พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องพิจารณาถึงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ไม่ใช่แค่หน่วยความจำ
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 2 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหาย โดยนำเอาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายซึ่งมีผู้ทำซ้ำดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปบันทึกลงในหน่วยความจำถาวร (Hard Disk) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความดูแลครอบครองของจำเลยทั้งสอง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว โดยใช้วิธีบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ และบรรยายฟ้องในข้อ 3 ว่า เจ้าพนักงานพบเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวซึ่งมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเลยทั้งสองทำซ้ำ ดัดแปลงขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดดังกล่าว เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวในการกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหาย เมื่อหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะทำการละเมิดงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดประกอบกันจึงจะสามารถทำซ้ำ ดัดแปลงงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้ กรณีจึงต้องริบเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6989/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องบรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วนตามกฎหมาย และพิสูจน์การกระทำความผิดของจำเลย
คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับที่โจทก์อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ปรากฏตามสำเนาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในสิทธิทำซ้ำและเผยแพร่ต่อสาธารณชน เอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องว่า ป. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจาก ป. ให้ฟ้องคดีนี้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเอกสารท้ายฟ้อง ข้อ 7 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมและงานสิ่งบันทึกเสียงนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมคำร้องและทำนอง งานสิ่งบันทึกเสียงของ ป. โดยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้บริการขับร้องเพลงคาราโอเกะแก่บุคคลทั่วไปชนิดห้องส่วนตัวและให้พนักงานมาบริการโดยคิดค่าบริการห้องร้องเพลงเป็นรายชั่วโมง ภายในห้องคาราโอเกะมีจอโทรทัศน์ ไมโครโฟน ลำโพง เครื่องขยายเสียง ชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซึ่งบรรจุข้อมูลเพลงที่พ่วงติดกันพร้อมใช้งานอยู่ โดยใช้รีโมตคอนโทรลในการเลือกเปิดเพลง ตัวแทนของโจทก์เข้าไปใช้บริการขับร้องเพลง จึงพบว่าในสมุดเลือกเพลงมีผลงานเพลงของ ป. อยู่จำนวนมาก มีรายชื่อเพลงชู้ เพลงตำนานรักสะท้านโลกา เพลงรอยจูบบนฝ่าเท้า และผลงานต่าง ๆ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของ ป. อีกหลายเพลงซึ่งเป็นงานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. ประกอบไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีเครื่องอ่านข้อมูลทำการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณภาพแบบเนื้อร้อง ทำนอง และเสียงออกทางจอภาพและลำโพง และต่อมาตัวแทนของโจทก์กดเลือกเพลง ก็ปรากฏมีภาพงานเพลง คำร้อง ทำนอง ภาพมิวสิกประกอบเพลงชู้ เพลงตำนานรักสะท้านโลกา และเพลงรอยจูบบนฝ่าเท้า ซึ่งเป็นงานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. โดยคิดค่าบริการห้องร้องเพลงเป็นรายชั่วโมง อันเป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ป. และโจทก์" เห็นว่า การบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าได้มีการบันทึกงานดนตรีกรรมและบันทึกเสียงเพลงอันมีลิขสิทธิ์ทั้งสามเพลงของ ป. ไว้โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของ ป. และได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้าอันเป็นความผิดตามมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มิใช่ความผิดตามมาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2) และ 28 (2) ซึ่งตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน" เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของ ป. อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตมาด้วยก็ตาม แต่ตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวมิได้มีองค์ประกอบของความผิดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วย ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่มีมูลที่จะลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5306/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมข้อมูลสินค้า: ศาลฎีกาชี้ว่าข้อมูลรายละเอียดสินค้าที่สร้างสรรค์เอง แม้ไม่มีอรรถรส ก็มีลิขสิทธิ์ได้
โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ข้อมูลการออกแบบ สร้าง ประกอบ ติดตั้งระบบกรองน้ำ เครื่องกรองน้ำ และสารเคมีสำหรับปรับสภาพน้ำ ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับข้อมูลของบริษัทโจทก์ ข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ตัวเลขแสดงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ และรูปภาพผลิตภัณฑ์ประกอบ โดยโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยตนเองจากความรู้ ความสามารถ ความวิริยอุตสาหะ และประสบการณ์ในธุรกิจประเภทนี้มาคิดคำนวณออกแบบผลิตภัณฑ์จนสามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพสัมฤทธิผลได้ตามความต้องการของลูกค้า โดยมิได้ลอกเลียนมาจากผู้อื่น และโจทก์ได้แสดงออกซึ่งข้อมูลนั้นโดยนำมาลงในเว็บไซต์ของโจทก์เอง กับจัดพิมพ์เป็นเอกสารภาษาอังกฤษเป็นเล่มซึ่งประกอบด้วยแค็ตตาล๊อก โบรชัวร์ ประวัติความเป็นมาของบริษัทรายละเอียดคำอธิบายสินค้า และรูปภาพประกอบ โจทก์จึงย่อมได้ลิขสิทธิ์ในข้อมูลดังกล่าวซึ่งเป็นงานวรรณกรรม ทั้งนี้ไม่ว่าข้อมูลซึ่งเป็นงานวรรณกรรมนั้นจะมีคุณภาพหรือไม่ มีคุณค่าทางสุนทรียภาพ มีอรรถรส มีคนอ่านหรือไม่มีใครอ่านก็ยังถือเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ในเมื่องานนี้เป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยตัวโจทก์เองกรณีหาจำต้องมีอรรถรสหรือสุนทรีภาษาแต่อย่างใดไม่ งานข้อมูลการออกแบบ สร้าง ประกอบ ติดตั้งระบบกรองน้ำ เครื่องกรองน้ำ สารเคมีสำหรับปรับสภาพน้ำและรูปภาพประกอบ ในเว็บไซต์ของโจทก์จึงเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 4 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสามละเมิดลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมของโจทก์ โดยทำซ้ำ ดัดแปลงข้อมูล รูปภาพในเว็บไซต์และในเอกสารโฆษณาสินค้า การทำซ้ำ ดัดแปลงข้อมูลต่างๆ ของเครื่องกรองน้ำในเว็บไซต์ มิใช่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เป็นเพียงการทำซ้ำ ดัดแปลงข้อมูลต่างๆ ของเครื่องกรองน้ำซึ่งเป็นงานวรรณกรรมต่างหากจากงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำละเมิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 และมาตรา 31 มิใช่ละเมิดงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 30 เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์โดยการนำข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องกรองน้ำของโจทก์ไปทำซ้ำเป็นรูปเล่มสินค้าเครื่องกรองน้ำออกเผยแพร่ให้ลูกค้าของจำเลยทั้งสาม คดีโจทก์จึงมีมูลเฉพาะการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 และมาตรา 31 ส่วนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 30 มิได้ถูกละเมิด จึงไม่มีมูล
จำเลยทั้งสามละเมิดลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมของโจทก์ โดยทำซ้ำ ดัดแปลงข้อมูล รูปภาพในเว็บไซต์และในเอกสารโฆษณาสินค้า การทำซ้ำ ดัดแปลงข้อมูลต่างๆ ของเครื่องกรองน้ำในเว็บไซต์ มิใช่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เป็นเพียงการทำซ้ำ ดัดแปลงข้อมูลต่างๆ ของเครื่องกรองน้ำซึ่งเป็นงานวรรณกรรมต่างหากจากงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำละเมิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 และมาตรา 31 มิใช่ละเมิดงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 30 เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์โดยการนำข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องกรองน้ำของโจทก์ไปทำซ้ำเป็นรูปเล่มสินค้าเครื่องกรองน้ำออกเผยแพร่ให้ลูกค้าของจำเลยทั้งสาม คดีโจทก์จึงมีมูลเฉพาะการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 และมาตรา 31 ส่วนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 30 มิได้ถูกละเมิด จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์หลังหมดอายุสัญญาสิทธิการใช้งาน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
จำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมให้เผยแพร่งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมได้ถึงวันที่ 20 เมษายน 2547 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2547 จนถึงวันเกิดเหตุวันที่ 4 มิถุนายน 2547 จำเลยจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานเพลงของโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำวิดีโอซีดีที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 30 (2) และมาตรา 70 วรรคสอง มิใช่เป็นเพียงผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์จ้างนักสืบซื้อสินค้าเองแล้วฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลยกฟ้อง เพราะโจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด
เมื่อเกิดกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการชั่งน้ำหนักรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีอาญา จึงต้องนำ ป.วิ.อ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นนอกจากโจทก์จะต้องสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นโดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำความผิดจริงตามคำฟ้อง ยังต้องได้ความว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้อีกด้วย
เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าฝ่ายจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว และโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างนาย ฟ. ไปทำการล่อซื้อ จึงเท่ากับว่าโจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามคำฟ้องขึ้นเอง โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าฝ่ายจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว และโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างนาย ฟ. ไปทำการล่อซื้อ จึงเท่ากับว่าโจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามคำฟ้องขึ้นเอง โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นแบบและแผ่นซีดีเพื่อจำหน่ายเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวกัน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเลยทำซ้ำทั้งสองครั้งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดเดียวกันและทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นแบบแม่พิมพ์ 21 แผ่น ก็เพื่อเป็นต้นแบบของการผลิตซีดีเกมส์เพลย์สเตชั่น 94,404 แผ่น ออกจำหน่ายเพื่อประสงค์ในทางการค้าเช่นเดียวกัน จึงมีเจตนาเดียวกัน การทำซ้ำทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการกระทำไม่ต่างกัน ถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 30(1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์, เสนอขายสินค้าควบคุมฉลาก, และการรอการลงโทษ จำเลยมีความผิดหลายกระทง ศาลแก้ไขคำพิพากษาเรื่องการริบของกลาง
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์โดยนำภาพยนตร์วีดีโอเทปภาพและเสียงที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์รวม 32 ม้วนออกขายและเสนอขาย โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย และจำเลยได้ประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดีโอเทปโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ใช่กรณีที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย กับจำเลยยังได้เสนอขายวีดีโอเทปอันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่ปิดฉลากจำนวน 62 ม้วน โดยจำเลยรู้หรือควรรู้ว่าการไม่ปิดฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายและจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดม้วนวีดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ปิดฉลากดังกล่าวรวม 62 ม้วน เป็นของกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70 วรรคสอง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 34 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522มาตรา 30 (2), 52 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้วีดีโอเทปของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 32 ม้วน ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากอีกจำนวน 30 ม้วน ความผิดของจำเลยที่เกี่ยวกับของกลางดังกล่าวนี้อยู่ที่การเสนอขายโดยได้งดเว้นไม่ปิดฉลากที่วีดีโอเทปดังกล่าว วีดีโอเทปของกลาง 30 ม้วนนี้ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดที่จะริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32 หรือ มาตรา 33
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์โดยนำภาพยนตร์วีดีโอเทปภาพและเสียงที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์รวม 32 ม้วนออกขายและเสนอขาย โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย และจำเลยได้ประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดีโอเทปโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ใช่กรณีที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย กับจำเลยยังได้เสนอขายวีดีโอเทปอันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่ปิดฉลากจำนวน 62 ม้วน โดยจำเลยรู้หรือควรรู้ว่าการไม่ปิดฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายและจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดม้วนวีดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ปิดฉลากดังกล่าวรวม 62 ม้วน เป็นของกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70 วรรคสอง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 34 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522มาตรา 30 (2), 52 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้วีดีโอเทปของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 32 ม้วน ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากอีกจำนวน 30 ม้วน ความผิดของจำเลยที่เกี่ยวกับของกลางดังกล่าวนี้อยู่ที่การเสนอขายโดยได้งดเว้นไม่ปิดฉลากที่วีดีโอเทปดังกล่าว วีดีโอเทปของกลาง 30 ม้วนนี้ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดที่จะริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32 หรือ มาตรา 33