พบผลลัพธ์ทั้งหมด 348 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานเบียดบังทรัพย์สิน: เพียงระบุหน้าที่, การกระทำ, และผลของการกระทำ ก็เพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงวันเวลาเกิดเหตุ หน้าที่และการกระทำของจำเลยว่า ตามวันเวลาที่เกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท พ.ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียว ได้จำหน่ายสินค้าของบริษัทโดยระบุประเภท น้ำหนักของสินค้า และจำนวนเงินที่จำหน่ายสินค้าได้แต่ละวัน แล้วเบียดบังเงินที่จำหน่าย สินค้าได้นั้นเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว ยังได้บรรยายถึงสถานที่เกิดเหตุด้วย คำบรรยายฟ้องเช่นนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดอย่างไร แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินของบริษัทไปอย่างไรด้วยวิธีการใดมาด้วย ก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9607/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสินสมรส การโอนสิทธิโดยฝ่ายเดียวไม่จำเป็นต้องมียินยอมจากคู่สมรส
แม้จะฟังว่าสิทธิการเช่าอาคารพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมก็ตาม แต่การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทก็หาใช่เป็นกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมจะต้องจัดการร่วมกันหรือจะต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (1) ถึง (8) ดังนั้น ย่อมเป็นอำนาจของจำเลยที่จัดการได้ตามลำพังโดยมิต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วม ตาม ป.พ.พ.1476 วรรคสอง แม้จำเลยจะโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้โจทก์โดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมก็ตาม จำเลยร่วมก็ไม่อาจจะเพิกถอนการโอนดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9230/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคดีผสมระหว่างคดีไม่มีทุนทรัพย์กับคดีมีทุนทรัพย์ และข้อจำกัดในการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยพร้อมกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งกับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมา ดังนี้ จะฎีกาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกัน กล่าวคือถ้าหากฎีกาประเด็นเรื่องขับไล่ก็ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ10,000 บาทหรือไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าเดือนละ10,500 บาท ฎีกาของจำเลยในส่วนเรื่องขับไล่จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ส่วนในเรื่องค่าเสียหายปรากฏว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีจำนวนเพียง 132,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายหรือหากโจทก์ได้รับความเสียหายก็ไม่เกินเดือนละ 10,500 บาทนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8320/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสืบเสาะฯ ไม่ใช่พยานหลักฐานโจทก์ ศาลไม่อาจนำลงโทษจำเลยได้
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติในสำนวนคดีอาญาไม่ใช่เป็นพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174 วรรคหนึ่ง ทั้งเป็นเอกสารลับในสำนวนคดีอื่น จำเลยไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้าน ศาลไม่อาจนำมารับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8320/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานอ่อนแอ ขัดแย้งกันเอง และรายงานสืบเสาะมิอาจใช้ลงโทษได้ ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาพยายามฆ่า
รายงานสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติของจำเลยในคดีอื่น มิใช่เป็นพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 174 วรรคหนึ่ง ทั้งเป็นเอกสารลับในสำนวนคดีอื่น จำเลยไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้าน ศาลไม่อาจนำมารับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8153/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างตอบแทน: สิทธิหน้าที่ในการชำระราคาและโอนกรรมสิทธิ์ต้องควบคู่กัน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายบ้านกับโจทก์ สัญญาจะซื้อขายบ้านเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระราคาค่าบ้านให้แก่โจทก์ ส่วนโจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านแก่จำเลยด้วยเช่นกัน การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระราคาค่าบ้านส่วนที่เหลือตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันโดยที่โจทก์มิได้กำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านให้แก่จำเลยตามหน้าที่แล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะไม่ชำระราคาค่าบ้านส่วนที่เหลือแก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะกำหนดเวลาที่โจทก์จะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ได้ จะถือว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 389 หาได้ไม่ สัญญาดังกล่าวยังมีผลผูกพันอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยฎีกาเรื่องดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด แต่ไม่เคยต่อสู้คัดค้านในชั้นศาล ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี อันเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดแต่อย่างใด แม้จำเลยจะนำสืบในชั้นพิจารณาทำนองเดียวกับที่จำเลยฎีกามา ต่อสู้ว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี อันเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด ก็เป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็นคำให้การซึ่งจำเลยไม่มีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลสามารถหยิบขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบแล้วศาลจึงหยิบยกมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) และถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเด็ก delinquency หลังอายุเกิน 18 ปี: จากสถานพินิจเป็นอบรมสั่งสอนโดยมารดา
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดตั้งแต่ 2 ปี ถึง 3 ปี ขณะเกิดเหตุเมื่อปี 2539 จำเลยอายุ 14 ปี แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยอายุ 19 ปี ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 74 (5) บัญญัติว่าเด็กอายุกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็กตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่อย่าให้เกินกว่าที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า จำเลยอายุเกิน 18 ปี แล้ว จึงไม่อาจส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองได้ ถือว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามป.อ. มาตรา 74 วรรคท้าย เป็นให้มารดาจำเลยรับตัวจำเลยไปอบรมสั่งสอนและดูแลระมัดระวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายหรือกระทำผิดอาญาใด ๆ ขึ้นอีกภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังได้ มิฉะนั้นศาลจะปรับครั้งละ 500 บาทตาม ป.อ. มาตรา 74 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยเปลี่ยนแปลงหลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำสั่งเดิม
ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 14 ปี แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า จำเลยอายุเกิน 18 ปีแล้ว จึงไม่อาจส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาของศาลล่างได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) ถือว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามมาตรา 74 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แม้โจทก์อ้างจำเลยผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาตกลงให้โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ของจำเลย โดยโจทก์มอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าในวงเงิน 100,000 บาท ให้แก่จำเลย จำเลยผิดสัญญาส่งสินค้าให้ร้านค้าต่าง ๆ ทำให้สินค้าที่โจทก์รับมาจำหน่ายไม่ได้ โจทก์ขาดรายได้แต่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยคืนสัญญาค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งผลของคำขอนั้นจะทำให้โจทก์ได้คืนหลักประกันที่ให้ไว้แก่ธนาคารเพื่ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยดังกล่าวและจำเลยขาดหลักประกันการเรียกค่าสินค้าค้างชำระจากโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือที่เรียกว่าคดีมีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ก็คือหลักประกันตามหนังสือค้ำประกันที่โจทก์เรียกคืนจำนวน 100,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง