
กรณีรับขนส่งทางทะเลปรากฏว่าผู้ขายสัญชาติอเมริกันได้ส่งสินค้าประเภทอะไหล่รถแทรกเตอร์จำนวน2ตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกามาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานครโดยบริษัทจำเลยสัญชาติเดนมาร์คซึ่งประกอบการพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นผู้ขนส่งจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าผู้รับขนจะไม่มีความรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเกินไปกว่า500เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อหีบห่อหรือหน่วยแล้วผู้ขายได้มอบใบตราส่งดังกล่าวให้แก่ธนาคารและธนาคารได้สลักหลังส่งมอบให้แก่ผู้ซื้ออีกชั้นหนึ่งผู้ซื้อได้เอาสินค้าดังกล่าวประกันภัยไว้กับโจทก์เมื่อเรือจำเลยมาถึงประเทศไทยผู้ซื้อไปรับสินค้าปรากฏว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตกสินค้าที่บรรจุมาส่วนหนึ่งสูญหายโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองกรณีนี้ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับตามกฎหมายไทยหามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481ไม่โดยให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ใบรับใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้นถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใดความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งการที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่า500เหรียญสหรัฐอเมริกาก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั่นเองเมื่อไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วยจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่งโจทก์จึงหาผูกพันให้ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียง500เหรียญสหรัฐอเมริกาไม่แต่มีสิทธิเรียกตามความเสียหายที่แท้จริง.