คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 114

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวระงับเมื่อผู้ประกันเสียชีวิตก่อนผิดสัญญา ผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิด
สัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญาเป็นสัญญาที่ผูกพันเฉพาะตัวผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันตายลงในระหว่างที่มีสัญญาประกันและยังไม่มีหนี้ปรับฐานผิดสัญญาประกันเกิดขึ้น สัญญาประกันนั้นย่อมเป็นอันระงับลงผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ประกันจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกัน และไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดถือหลักประกันไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5206/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามสัญญาประกัน และการกำหนดเวลาชำระหนี้ กรณีผู้ต้องหาไม่มาตามนัด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นคำร้องและลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกันตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวน โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดหาหลักประกันเมื่อไม่มีกฎหมายบังคับว่าหลักประกันต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียว การที่จำเลยที่ 2 จัดหาหลักประกันเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ยินยอมให้นำมาวางต่อโจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ มิได้แปลว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องและทำสัญญาประกันในฐานะที่เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันในนามของจำเลยที่ 2 เองด้วย สัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันต่อโจทก์
การที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ในวันนัดส่งตัว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับได้นับแต่วันดังกล่าว แต่จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระเบี้ยปรับนับแต่วันนั้นหาได้ไม่ สัญญาประกันมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ดังกล่าวต่อกันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาชำระหนี้ก่อนหากจำเลยทั้งสองไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่รับผิดตามสัญญาประกัน แม้ใช้ที่ดินของห้างหุ้นส่วนเป็นหลักประกัน โดยมีเจตนาทำสัญญาประกันในนามตนเอง
การขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกันนั้นต้องประกอบด้วยผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวประการหนึ่งกับผู้ร้องขอประกันได้จัดหาหลักประกันมาอีกประการหนึ่งตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 106, 112, และมาตรา 114
จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอประกันและเป็นผู้ทำสัญญาประกันตัว ป. ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จากโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาหลักประกันมาตามมาตรา 114 เมื่อไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าหลักประกันนั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียว การที่จำเลยจัดหาหลักประกันเป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วน ส. และห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยินยอมให้นำโฉนดที่ดินมาวางต่อโจทก์ในการขอปล่อย ป. ผู้ต้องหาชั่วคราว โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้รับโฉนดที่ดินไปดำเนินการแทนนั้น หาได้แปลว่า จำเลยยื่นคำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันตัว ป. ผู้ต้องหาคดีดังกล่าวในฐานะที่จำเลยเป็นเพียงตัวแทนของห้างหุ้นส่วน ส. แต่อย่างใดไม่ แต่แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว ป.ผู้ต้องหาในนามของจำเลยเองด้วย หากจำเลยเป็นแต่เพียงผู้รับมอบอำนาจจากห้างหุ้นส่วน ส. ให้มาประกันตัวผู้ต้องหาจริงแล้ว จำเลยก็ควรระบุไว้ในคำร้องขอประกันและสัญญาประกันด้วยว่า ทำแทนหรือเป็นตัวแทนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ดังนั้น สัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยในฐานะคู่สัญญา
การที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดในวันที่ 27 ธันวาคม 2539 ย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกัน โจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาประกันได้โดยมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้แก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระในวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด อันจะทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ส่งตัว ป. ผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนเพียงแต่มีบันทึกลงไว้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานว่าจะได้ดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไปเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยผิดนัดไม่ส่งตัวผู้ต้องหาแล้ว โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญาประกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่ วันที่ 27 ธันวาคม 2539 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้อันเป็นการเรียกให้ชำระหนี้เงินแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีโดยใช้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเป็นหลักประกัน ศาลมีอำนาจเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง และการที่ผู้ประกันไปยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และขอยกเลิกตามเอกสารหมาย ร.4ถึง ร.6 แล้ว จากนั้นกลับมีใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เอกสารหมาย ร.7 โดยที่เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนดังกล่าวตามเอกสารหมายร.7 และมิได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทไปเป็นของผู้ประกันแล้ว ผู้ประกันไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาประกันตัวจำเลยได้การที่ผู้ประกันนำทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นหลักประกันในการประกันตัวจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ การบังคับคดีรายนี้จึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 และ296 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 การขายทอดตลาดรายนี้เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันตัวหลายคน: ลูกหนี้ร่วมหรือรับผิดตามส่วน
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยผู้ประกันทุกคนรวมกันมายื่น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลยชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกันในวงเงินที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งในสัญญาประกันก็มีข้อความระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนในสัญญาประกันอย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันหลายคนในสัญญาประกันตัว: ลูกหนี้ร่วมหรือไม่
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยผู้ประกันทุกคนรวมกันมายื่น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลยชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกันในวงเงินที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งในสัญญาประกันก็มีข้อความระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนในสัญญาประกันอย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามสัญญาประกันจากการยื่นคำร้องและจัดหาหลักประกันของผู้ประกันเอง
จำเลยที่1เป็นผู้ยื่นคำร้องและเป็นผู้ประกันตัว อ.ผู้ต้องหาจำเลยที่1จึง มีหน้าที่ต้องจัดหา หลักประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา114เมื่อไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าหลักประกันนั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียวการที่จำเลยที่1จัดหาหลักประกันเป็นที่ดินของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2ยินยอมให้นำมาวางต่อโจทก์โดยจำเลยที่2ทำ หนังสือมอบอำนาจให้แก่จำเลยที่1เป็นผู้รับโฉนดที่ดินไปดำเนินการนั้นหาได้แปลว่าจำเลยที่1ยื่นคำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันตัว อ. ผู้ต้องหาในฐานะจำเลยที่1เป็น ตัวแทนจำเลยที่2เท่านั้นไม่แต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1มี เจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว อ. ผู้ต้องหาในนามของจำเลยที่1เองด้วยดังนั้นสัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่1เมื่อ ผิดสัญญาจำเลยที่1ต้องรับผิดตามสัญญาประกันต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในสัญญาประกันตัวและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลล่าง
โจทก์กล่าวมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาให้ไว้แก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดยินยอมให้ปรับเป็นเงิน 200,000 บาท และเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนนำโฉนดที่ดินมามอบไว้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิด ถือได้ว่าเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญาประกันกับโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ โดยต่อสู้คดีเพียงว่าไม่ได้ผิดนัดและโจทก์ไม่เสียหายจึงไม่มีอำนาจปรับจำเลยเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผูกพันต่อโจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น นอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาประกันในนามของตนเอง แต่ทำแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ จึงไม่ต้องรับผิดนั้นเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ค่าปรับจำนวน 200,000 บาท ซึ่งกำหนดให้จำเลยต้องเสียให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกัน เป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจลดลงได้ ถ้าเห็นว่าสูงเกินไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจประกันตัว: ความรับผิดตามสัญญาแม้ไม่มีลายมือชื่อ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ขอมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาประกันตัวนาย ช. ผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวน เป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 1 นั่นเอง หาใช่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาประกันตัวผู้ต้องหาในนามจำเลยที่ 2 เองไม่ และแม้ว่าคำร้องขอประกันและสัญญาประกันจะไม่มีข้อความให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบและไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่คำร้องและสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุเลขที่โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้เป็นหลักฐานประกันด้วย และการทำสัญญาประกันก็เนื่องมาจากมีหนังสือมอบอำนาจเป็นส่วนสำคัญการวินิจฉัยความรับผิดจะวินิจฉัยแต่เพียงคำร้องขอประกันและสัญญาประกันหาได้ไม่ แต่ต้องวินิจฉัยหนังสือมอบอำนาจประกอบด้วยและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประกันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจประกันตัว: การตีความขอบเขตความรับผิดชอบของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ขอมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาประกันตัว ช. ผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2มาประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาประกันตัวผู้ต้องหาในนามจำเลยที่ 2 เองและแม้ว่าคำร้องขอประกันและสัญญาประกันจะไม่มีข้อความให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบและไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 1ด้วยก็ตาม แต่คำร้องและสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุเลขที่โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้เป็นประกันด้วย และการทำสัญญาประกันก็เนื่องมาจากมีหนังสือมอบอำนาจเป็นส่วนสำคัญ การวินิจฉัยความรับผิดจะวินิจฉัยแต่เพียงคำร้องขอประกันและสัญญาประกันหาได้ไม่แต่ต้องวินิจฉัยหนังสือมอบอำนาจประกอบด้วย และถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประกันด้วย
of 3