คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1373

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือกรรมสิทธิ์แทนกันในที่ดิน: พยานหลักฐานหักล้างข้อสันนิษฐานได้
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์เมื่อมีข้อโต้แย้งถึงสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 3กับโจทก์ จำเลยที่ 3 หาได้ถูกปิดปากมิให้ยกข้อเถียงตามความเป็นจริงที่ว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแทนจำเลยที่ 3 ไม่และการที่จำเลยที่ 3 นำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 นั้น หาใช่เป็นการนำสืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่แต่เป็นการนำสืบพยานบุคคลในข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3ในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด จำเลยที่ 3 มีพยานบุคคล และพยานเอกสารประกอบกับนำสืบให้เห็นถึงพฤติกรรมการซื้อที่ดินของจำเลยที่ 3 หลายแปลงรวมทั้งที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการหักล้างข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1373 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: หลักการสันนิษฐานความเป็นเจ้าของตามโฉนด และภาระการพิสูจน์ของฝ่ายอ้างสิทธิ
การที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโดยมีหลักฐานการรับโอนมาด้วยการซื้อขาย ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและบ้าน โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างพยานหลักฐานของจำเลย เช่นนี้ ต้องฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ผู้มีชื่อในโฉนดต้องสันนิษฐานว่าเป็นเจ้าของ หากไม่มีหลักฐานหักล้าง
การที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโดยมีหลักฐานการรับโอนมาด้วยการซื้อขาย ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและบ้าน โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมี่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างพยานหลักฐานของจำเลย เช่นนี้ ต้องฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินตาม น.ส.3ก. และความรับผิดทางละเมิดของผู้รับมรดก
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) มีชื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองในเบื้องต้นจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ม. มารดาจำเลยปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าผ่านที่พิพาทของโจทก์โดยโจทก์มิได้ยินยอมจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายจำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ม.จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท สิทธิเจ้าของที่ดินต้องฟังตามข้อเท็จจริง การแจ้งความไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
แม้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากมารดาโจทก์ก็ตาม แต่ด้วยผลของกฎหมายคงสันนิษฐานได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น การที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎ
แม้จำเลยจะแจ้งความกล่าวหาโจทก์ว่าบุกรุกที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยก็ยังมิได้เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตลอดถึงวันฟ้อง โจทก์จึงไม่หมดสิทธิที่จะฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การครอบครองต่อเนื่องและการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ
แม้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากมารดาโจทก์ก็ตาม แต่ด้วยผลของกฎหมายคงสันนิษฐานได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น การที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎ แม้จำเลยจะแจ้งความกล่าวหาโจทก์ว่าบุกรุกที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยก็ยังมิได้เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตลอดถึงวันฟ้อง โจทก์จึงไม่หมดสิทธิที่จะฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และหน้าที่จดทะเบียนภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะการใช้ทางพิพาทในระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภาระจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมีทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มาจนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภาระจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภาระจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภาระจำยอม จึงไม่ใช่เป็นวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภาระจำยอมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภาระจำยอมไปทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภาระจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 แม้จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาระจำยอม การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความ และการกำหนดขอบเขตภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ การใช้ทางพิพาทในระยะเวลา ดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมี ทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มา จนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์ เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาท จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จน ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภารจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภารจำยอม จึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการ เพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากเดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดิน ทางด้านทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภารจำยอม เป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้าม ชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภารจำยอมไปทางด้านทิศใต้ สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้ จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมถือว่าเป็นการอันจะเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 แม้จะได้ภารจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองเป็นของบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินตามโฉนดและ น.ส.3 ก. เพียงแต่โจทก์ให้ ศ. ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายถือไว้แทนโจทก์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดิน และ น.ส.3 ก.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 109(1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1)ศ. บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองตามชื่อในทะเบียน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ศ.เป็นบุคคลล้มละลายได้มอบอำนาจให้โจทก์โอนที่ดินที่มีโฉนดและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) รวมจำนวน 45 แปลงให้โจทก์ โดยอ้างว่า ศ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ การที่ ศ.มีชื่อในโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1773 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองดังนั้น ที่ดินทั้ง 45 แปลงดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 109 (1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 22 (1) ศ.บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 24 ศ.จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้
of 20