พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14978/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน กรณีเครื่องชั่งน้ำหนักเป็นส่วนควบหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วด้วย" เครื่องชั่งน้ำหนักมีระบบคานชั่งติดตั้งอยู่ใต้พื้นดินด้านข้างของอาคารเครื่องชั่งทั้งสองด้าน โดยใต้คานชั่งน้ำหนักจะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักซึ่งเป็นระบบกลไกเชื่อมโยงไปยังอาคารควบคุมเครื่องชั่ง เมื่อมีรถบรรทุกผ่านเครื่องชั่งคอมพิวเตอร์จะทำงานและส่งข้อมูลน้ำหนักรถและวัตถุที่บรรทุกไปยังอาคารควบคุมเครื่องชั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารควบคุมเครื่องชั่ง แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างอาคารดังกล่าว โดยมิได้ยึดติดอยู่กับตัวอาคาร เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงมิใช่ส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำ หรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งขึ้นในโรงเรือนตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักมีระบบคานชั่งติดตั้งอยู่ใต้พื้นและติดตรึงถาวรกับพื้นดิน มีแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ปิดให้รถบรรทุกวิ่งขึ้นชั่งน้ำหนักจึงมีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว
สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักมีระบบคานชั่งติดตั้งอยู่ใต้พื้นและติดตรึงถาวรกับพื้นดิน มีแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ปิดให้รถบรรทุกวิ่งขึ้นชั่งน้ำหนักจึงมีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14977/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าและเครื่องชั่งน้ำหนัก
มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ท่านให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ..." ซึ่งมาตรา 5 บัญญัตินิยามของคำว่า "โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ" ให้กินความถึงแพด้วยเท่านั้น มิได้กำหนดความหมายไว้โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งยึดติดอยู่บนคานปูนที่วางพาดระหว่างเสาไฟฟ้าแรงสูงสองต้น สูงจากพื้นประมาณ 8 เมตร เสาไฟฟ้าทั้งสองต้นหล่อด้วยปูนมีฐานติดตรึงถาวรอยู่กับพื้นดินซึ่งลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่ง แม้หม้อแปลงไฟฟ้าจะติดตั้งอยู่บนคานปูนมิได้ยึดติดกับพื้นดิน และสามารถเคลื่อนย้ายออกไปจากเสาไฟฟ้าได้ แต่โดยสภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ซึ่งต้องใช้เป็นประจำอยู่กับเสาไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการแปลงค่ากระแสไฟฟ้าจ่ายให้แก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษี ก็ประเมินค่ารายปีของหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งย่อมรวมถึงเสาไฟฟ้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันด้วย ทั้งโจทก์เองก็ได้ให้ผู้เช่าเช่าใช้ประโยชน์จากหม้อแปลงและอุปกรณ์ดังกล่าวในอุตสาหกรรมของผู้เช่าโดยโจทก์ได้รับค่าเช่าจากทรัพย์สินส่วนนี้ด้วย หม้อแปลงไฟฟ้าจึงเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งและยึดติดอยู่กับเสาไฟฟ้าซึ่งติดตรึงถาวรอยู่กับพื้นดินอันก่อให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตามมาตรา 6 (1) หม้อแปลงไฟฟ้าจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่พนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยกำหนดค่ารายปีในส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้าโดยนำค่าเช่าที่โจทก์ได้รับมาเป็นเกณฑ์จึงเป็นไปตามมาตรา 8 วรรคสอง แล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ตามมาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น" ตามภาพถ่ายอาคารชั่งน้ำหนัก ประกอบกับแปลนแสดงอาคารพร้อมเครื่องจักร แสดงให้เห็นสภาพโครงสร้างของเครื่องชั่งน้ำหนักว่า มีเครื่องชั่งน้ำหนักระบบคานชั่ง และระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงไปใต้พื้นดินด้านข้างของห้องเครื่องชั่งทั้งสองด้าน ใต้คานชั่งน้ำหนักจะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักซึ่งเป็นเครื่องจักรกลและต่อเนื่องไปยังห้องเครื่องชั่ง ส่วนเครื่องจักรกลนั้นอยู่ใต้ดินและอยู่นอกอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก เมื่อมีรถบรรทุกผ่านเครื่องชั่งคอมพิวเตอร์จะทำงานและส่งข้อมูลน้ำหนักรถและวัตถุที่บรรทุกไปยังห้องเครื่องชั่งที่มีระบบบันทึกน้ำหนัก เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดอยู่กับตัวห้องเครื่องชั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักจึงไม่ใช่ส่วนควบของโรงเรือนที่เป็นห้องเครื่องชั่ง แต่สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักที่มีระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงใต้พื้นดินและติดตรึงถาวรกับพื้นดินจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งขึ้นในโรงเรือนตามมาตรา 13 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว และจำเลยไม่ต้องคืนเงินภาษีแก่โจทก์
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ตามมาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น" ตามภาพถ่ายอาคารชั่งน้ำหนัก ประกอบกับแปลนแสดงอาคารพร้อมเครื่องจักร แสดงให้เห็นสภาพโครงสร้างของเครื่องชั่งน้ำหนักว่า มีเครื่องชั่งน้ำหนักระบบคานชั่ง และระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงไปใต้พื้นดินด้านข้างของห้องเครื่องชั่งทั้งสองด้าน ใต้คานชั่งน้ำหนักจะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักซึ่งเป็นเครื่องจักรกลและต่อเนื่องไปยังห้องเครื่องชั่ง ส่วนเครื่องจักรกลนั้นอยู่ใต้ดินและอยู่นอกอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก เมื่อมีรถบรรทุกผ่านเครื่องชั่งคอมพิวเตอร์จะทำงานและส่งข้อมูลน้ำหนักรถและวัตถุที่บรรทุกไปยังห้องเครื่องชั่งที่มีระบบบันทึกน้ำหนัก เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดอยู่กับตัวห้องเครื่องชั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักจึงไม่ใช่ส่วนควบของโรงเรือนที่เป็นห้องเครื่องชั่ง แต่สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักที่มีระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงใต้พื้นดินและติดตรึงถาวรกับพื้นดินจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งขึ้นในโรงเรือนตามมาตรา 13 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว และจำเลยไม่ต้องคืนเงินภาษีแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14977/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หม้อแปลงไฟฟ้าและเครื่องชั่งน้ำหนักถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษี
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 บัญญัตินิยามของคำว่า "โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ" ให้กินความถึงแพด้วยเท่านั้น มิได้กำหนดความหมายไว้โดยเฉพาะ หม้อแปลงไฟฟ้าพิพาทติดตั้งยึดติดอยู่บนคานปูนที่วางพาดระหว่างเสาไฟฟ้า เสาไฟฟ้าทั้งสองต้นหล่อด้วยปูนมีฐานติดตรึงถาวรอยู่กับพื้นดินจึงมีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่ง แม้หม้อแปลงไฟฟ้าติดตั้งอยู่บนคานปูน ไม่ได้ยึดติดกับพื้นดิน และสามารถเคลื่อนย้ายออกไปจากเสาไฟฟ้าได้ แต่โดยสภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ซึ่งต้องใช้ประจำอยู่กับเสาไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการแปลงค่ากระแสไฟฟ้าจ่ายให้แก่โรงงาน ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตามมาตรา 6 (1) การที่จำเลยกำหนดค่ารายปีในส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้าโดยนำค่าเช่าที่โจทก์ได้รับมาเป็นเกณฑ์จึงเป็นไปตามมาตรา 8 วรรคสอง แล้ว
เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์เป็นระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตรึงถาวรลงใต้พื้นดิน มีโครงสร้างรองรับเป็นสิ่งปลูกสร้างโดยสภาพ จึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตามมาตรา 6 (1) แต่เครื่องชั่งน้ำหนักเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดกับตัวห้องเครื่องชั่ง ดังนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญอันมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งในโรงเรือนตามมาตรา 13 คำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสาม จึงชอบแล้ว
เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์เป็นระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตรึงถาวรลงใต้พื้นดิน มีโครงสร้างรองรับเป็นสิ่งปลูกสร้างโดยสภาพ จึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตามมาตรา 6 (1) แต่เครื่องชั่งน้ำหนักเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดกับตัวห้องเครื่องชั่ง ดังนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญอันมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งในโรงเรือนตามมาตรา 13 คำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสาม จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13255/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เตาเผาไม่ใช่โรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรกลไกตามมาตรา 13
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วด้วย" เมื่อเตาเผาทั้ง ๖ เตาพร้อมอุปกรณ์ของโจทก์มีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่งที่มีฐานติดตรึงกับพื้นดิน และมีเครื่องจักรเป็นเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมติดตั้งอยู่ภายใน มิได้มีสภาพเป็นที่สำหรับเข้าอยู่อาศัยหรือเป็นที่ไว้สินค้าคล้ายกับโรงเรือนแต่อย่างใด ส่วนสิ่งปลูกสร้างด้านบนแม้จะมีลักษณะคล้ายโรงเรือนโดยด้านในมีเครนไฟฟ้าอยู่และใช้โครงสร้างของตัวเตาเผาต่อเติมขึ้นไป แต่ก็ไม่ได้มีลักษณะอย่างโรงเรือนทั่วไปที่ต้องมีโครงสร้างรองรับน้ำหนักสัมผัสพื้นดิน เตาเผาทั้ง ๖ เตา ของโจทก์ไม่อาจถือเป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญอันมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินอุตสาหกรรม คงเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น และมาตรา 13 ใช้บัญญัติให้ลดค่ารายปีเฉพาะโรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรกลไกเท่านั้นมิได้หมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นด้วย การที่จำเลยมีคำชี้ขาดไม่ลดค่ารายปีให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13253/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีด้วยการจ่ายเงินสนับสนุนแทนเงินปันผล ทำให้เกิดเงินได้พึงประเมินและหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
บริษัทโจทก์ บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายเดียวกันคือ บริษัท อาเซียอา นิติบุคคลตามกฎหมายไทยถือหุ้นร้อยละ 51 และมีบริษัท เอบีบี อ. นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 49 ก่อนจดทะเบียนเลิกบริษัทโจทก์มีกำไรสะสม 101,754,580 บาท ซึ่งโจทก์ควรจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ การจ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัท เอบีบี อ. ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศโจทก์ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 แต่โจทก์กลับจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเพียง 2,105,627 บาท แล้วนำกำไรอีก 99,000,000 บาท ไปจ่ายเป็นเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. โดยไม่ได้รับผลตอบแทนเพื่อให้บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้แก่บริษัท เอบีบี อ. ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท เอบีบี อ. หลังจากโจทก์ให้เงินสนับสนุนแก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. เพียงสองวัน โจทก์และบริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทในวันเดียวกัน ปกติก่อนเลิกบริษัท หากโจทก์มีหนี้สินก็ควรนำเงินไปชำระหนี้ก่อนที่เหลือจึงนำแบ่งให้แก่ผู้ถือหุ้น การที่โจทก์จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. เป็นทางให้บริษัท อาเซียอา ผู้ถือหุ้นใหญ่ของโจทก์ขาดประโยชน์ที่พึงมีพึงได้จากกำไรสะสม 99,000,000 บาท ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลสมควรอันใดที่บริษัท อาเซียอา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีอำนาจบริหารในบริษัทโจทก์จะยอมให้โจทก์กระทำให้บริษัท อาเซียอา ต้องเสียเปรียบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัท เอบีบี อ. โดยตรง กับใช้วิธีให้เงินสนับสนุนแก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ก็เพื่อที่โจทก์ไม่ต้องหักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้บริษัท เอบีบี อ. ตามมาตรา 70 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าบริษัท เอบีบี อ. ได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากกำไรสะสมที่โจทก์ได้จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ตามสัดส่วนของการถือหุ้นอันเป็นการเพิ่มพูนทรัพย์สินของบริษัท เอบีบี อ. อันอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 และเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) ที่จ่ายจากประเทศไทย โจทก์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12131/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกษียณอายุเร็วตามโครงการของบริษัท และสิทธิขอคืนภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่ให้พนักงานออกจากงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยความสมัครใจร่วมกันคือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน โดยเพิ่มเติมจากข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรฯ ฉบับที่ 4 ที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามประกาศนี้แม้จะเป็นเวลาที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประจำปีภาษี 2550 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงเป็นผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 63 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะพิพากษาคดีนี้ มีเจตนารมณ์ที่จะใช้บังคับแก่บุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียเท่านั้น มิได้บัญญัติขยายรวมไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี แต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังเช่นโจทก์ในคดีนี้ ซึ่งต่อมาภายหลังจึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63 ดังกล่าว โดยมาตรา 63 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้บุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในปีภาษีแต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด กรณีของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.รัษฎากร มาตรา 63 เดิม เมื่อกรณีของโจทก์ไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงมีความชอบธรรมที่จะใช้สิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามมาตรา 27 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้กับกรณีทั่วไป จึงต้องคืนภาษีให้กับโจทก์
เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประจำปีภาษี 2550 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงเป็นผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 63 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะพิพากษาคดีนี้ มีเจตนารมณ์ที่จะใช้บังคับแก่บุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียเท่านั้น มิได้บัญญัติขยายรวมไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี แต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังเช่นโจทก์ในคดีนี้ ซึ่งต่อมาภายหลังจึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63 ดังกล่าว โดยมาตรา 63 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้บุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในปีภาษีแต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด กรณีของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.รัษฎากร มาตรา 63 เดิม เมื่อกรณีของโจทก์ไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงมีความชอบธรรมที่จะใช้สิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามมาตรา 27 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้กับกรณีทั่วไป จึงต้องคืนภาษีให้กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10008/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ถือเป็นการระงับหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์บุตรจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนรถยนต์ที่ อ. ขับซึ่งเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย พนักงานสอบสวนทำบันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า อ. ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด โดยคู่กรณีลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน จึงเป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไป มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เป็นผลให้ อ. ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ที่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้ อ. เป็นการปฏิบัติตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้จำกัดสิทธิ์ อ. หรือผู้เสียหายที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10008/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลระงับหนี้
จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์ที่มี อ. เป็นคนขับและเอาประกันภัยไว้กับโจทก์เป็นเหตุให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุ อ. และจำเลยที่ 1 ไปพบพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจและทำบันทึกเกี่ยวกับรถเฉี่ยวกันมีข้อความส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่า "อ. ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจาก ป. (ป. คือจำเลยที่ 1) แต่อย่างใด" ซึ่งข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนในตัว เมื่อพิจารณาประกอบพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น ปรากฏว่า อ. ทราบก่อนทำเอกสารแล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถประมาทและเป็นฝ่ายกระทำละเมิดซึ่งต้องรับผิดในเรื่องค่าเสียหาย แต่ อ.ยังคงตกลงยินยอมที่จะไม่เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนใด ๆ จากจำเลยที่ 1 และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน เช่นนี้เป็นการสละสิทธิเรียกร้องเพื่อระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปโดยยอมผ่อนผันให้แก่กัน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งเป็นผลให้มูลหนี้ละเมิดจากการที่รถเฉี่ยวชนกันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์ไม่อาจรับช่วงสิทธิของ อ. ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องค่าเสียหายรถเฉี่ยวชนกันจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกษียณอายุตามโครงการของบริษัท และการยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 บัญญัติถึงเงินได้ประเภทต่าง ๆ ที่มีเหตุอันสมควรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีโดยเงินได้ในประเภทตามมาตรา 42 (17) คือเงินได้ตามที่กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง ให้อำนาจฝ่ายบริหารกำหนดได้ตามนโยบายภาษีและเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้มีเงินได้ และตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรกำหนดว่า เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) แสดงให้เห็นว่ารัฐประสงค์จะใช้มาตรการยกเว้นภาษีจากเงินได้ประเภทนี้เพื่อสนับสนุนระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ข้อ 1 (1) กำหนดว่า (1) กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก็แสดงให้เห็นถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีเงินได้ประเภทนี้ ที่ประสงค์ให้มีการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนเป็นระยะยาวอันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการกองทุนได้ดี จึงให้ประโยชน์ในการยกเว้นภาษีแก่ผู้เป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และไม่ให้ประโยชน์ในการยกเว้นภาษีในกรณีสมาชิกลาออกจากงานหรือออกเพราะเหตุที่กระทำความผิด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่ให้พนักงานออกจากงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยความสมัครใจร่วมกันนี้ก็คือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน อันเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การเกษียณ อายุงานเพิ่มเติมจากที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศนี้ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามประกาศนี้ในการออกจากงาน โดยการเกษียณอายุซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่มุ่งส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อประโยชน์ในยามชราภาพของลูกจ้างก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้ให้เป็นไปภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ขณะออกจากงานโจทก์ก็มีอายุ 55 ปีเศษ อันเป็นกรณีที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งโจทก์ก็เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว จึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่มีผลให้เงินได้ที่โจทก์ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (36) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่ให้พนักงานออกจากงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยความสมัครใจร่วมกันนี้ก็คือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน อันเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การเกษียณ อายุงานเพิ่มเติมจากที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศนี้ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามประกาศนี้ในการออกจากงาน โดยการเกษียณอายุซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่มุ่งส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อประโยชน์ในยามชราภาพของลูกจ้างก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้ให้เป็นไปภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ขณะออกจากงานโจทก์ก็มีอายุ 55 ปีเศษ อันเป็นกรณีที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งโจทก์ก็เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว จึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่มีผลให้เงินได้ที่โจทก์ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (36) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การออกประกาศกำหนดราคายาสูบนำเข้าไม่กระทบสิทธิผู้ขายยาสูบประเภท 1
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดราคายาสูบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2549 ลงวันที่ 18 กันยายน 2549 และประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดราคายาสูบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2550 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2550 ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 23 เพื่อมิให้มีการขายบุหรี่ซิกาแรตเกินราคาที่กำหนด โดยบัญญัติโทษปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน จึงเป็นการออกประกาศที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกรมสรรพากรให้ใช้ราคาขายปลีกตามประกาศเป็นฐานในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นตามที่โจทก์อ้าง หากกรมสรรพากรใช้ราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นฐานในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นตามมาตรา 79/5 (2) และโจทก์ได้รับความเสียหาย ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านต่อกรมสรรพากร หาทำให้ราคาขายปลีกตามประกาศทั้งสองฉบับไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ โดยเฉพาะประกาศทั้งสองฉบับนี้เป็นการกำหนดราคาขายปลีกยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้ได้รับอนุญาตขายยาสูบประเภท 3 ซึ่งขายได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 มวน จึงย่อมไม่มีผลบังคับแก่โจทก์โดยตรง เนื่องจากโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขายยาสูบซิกาแรตที่ผลิตในต่างประเทศออกแสดงเพื่อขายประเภท 1 ซึ่งขายโดยไม่จำกัดจำนวน การออกประกาศทั้งสองฉบับจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ส่วนที่โจทก์อ้างว่า การกำหนดราคาขายปลีกดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติและเอื้อประโยชน์แก่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง นั้น ราคาขายปลีกของโรงงานยาสูบใช้ราคาขาย ณ โรงงานยาสูบเป็นหลัก เนื่องจากเป็นยาสูบที่ผลิตในประเทศ มิได้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. เป็นหลัก ดังเช่นยาสูบที่นำเข้าจากต่างประเทศ ราคาขายปลีกจึงแตกต่างกันได้ และเหตุที่จำเลยมิได้ประกาศเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตของโรงงานยาสูบ เพราะมิได้เปลี่ยนแปลงราคาขาย ณ โรงงาน ต่างกับราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของบุหรี่ซิกาแรตของโจทก์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่สูงขึ้นจึงต้องมีการออกประกาศกำหนดราคาขายปลีกตามประกาศทั้งสองฉบับ การกำหนดราคาขายปลีกตามประกาศทั้งสองฉบับจึงมิได้เป็นการเอื้อประโยชน์แก่โรงงานยาสูบและเลือกปฏิบัติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง