พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดกกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิของผู้เยาว์ในการร้องคัดค้านการยึด
จำเลยแต่งงานกับนาง น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ทายาท ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ น. ในคดีเดิมโจทก์ไม่ได้ฟ้อง น. เป็นจำเลย หากแต่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมรดกของ น. แม้คำพิพากษาในคดีเดิมจะฟังว่า น. กู้เงินโจทก์ไปจริงก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ น. เป็นจำเลย การที่โจทก์นำยึดที่พิพาทซึ่งมารดาของ น. ยกให้ น. ก่อนแต่งงานกับจำเลย โดยมีชื่อ น. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของผู้อื่นมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น. เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น. ยังมีชีวิตอยู่ น. จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น.เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส. เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายและมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น. ก่อน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น. เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น. ยังมีชีวิตอยู่ น. จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น.เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส. เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายและมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น. ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อขายกันแต่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีชื่อในโฉนดแทนจำเลย สิทธิในการแสดงกรรมสิทธิ์ไม่ขาดอายุความ
เดิมโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน 1 แปลง ได้แจ้งการครอบครองไว้ตาม ส.ค.1 และที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบที่พิพาทให้จำเลยครอบครองนับแต่ปี 2503 จนบัดนี้ ต่อมาทางการออกโฉนดให้ในนามของโจทก์ เพราะใน ส.ค.1 เป็นชื่อของโจทก์ โดยโจทก์ตกลงกับจำเลยว่า เมื่อออกโฉนดแล้วโจทก์จะโอนให้จำเลยภายหลังดังนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดแทนจำเลย เพื่อความสะดวกในการออกโฉนดเท่านั้นจำเลยจึงมีสิทธิฟ้องโจทก์ขอให้ศาลแสดงสิทธิของจำเลยได้ ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: การซื้อขายและการส่งมอบครอบครอง ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิแม้ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
เดิมโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน 1 แปลง ได้แจ้งการครอบครองไว้ตาม ส.ค.1 และที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบที่พิพาทให้จำเลยครอบครองนับแต่ปี 2503 จนบัดนี้ ต่อมาทางการออกโฉนดให้ในนามของโจทก์ เพราะใน ส.ค.1 เป็นชื่อของโจทก์ โดยโจทก์ตกลงกับจำเลยว่า เมื่อออกโฉนดแล้ว โจทก์จะโอนให้จำเลยภายหลังดังนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดแทนจำเลย เพื่อความสะดวกในการออกโฉนดเท่านั้นจำเลยจึงมีสิทธิฟ้องโจทก์ขอให้ศาลแสดงสิทธิของจำเลยได้ ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการสั่งให้พิจารณาใหม่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นสำคัญ และการยกฟ้องที่ไม่ต้องกล่าวในอุทธรณ์
แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานจนจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งแล้วก็ตามถ้าเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาให้ได้ความจริงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาเสียใหม่ได้ เพราะมิใช่พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและจำเลยมิได้คัดค้านไว้
แม้อุทธรณ์ของจำเลยเพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์โดยจำเลยมิได้กล่าวไว้ในอุทธรณ์ว่าขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ที่จะมีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ หรือให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนั้นใหม่และพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเสียใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
ตามคำให้การของจำเลยมีอยู่ว่า จำเลยไม่มีสิทธิรื้อถอนและโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอน ตามคำแถลงของโจทก์ก็มีเพียงว่า จำเลยไม่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างอันเป็นทรัพย์พิพาท จำเลยไม่สามารถรื้อถอนได้มิได้มีข้อความตอนใดว่าจำเลยยินดีที่จะรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ทั้งปวงหมดสิ้นแล้วนอกจากนี้ยังมีประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้อีกข้อหนึ่งที่ว่า โจทก์ยังคงสงวนสิทธิในถนนพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งข้อนี้จำเลยให้การไว้ในทำนองว่า โจทก์ได้แสดงเจตนาให้ทางพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทางพิพาทก็ได้ตกอยู่ในภาวะเช่นนั้นแล้วฝ่ายโจทก์แถลงว่าไม่เป็นความจริง อันเป็นที่เห็นได้ว่าข้อเท็จจริงข้อนี้ก็ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ จึงต้องสืบพยานกันต่อไป
การที่ทางใดจะเป็นทางสาธารณะนั้น หาได้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางทะเบียนเสมอไปไม่
แม้อุทธรณ์ของจำเลยเพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์โดยจำเลยมิได้กล่าวไว้ในอุทธรณ์ว่าขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ที่จะมีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ หรือให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนั้นใหม่และพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเสียใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
ตามคำให้การของจำเลยมีอยู่ว่า จำเลยไม่มีสิทธิรื้อถอนและโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอน ตามคำแถลงของโจทก์ก็มีเพียงว่า จำเลยไม่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างอันเป็นทรัพย์พิพาท จำเลยไม่สามารถรื้อถอนได้มิได้มีข้อความตอนใดว่าจำเลยยินดีที่จะรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ทั้งปวงหมดสิ้นแล้วนอกจากนี้ยังมีประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้อีกข้อหนึ่งที่ว่า โจทก์ยังคงสงวนสิทธิในถนนพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งข้อนี้จำเลยให้การไว้ในทำนองว่า โจทก์ได้แสดงเจตนาให้ทางพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทางพิพาทก็ได้ตกอยู่ในภาวะเช่นนั้นแล้วฝ่ายโจทก์แถลงว่าไม่เป็นความจริง อันเป็นที่เห็นได้ว่าข้อเท็จจริงข้อนี้ก็ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ จึงต้องสืบพยานกันต่อไป
การที่ทางใดจะเป็นทางสาธารณะนั้น หาได้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางทะเบียนเสมอไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการสั่งให้พิจารณาใหม่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ครบถ้วนประเด็นสำคัญ
แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานจนจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งแล้วก็ตาม ถ้าเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาให้ได้ความจริงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาเสียใหม่ได้ เพราะมิใช่พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและจำเลยมิได้คัดค้านไว้
แม้อุทธรณ์ของจำเลยเพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์ โดยจำเลยมิได้กล่าวไว้ในอุทธรณ์ว่าขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็ตามศาล อุทธรณ์ก็มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ที่จะมีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ หรือให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนั้นใหม่และพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยเรื่องนี้ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเสียใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243
ตามคำให้การของจำเลยมีอยู่ว่าจำเลยไม่มีสิทธิรื้อถอนและโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอน ตามคำแถลงของโจทก์ก็มีเพียงว่าจำเลยไม่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างอันเป็นทรัพย์พิพาทจำเลยไม่สามารถรื้อถอนได้ มิได้มีข้อความตอนใดว่าจำเลยยินดีที่จะรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ทั้งปวงหมดสิ้นแล้วนอกจากนี้ยังมีประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้อีกข้อหนึ่งที่ว่าโจทก์ยังคงสงวนสิทธิในถนนพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งข้อนี้จำเลยให้การไว้ในทำนองว่าโจทก์ได้แสดงเจตนา ให้ทางพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทางพิพาทก็ได้ตกอยู่ในภาวะเช่นนั้นแล้วฝ่ายโจทก์แถลงว่าไม่เป็นความจริง อันเป็นที่เห็นได้ว่าข้อเท็จจริงข้อนี้ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ จึงต้องสืบพยานกันต่อไป
การที่ทางใดจะเป็นทางสาธารณะนั้นหาได้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางทะเบียนเสมอไปไม่
แม้อุทธรณ์ของจำเลยเพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์ โดยจำเลยมิได้กล่าวไว้ในอุทธรณ์ว่าขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็ตามศาล อุทธรณ์ก็มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ที่จะมีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ หรือให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนั้นใหม่และพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยเรื่องนี้ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเสียใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243
ตามคำให้การของจำเลยมีอยู่ว่าจำเลยไม่มีสิทธิรื้อถอนและโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอน ตามคำแถลงของโจทก์ก็มีเพียงว่าจำเลยไม่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างอันเป็นทรัพย์พิพาทจำเลยไม่สามารถรื้อถอนได้ มิได้มีข้อความตอนใดว่าจำเลยยินดีที่จะรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ทั้งปวงหมดสิ้นแล้วนอกจากนี้ยังมีประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้อีกข้อหนึ่งที่ว่าโจทก์ยังคงสงวนสิทธิในถนนพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งข้อนี้จำเลยให้การไว้ในทำนองว่าโจทก์ได้แสดงเจตนา ให้ทางพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทางพิพาทก็ได้ตกอยู่ในภาวะเช่นนั้นแล้วฝ่ายโจทก์แถลงว่าไม่เป็นความจริง อันเป็นที่เห็นได้ว่าข้อเท็จจริงข้อนี้ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ จึงต้องสืบพยานกันต่อไป
การที่ทางใดจะเป็นทางสาธารณะนั้นหาได้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางทะเบียนเสมอไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้ง ส.ค.1 ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานกรรมสิทธิ์ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาต้องมีการนำสืบ
การแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่นั้น (แจ้ง ส.ค.1)หาใช่เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าผู้แจ้งการครอบครองเป็นผู้มีสิทธิในที่นั้นเสมอไปไม่
มาตรา 1373 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิครอบครองเฉพาะในที่ดินซึ่งได้มีการจดทะเบียนออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว ฉะนั้น ที่ผู้ร้องไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 จึงไม่อาจปรับเข้าข้อสันนิษฐานตามความในมาตรา 1373 ได้
มาตรา 1373 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิครอบครองเฉพาะในที่ดินซึ่งได้มีการจดทะเบียนออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว ฉะนั้น ที่ผู้ร้องไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 จึงไม่อาจปรับเข้าข้อสันนิษฐานตามความในมาตรา 1373 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ส.ค.1 ไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ การแจ้งครอบครองที่ดินไม่สร้างข้อสันนิษฐานว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของ
การแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่นั้น (แจ้ง ส.ค.1) หาใช่เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าผู้แจ้งการครอบครองเป็นผู้มีสิทธิในที่นั้นเสมอไปไม่
มาตรา 1373 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิครอบครองเฉพาะในที่ดินซึ่งได้มีการจดทะเบียนออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว ฉะนั้น ที่ผู้ร้องไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 จึงไม่อาจปรับเข้าข้อสันนิษฐานตามความในมาตรา 1373 ได้
มาตรา 1373 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิครอบครองเฉพาะในที่ดินซึ่งได้มีการจดทะเบียนออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว ฉะนั้น ที่ผู้ร้องไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 จึงไม่อาจปรับเข้าข้อสันนิษฐานตามความในมาตรา 1373 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน และการรับรองการแบ่งแยกโฉนด ย่อมมีผลผูกพันตามสัญญา
สัญญาซื้อขายที่ดินระบุว่าผู้ขายจะต้องทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดให้กับผู้ซื้อและโอนใส่ชื่อผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดิน ถือเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย
ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าส่วนหนึ่งของที่ดินนั้นเป็นของบุคคลอื่นและตนได้รับรองไว้ด้วยว่าจะจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินส่วนนั้นให้เขา ถือเป็นการแสดงเจตนาลงชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้มีกรรมสิทธิ์ตนเองไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนนั้น
ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าส่วนหนึ่งของที่ดินนั้นเป็นของบุคคลอื่นและตนได้รับรองไว้ด้วยว่าจะจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินส่วนนั้นให้เขา ถือเป็นการแสดงเจตนาลงชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้มีกรรมสิทธิ์ตนเองไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน & การรับรองการแบ่งแยกโฉนด: เจตนาถือครองกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่น
สัญญาซื้อขายที่ดินระบุว่าผู้ขายจะต้องทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดให้กับผู้ซื้อและโอนใส่ชื่อผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดิน ถือเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย
ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าส่วนหนึ่งของที่ดินนั้นเป็นของบุคคลอื่นและตนได้รับรองไว้ด้วยว่าจะจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินส่วนนั้นให้เขา ถือเป็นการแสดงเจตนาลงชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้มีกรรมสิทธิ์ตนเองไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนนั้น
ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าส่วนหนึ่งของที่ดินนั้นเป็นของบุคคลอื่นและตนได้รับรองไว้ด้วยว่าจะจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินส่วนนั้นให้เขา ถือเป็นการแสดงเจตนาลงชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้มีกรรมสิทธิ์ตนเองไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีบุกรุกที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์ก่อนว่าที่ดินอยู่ในเขตโฉนดของตน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์. จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดของโจทก์มีอาณาเขตติดกับที่ดินตามโฉนดของจำเลยจริง. จำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ และว่าที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว. ประเด็นจึงมีว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์หรือจำเลยเท่านั้น.โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน. จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในโฉนด หรือต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์. โจทก์จะยกเอาข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มาเป็นประโยชน์ในคดีนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายข้อนี้ จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ดังนี้ ย่อมไม่ได้.
เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในโฉนดของจำเลยทั้งสอง. มิได้ฟังว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งอยู่ในโฉนดของโจทก์ซึ่งเป็นวัด. ไม่จำต้องหยิบยกเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้บังคับ.
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด. ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดของโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ฟ้องแย้งด้วย ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่แล้วว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย. ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามประเด็นนั้นได้โดยไม่ต้องให้จำเลยฟ้องแย้ง. คำวินิจฉัยของศาลที่เชื่อว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยพิพากษายกฟ้อง. จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142.
เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในโฉนดของจำเลยทั้งสอง. มิได้ฟังว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งอยู่ในโฉนดของโจทก์ซึ่งเป็นวัด. ไม่จำต้องหยิบยกเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้บังคับ.
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด. ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดของโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ฟ้องแย้งด้วย ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่แล้วว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย. ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามประเด็นนั้นได้โดยไม่ต้องให้จำเลยฟ้องแย้ง. คำวินิจฉัยของศาลที่เชื่อว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยพิพากษายกฟ้อง. จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142.