พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเขตที่ดินพิพาท: โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหากอ้างว่าที่ดินอยู่ในโฉนดของตน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดของโจทก์มีอาณาเขตติดกับที่ดินตามโฉนดของจำเลยจริง จำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ และว่าที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว ประเด็นจึงมีว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์หรือจำเลยเท่านั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในโฉนด หรือต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ โจทก์จะยกเอาข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มาเป็นประโยชน์ในคดีนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายข้อนี้ จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ดังนี้ ย่อมไม่ได้
เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในโฉนดของจำเลยทั้งสองมิได้ฟังว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งอยู่ในโฉนดของโจทก์ซึ่งเป็นวัด ไม่จำต้องหยิบยกเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้บังคับ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดของโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ฟ้องแย้งด้วย ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่แล้วว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามประเด็นนั้นได้โดยไม่ต้องให้จำเลยฟ้องแย้ง คำวินิจฉัยของศาลที่เชื่อว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในโฉนดของจำเลยทั้งสองมิได้ฟังว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งอยู่ในโฉนดของโจทก์ซึ่งเป็นวัด ไม่จำต้องหยิบยกเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้บังคับ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดของโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ฟ้องแย้งด้วย ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่แล้วว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามประเด็นนั้นได้โดยไม่ต้องให้จำเลยฟ้องแย้ง คำวินิจฉัยของศาลที่เชื่อว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีบุกรุกที่ดิน: โจทก์ต้องนำสืบก่อนหากอ้างว่าที่ดินอยู่ในเขตโฉนดของตน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดของโจทก์มีอาณาเขตติดกับที่ดินตามโฉนดของจำเลยจริง จำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ และว่าที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว ประเด็นจึงมีว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์หรือจำเลยเท่านั้นโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในโฉนด หรือต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ โจทก์จะยกเอาข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มาเป็นประโยชน์ในคดีนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายข้อนี้ จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ดังนี้ ย่อมไม่ได้
เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในโฉนดของจำเลยทั้งสอง มิได้ฟังว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งอยู่ในโฉนดของโจทก์ซึ่งเป็นวัด ไม่จำต้องหยิบยกเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้บังคับ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดของโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ฟ้องแย้งด้วย ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่แล้วว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามประเด็นนั้นได้โดยไม่ต้องให้จำเลยฟ้องแย้ง คำวินิจฉัยของศาลที่เชื่อว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในโฉนดของจำเลยทั้งสอง มิได้ฟังว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งอยู่ในโฉนดของโจทก์ซึ่งเป็นวัด ไม่จำต้องหยิบยกเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้บังคับ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดของโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ฟ้องแย้งด้วย ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่แล้วว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามประเด็นนั้นได้โดยไม่ต้องให้จำเลยฟ้องแย้ง คำวินิจฉัยของศาลที่เชื่อว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการระงับหนี้จำนองเมื่อมีการยกทรัพย์ชำระหนี้
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และเป็นไปโดยสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของ. ส่วนจำเลยเป็นทายาทผู้สืบกรรมสิทธิ์จาก ส. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาท ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์ว่าการครอบครองที่พิพาทของฝ่ายโจทก์ได้เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของย่อมตกอยู่แก่โจทก์(อ้างฎีกาที่ 521/2493,1112/2493).
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น. หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป. ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ. ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้. โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่.
การที่ พ.ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ส. จำนองไว้กับพ.ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน. เมื่อพ.กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382.สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไป.จำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง. การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่. เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว. หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1). ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอก.ซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746. การจำนองก็ไม่ระงับไป.
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น. หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป. ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ. ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้. โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่.
การที่ พ.ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ส. จำนองไว้กับพ.ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน. เมื่อพ.กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382.สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไป.จำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง. การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่. เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว. หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1). ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอก.ซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746. การจำนองก็ไม่ระงับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการระงับหนี้จำนองจากการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ และเป็นไปโดยสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของ ส่วนจำเลยเป็นทายาทผู้สืบกรรมสิทธิ์ จาก ส. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาท ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์ว่าการครอบครองที่พิพาทของฝ่ายโจทก์ได้เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของย่อมตกอยู่แก่โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 521/2493, 1112/2493)
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดี ที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้ โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ ส. เอาที่พิพาทที่ ส.จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน เมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. จึงระงับไป จำเลยจะเถียงกันว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744 (1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่า เมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดี ที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้ โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ ส. เอาที่พิพาทที่ ส.จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน เมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. จึงระงับไป จำเลยจะเถียงกันว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744 (1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่า เมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการระงับหนี้จำนองเมื่อมีการยกทรัพย์ชำระหนี้
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และเป็นไปโดยสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของส่วนจำเลยเป็นทายาทผู้สืบกรรมสิทธิ์จาก ส. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาท ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์ว่าการครอบครองที่พิพาทของฝ่ายโจทก์ได้เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของย่อมตกอยู่แก่โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 521/2493,1112/2493)
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ ส. จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนเมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไปจำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองการจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ ส. จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนเมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไปจำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองการจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับกองมรดกก่อนแบ่งมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ในกองมรดก แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ทายาทแล้ว
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องให้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดก บ. โดยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย แต่ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยนั้นยังไม่ได้แบ่งมรดกกันระหว่างทายาท โฉนดยังเป็นชื่อของ บ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องเพิ่งโอนรับมรดกในขณะคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ฉะนั้น ถึงแม้ที่ดินพิพาทโอนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนนายแบนเจ้ามรดกก็ตามที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพยในกองมรดกของ บ. ซึ่งยังมิได้แบ่งอยู่นั่นเอง โจทก์จึงชอบที่จะยึดที่ดินพิพาทมาบังคับคดีได้โดยไม่ต้องฟ้องทายาทผู้รับมรดกคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้กองมรดกยึดทรัพย์มรดกได้ แม้โอนกรรมสิทธิ์ให้ทายาทแล้ว หากยังมิได้แบ่งมรดก
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องให้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดก บ. โดยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย แต่ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ยังไม่ได้แบ่งมรดกกันระหว่างทายาท โฉนดยังเป็นชื่อของ บ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ผู้ร้องเพิ่งโอนรับมรดกในขณะคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ฉะนั้น ถึงแม้ที่ดินพิพาทโอนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนนายแบนเจ้ามรดกก็ตาม ทีJพิพาทก็ยังเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ บ. ซึ่งยังมิได้แบ่งอยู่นั่นเอง โจทก์จึงชอบที่จะยึดที่ดินพิพาทมาบังคับคดีได้ โดยไม่ต้องฟ้องทายาทผู้รับมรดกคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามข้อตกลงในคดีก่อน แม้ยังไม่ถึงกำหนดฟ้องบังคับได้ และประเด็นการรับมรดกที่ยกขึ้นใหม่
นาพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 มีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เองมิใช่มีชื่อในฐานะเป็นผู้ซื้อแทนโจทก์ โจทก์หามีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการโอน และการขายฝากนาพิพาทที่จำเลยกระทำต่อกันได้ไม่
ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้ถือเอาผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เป็นข้อแพ้ชนะกัน คือ ถ้าโจทก์ในคดีนี้ (จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) แพ้ จะไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท และยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (โจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) เป็นรายปี ๆ ละ 900 บาทนับแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นไป จนกว่าโจทก์จะออกจากที่ดิน แต่ถ้าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ไม่ติดใจเอาค่าเสียหายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินอีกต่อไป ผลที่สุดจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องคดีนั้นแล้วมาฟ้องแย้งในคดีนี้ว่าโจทก์บุกรุกที่พิพาทซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้รับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ปีละ 900 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 มีมูลที่จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์มาในฟ้องแย้งได้โดยไม่ต้องอาศัยข้อตกลงในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 และเป็นที่เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 2 อ้างถึงข้อตกลงนั้น ก็เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้เคยรับรองว่าจำเลยที่ 2 จะคิดค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในข้อตกลงนั้น ศาลจะได้ถือเป็นหลักวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายในคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องนำสืบกันอีกชั้นหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้นโดยตรง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้เพราะเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในคดีก่อนยังไม่สำเร็จ
โจทก์เพิ่งมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่านาพิพาทเป็นมรดกของนายอินบิดาโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง เป็นคนละประเด็นกันกับที่กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ขัดกับคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 ทั้งอ้างข้อเท็จจริงมาไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 นั้นปรากฏว่า จำเลยที่ 3 กับพวกซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้ถอนฟ้องข้อหาเกี่ยวกับนาพิพาทเสีย โจทก์(จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505) ชนะในประเด็นอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับนาพิพาท ฎีกาโจทก์ข้อนี้หาเป็นสาระแก่คดีไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5-6/2509)
ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้ถือเอาผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เป็นข้อแพ้ชนะกัน คือ ถ้าโจทก์ในคดีนี้ (จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) แพ้ จะไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท และยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (โจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) เป็นรายปี ๆ ละ 900 บาทนับแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นไป จนกว่าโจทก์จะออกจากที่ดิน แต่ถ้าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ไม่ติดใจเอาค่าเสียหายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินอีกต่อไป ผลที่สุดจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องคดีนั้นแล้วมาฟ้องแย้งในคดีนี้ว่าโจทก์บุกรุกที่พิพาทซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้รับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ปีละ 900 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 มีมูลที่จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์มาในฟ้องแย้งได้โดยไม่ต้องอาศัยข้อตกลงในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 และเป็นที่เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 2 อ้างถึงข้อตกลงนั้น ก็เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้เคยรับรองว่าจำเลยที่ 2 จะคิดค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในข้อตกลงนั้น ศาลจะได้ถือเป็นหลักวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายในคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องนำสืบกันอีกชั้นหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้นโดยตรง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้เพราะเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในคดีก่อนยังไม่สำเร็จ
โจทก์เพิ่งมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่านาพิพาทเป็นมรดกของนายอินบิดาโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง เป็นคนละประเด็นกันกับที่กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ขัดกับคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 ทั้งอ้างข้อเท็จจริงมาไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 นั้นปรากฏว่า จำเลยที่ 3 กับพวกซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้ถอนฟ้องข้อหาเกี่ยวกับนาพิพาทเสีย โจทก์(จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505) ชนะในประเด็นอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับนาพิพาท ฎีกาโจทก์ข้อนี้หาเป็นสาระแก่คดีไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5-6/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากข้อตกลงในคดีก่อน การเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน และการรับมรดก
นาพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 มีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เอง มิใช่มีชื่อในฐานะเป็นผู้ซื้อแทนโจทก์ โจทก์หามีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการโอนและการขายฝากนาพิพาทที่จำเลยกระทำต่อกันได้ไม่
ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้ถือเอาผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เป็นข้อแพ้ชนะกัน คือ ถ้าโจทก์ในคดีนี้(จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504)แพ้จะไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท และยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (โจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) เป็นรายปีๆ ละ900 บาทนับแต่ พ.ศ.2504 เป็นต้นไป จนกว่าโจทก์จะออกจากที่ดิน แต่ถ้าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ไม่ติดใจเอาค่าเสียหายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินอีกต่อไป ผลที่สุดจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องคดีนั้นแล้วมาฟ้องแย้งในคดีนี้ว่าโจทก์บุกรุกที่พิพาทซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้รับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ปีละ 900 บาทตั้งแต่ พ.ศ.2504 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 มีมูลที่จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์มาในฟ้องแย้งได้ โดยไม่ต้องอาศัยข้อตกลงในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 และเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 อ้างถึงข้อตกลงนั้น ก็เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้เคยรับรองว่าจำเลยที่ 2 จะคิดค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในข้อตกลงนั้น ศาลจะได้ถือเป็นหลักวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายในคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องนำสืบกันอีกชั้นหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้นโดยตรง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ เพราะเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในคดีก่อนยังไม่สำเร็จ
โจทก์เพิ่งมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่านาพิพาทเป็นมรดกของนายอินบิดาโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง เป็นคนละประเด็นกันกับที่กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ขัดกับคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 ทั้งอ้างข้อเท็จจริงมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 นั้นปรากฏว่า จำเลยที่ 3 กับพวกซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้ได้ถอนฟ้องข้อหาเกี่ยวกับนาพิพาทเสีย โจทก์ (จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505) ชนะในประเด็นอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับนาพิพาท ฎีกาโจทก์ข้อนี้หาเป็นสาระแก่คดีไม่(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5-6/2509)
ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้ถือเอาผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เป็นข้อแพ้ชนะกัน คือ ถ้าโจทก์ในคดีนี้(จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504)แพ้จะไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท และยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (โจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) เป็นรายปีๆ ละ900 บาทนับแต่ พ.ศ.2504 เป็นต้นไป จนกว่าโจทก์จะออกจากที่ดิน แต่ถ้าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ไม่ติดใจเอาค่าเสียหายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินอีกต่อไป ผลที่สุดจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องคดีนั้นแล้วมาฟ้องแย้งในคดีนี้ว่าโจทก์บุกรุกที่พิพาทซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้รับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ปีละ 900 บาทตั้งแต่ พ.ศ.2504 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 มีมูลที่จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์มาในฟ้องแย้งได้ โดยไม่ต้องอาศัยข้อตกลงในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 และเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 อ้างถึงข้อตกลงนั้น ก็เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้เคยรับรองว่าจำเลยที่ 2 จะคิดค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในข้อตกลงนั้น ศาลจะได้ถือเป็นหลักวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายในคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องนำสืบกันอีกชั้นหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้นโดยตรง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ เพราะเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในคดีก่อนยังไม่สำเร็จ
โจทก์เพิ่งมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่านาพิพาทเป็นมรดกของนายอินบิดาโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง เป็นคนละประเด็นกันกับที่กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ขัดกับคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 ทั้งอ้างข้อเท็จจริงมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 นั้นปรากฏว่า จำเลยที่ 3 กับพวกซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้ได้ถอนฟ้องข้อหาเกี่ยวกับนาพิพาทเสีย โจทก์ (จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505) ชนะในประเด็นอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับนาพิพาท ฎีกาโจทก์ข้อนี้หาเป็นสาระแก่คดีไม่(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5-6/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยการครอบครอง และผลของการมีชื่อใน ส.ค.1 และใบเสร็จค่าบำรุง
แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งซึ่งแสดงว่าขณะยื่น ส.ค.1 นั้นผู้แจ้งอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้แจ้งเท่านั้นส่วนความจริงผู้ใดจะมีสิทธิครอบครองนั้น จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน
จำเลยได้จัดการออก น.ส.3 ในที่พิพาทเป็นชื่อของจำเลยก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 เท่านั้น หากข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโจทก์ก็ได้สิทธิครอบครอง ข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวก็ย่อมตกไป
ใบเสร็จเสียเงินบำรุงท้องที่เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าผู้มีชื่อในใบเสร็จเป็นผู้เสียเงินบำรุงท้องที่เท่านั้น มิใช่หลักฐานแสดงว่าผู้มีชื่อในใบเสร็จเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
จำเลยได้จัดการออก น.ส.3 ในที่พิพาทเป็นชื่อของจำเลยก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 เท่านั้น หากข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโจทก์ก็ได้สิทธิครอบครอง ข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวก็ย่อมตกไป
ใบเสร็จเสียเงินบำรุงท้องที่เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าผู้มีชื่อในใบเสร็จเป็นผู้เสียเงินบำรุงท้องที่เท่านั้น มิใช่หลักฐานแสดงว่าผู้มีชื่อในใบเสร็จเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง