คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ม.ล.เฉลิมชัย เกษมสันต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 348 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรอง แม้ผู้รับรองไม่มีอำนาจโดยตรง แต่เอกสารตรงกับต้นฉบับและไม่มีการโต้แย้ง
แม้สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่โจทก์อ้างส่งศาลมีสิบตำรวจตรี ม. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจลงชื่อรับรองสำเนาเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เพราะในชั้นพิจารณาไม่ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับต้นฉบับ ทั้งจำเลยมิได้คัดค้านโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนี้ เมื่อเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองว่าถ่ายมาจากต้นฉบับจริงย่อมรับฟังได้โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 238

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ผิดสัญญาซื้อขายห้องชุด แม้ติดตั้งของขวัญผิดพลาดและก่อสร้างล่าช้า โจทก์ไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
จำเลยโฆษณาในเอกสารว่าจะติดตั้งเครื่องเรียกความช่วยเหลือ เอสโอเอสเป็นของขวัญให้แก่ลูกค้า ปรากฏว่าบริษัทที่จำหน่ายเครื่องดังกล่าวเลิกกิจการไป จำเลยจึงเสนอติดเครื่องเรียกความช่วยเหลือของบริษัทอื่นซึ่งคุณภาพดีกว่าและราคาสูงกว่าแทนแก่โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ปฏิบัติให้ตรงตามคำโฆษณาจึงมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยและแม้โจทก์จะไม่ตกลงด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิยกเลิกสัญญา ส่วนที่จำเลยก่อสร้างล่าช้า ปรากฏว่าโจทก์ไปตรวจงานก่อสร้างก็มิได้ทักท้วงเรื่องก่อสร้างล่าช้า ทั้งหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างถึงความล่าช้า ถือว่าโจทก์จำเลยมิได้ถือเอาเรื่องระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญโจทก์ไม่อาจอ้างเหตุการก่อสร้างล่าช้าบอกเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินจากพยานหลักฐาน เอกสารสัญญาขาย และการครอบครอง โดยศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นพินัยกรรม
สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารที่ส่งมาจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อย แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ เพราะต้นฉบับได้ส่งไปยังศาลแพ่งและศาลแพ่งแจ้งว่าตรวจหาแล้วไม่พบ เพราะมีการปลดเผาตามระเบียบแล้ว แสดงว่าต้นฉบับหนังสือดังกล่าวเป็นเอกสารที่มีอยู่จริงเพียงแต่หาต้นฉบับไม่ได้เท่านั้น
ประเด็นที่ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมหรือไม่นั้น ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นข้อนี้อันจะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แม้ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีครอบครองที่ดิน: การผูกพันตามคำพิพากษาคดีก่อนและผลกระทบต่อการฟ้องคดีใหม่
ปัญหาว่า โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ซ้ำและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 และมาตรา 148 หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
เดิมจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.และ ต.เป็นจำเลยเป็นคดีแพ่งโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ต่อมา ส.และ ต.ไปขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 โดยมิชอบทับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ของจำเลยทั้งสาม ส.และ ต.ให้การว่า การขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ถูกต้องและได้เข้าครอบครองที่พิพาทอย่างเจ้าของ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่พิพาทของจำเลยทั้งสาม อันจะต้องเพิกถอนหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2) ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีในคดีก่อนแล้วว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่ของจำเลยทั้งสามตาม น.ส.3เลขที่ 15 ให้เพิกถอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีในคดีก่อนแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีที่พิพาทซ้ำกับคดีก่อน ศาลยกฟ้องตามมาตรา 144
ปัญหาว่า โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณา คดีนี้ซ้ำและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และมาตรา 148 หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิ ที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง เดิมจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.และต.เป็นจำเลยเป็นคดีแพ่งโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของ ผู้ครอบครองที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ต่อมาส.และต. ไปขอออก น.ส.3 ก. เลขที่ 4618โดยมิชอบทับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ของจำเลยทั้งสามส.และต. ให้การว่า การขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ถูกต้องและได้เข้าครอบครองที่พิพาท อย่างเจ้าของ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า น.ส.3 ก. เลขที่ 4618 ออกทับที่พิพาทของจำเลยทั้งสาม อันจะต้องเพิกถอนหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องสอด ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และ ต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี ในคดีก่อนแล้วว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่ของจำเลยทั้งสามตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ให้เพิกถอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 4618 อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีในคดีก่อนแล้ว กรณีก็ต้อง ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015-2016/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีละเมิดจากเหตุชุมนุม: ผลของ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมและการวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534การที่สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่งพระราชกำหนดบัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 209 และมีผลผูกพันศาลยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 268 โจทก์ทั้งสามสิบเก้า ซึ่งเป็นญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015-2016/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิรโทษกรรมความผิดชุมนุม 17-21 พ.ค. 35: ศาลยุติธรรมผูกพันตามคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญ ที่ 2/2535 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2535 ว่า การออกพระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 ซึ่งออกใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2535 เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 209 และมีผลผูกพันศาลยุติธรรมตามมาตรา 268
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ. 2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ตกไป เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะพระราชกฤษฎีกาก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่งพระราชกฤษฎีกาบัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015-2016/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุม: ศาลยุติธรรมผูกพันตามคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2535 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2535 ว่า การออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคมพ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 ซึ่งออกใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2535 เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 209 และมีผลผูกพันศาลยุติธรรมตามมาตรา 268
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ.2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่ พ.ร.ก.ฉบับนี้ตกไปเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะ พ.ร.ก. ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพ.ร.บ.ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่ง พ.ร.ก. บัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม การใช้ทางร่วม และการขัดขวางสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น
โจทก์ทั้งสาม จำเลยและบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวได้มีการแบ่งแยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด แม้โจทก์ทั้งสามจะใช้ทางพิพาทมานานเพียงใด ก็เป็นเพียงการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทแต่อย่างใด
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่ง จึงมีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่ง เจ้าของรวมคนอื่น ๆ การที่จำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทย่อมเห็นได้ว่าเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็น เจ้าของรวมด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้โจทก์ทั้งสามจะตั้งรูปเรื่องฟ้องคดีมาโดยอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างเจ้าของรวม ศาลมีอำนาจที่จะยกบทกฎหมายที่ถูกต้องขึ้นปรับได้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนประตูไม้สังกะสีออกไปจากทางพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นด้วยในผล พิพากษายืน โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน คำพิพากษาจึงมีผลไม่ตรงกับการวินิจฉัย ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีปลอมแปลงเอกสารธรรมดา แต่ต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและ ร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป
of 35