พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการบอกกล่าวหนี้ การที่ลูกหนี้ปฏิเสธหนี้หลังได้รับการบอกกล่าว ถือเป็นการรับทราบการโอนสิทธิ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายโอนสิทธิเรียกร้อง (ในประเทศไทย) แก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เข้าทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และภายหลังจำเลยที่ 1 ขายโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีต่อจำเลยที่ 6 และที่ 7 แก่โจทก์ ก่อนฟ้องคดีนี้ทนายความโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 6 ชำระหนี้ตามฟ้องที่จำเลยที่ 6 เป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้นั้นให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 6 ได้รับแล้ว และจำเลยที่ 6 ได้ทำหนังสือลงวันที่ 7 มกราคม 2541 ปฏิเสธว่าไม่เคยซื้อสินค้าและไม่เคยเป็นหนี้ต่อจำเลยที่ 1 หรือโจทก์ หนังสือของทนายโจทก์ที่ทวงถามให้จำเลยที่ 6 ชำระหนี้ตามฟ้องก่อนที่จะฟ้องคดีนี้ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ค่าใช้น้ำบาดาลที่ค้างชำระ และการพิพากษาชำระหนี้ตามจริง
กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2547) ออกตามความใน พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลชำระค่าใช้น้ำบาดาลในแต่ละงวดให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มงวดถัดไป ถือว่าเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก นับแต่วันผิดนัดในแต่ละงวด มิใช่นับแต่ครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1857/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ของกลางในคดียาเสพติด: ศาลไม่อาจสั่งริบหากโจทก์มิได้ขอ
แม้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 บัญญัติให้ริบเสียทั้งสิ้นก็ตาม แต่รถจักรยานยนต์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 32 ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ศาลย่อมไม่อาจสั่งริบให้ เพราะจะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาที่ถูกต้อง และเหตุผลการขยายที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้จำเลยที่ 1 ระบุให้คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ว่า ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 26 มกราคม 2552 ก็เป็นความเข้าใจผิดของจำเลยที่ 1 เอง ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดและศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตโดยมิได้กำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไปกรณีดังกล่าวจึงต้องนับกำหนดระยะเวลาเดิมกับระยะเวลาที่ขยายออกไปติดต่อกันซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สามในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สามเมื่อพ้นกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แล้ว ทั้งตามคำร้องก็อ้างเหตุเพียงว่าประเด็นที่จำเลยที่ 1 จะเสนอต่อศาลอุทธรณ์มีหลายประเด็นซึ่งเป็นประเด็นสำคัญต่อการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13180/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดชี้สองสถานไม่ใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น โจทก์ไม่โต้แย้งเสียสิทธิอุทธรณ์
ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถาน ศาลได้สอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้และนัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 เพราะศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 988/2547 ของศาลชั้นต้น และจำเลยก็อ้างว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นกันข้อโต้เถียงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดี ต้องไปว่ากล่าวกันในคดีเดิม จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการสอบถามโจทก์จำเลย มิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายที่พิพาทกันในคดี ดังนั้น เมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลา 14 วัน โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ แต่มิได้โต้แย้ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12910/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังเช็ค, ความสุจริตของผู้ทรงเช็ค, และอายุความฟ้องร้องตั๋วเงิน
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คผู้ถือ จึงโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ จำเลยที่ 2 สลักหลักเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 914 ประกอบมาตรา 989 ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังส่งมอบต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 921, 940 ประกอบมาตรา 989 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงแยกจากกันตามฐานะแห่งตน ลายมือชื่อจำเลยที่ 2 จะปลอมหรือไม่เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ไม่มีผลทำให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ ป.พ.พ. มาตรา 1006
จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโดยสั่งจ่ายเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้หมุนเวียนแล้วมีผู้นำเช็คไปกรอกข้อความโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 เอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความที่ลงในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโดยสั่งจ่ายเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้หมุนเวียนแล้วมีผู้นำเช็คไปกรอกข้อความโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 เอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความที่ลงในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10959/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารซื้อขายเครื่องยนต์โดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นการปลอมเอกสารสิทธิ
ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยให้ซ่อมและเปลี่ยนเครื่องยนต์รถยนต์รวมทั้งให้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนหมายเลขเครื่องยนต์ จำเลยซื้อเครื่องยนต์จากบริษัท จ. โดยบริษัท จ. ออกเอกสารใบส่งของ/บิลเงินสด ใบกำกับภาษี กับหนังสือแจ้งจำหน่ายและการรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์ ระบุชื่อผู้เสียหายเป็นผู้ซื้อ จำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปให้บริษัท จ. แก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ซื้อเป็น ส. โดยผู้เสียหายไม่ยินยอมทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายแม้ พ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท จ. และเป็นผู้ทำเอกสารจะเป็นผู้แก้ไข แต่เมื่อการแก้ไขเกิดจากการแจ้งของจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย ย่อมไม่มีอำนาจ เป็นการปลอมเอกสารโดยถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนี้ด้วยการใช้ พ. เป็นเครื่องมือ
ใบกำกับภาษีเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ขายได้เรียกเก็บภาษีจากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ซื้อเครื่องยนต์แล้ว บริษัท พ. ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากผู้เสียหายอีกจึงเป็นหลักฐานแห่งการระงับไปซึ่งสิทธิ เป็นเอกสารสิทธิ
ใบกำกับภาษีเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ขายได้เรียกเก็บภาษีจากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ซื้อเครื่องยนต์แล้ว บริษัท พ. ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากผู้เสียหายอีกจึงเป็นหลักฐานแห่งการระงับไปซึ่งสิทธิ เป็นเอกสารสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10832/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยสุจริตของผู้จัดการบริษัทในการเปลี่ยนกุญแจห้องพักของอดีตพนักงาน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมทั้งสี่เข้าพักอาศัยในห้องที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ชั้นสองของอาคารที่ตั้งบริษัท ร. เนื่องจากโจทก์ร่วมที่ 1 เคยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ส่วนโจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทและเป็นพนักงานของบริษัท ห้องพักของโจทก์ร่วมทั้งสี่ย่อมอยู่ในความครอบครองของบริษัท ร. โดยโจทก์ร่วมทั้งสี่อาศัยสิทธิของบริษัทพักอาศัยในฐานะพนักงานของบริษัทเท่านั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัท มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปของบริษัท เปลี่ยนกุญแจห้องพักของโจทก์ร่วมทั้งสี่รวมถึงเปลี่ยนกุญแจตามจุดต่างๆ ในบริษัทตามคำสั่งของ ว. กรรมการผู้จัดการบริษัท เนื่องจากขณะเกิดเหตุมีทรัพย์สินของบริษัทสูญหาย จึงเป็นการกระทำในนามของบริษัทเพื่อดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบริษัทด้วยความสุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาบุกรุก และโจทก์ร่วมทั้งสี่ก็ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองห้องพิพาทที่อ้างว่าจำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครอง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10497/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวที่พอสมควรแก่เหตุ แม้การตอบโต้จะทำให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าเป็นการป้องกันตัวตามกฎหมาย
ผู้ตายเมาสุราก่อเหตุขึ้นก่อน โดยพูดจาทำนองหาเรื่องจำเลยเมื่อจำเลยเดินหนีไม่ตอบโต้ ผู้ตายยังเดินตามและใช้ไม้ตีจำเลยที่หลัง 1 ครั้ง แล้วผู้ตายจะใช้ไม่ตีจำเลยอีก นับเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การที่จำเลยหันกลับมาชกผู้ตายซึ่งอยู่ในระยะประชิดเพื่อป้องกันตัวแม้จะเป็นการชกโดยแรงแต่ก็เป็นการชกเพียงครั้งเดียว และเมื่อจำเลยชกผู้ตายล้มลงจำเลยก็ไม่ได้ชกผู้ตายซ้ำอีก การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุและไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 68
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9138/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง: พิจารณาจากลักษณะงานและกิจการของลูกหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำหรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นรวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง" และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" การที่จำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์และให้โจทก์บริการตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างศูนย์การค้าที่จำเลยจะใช้ทำการค้าขายเอกงและบางส่วนให้ผู้อื่นเช่าทำการค้านั้นโจทก์ผู้ประกอบการค้าชอบที่จะเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบซึ่งปกติมีอายุความสองปีซึ่งแม้เสาเข็มที่จำเลยสั่งให้โจทก์ตอกลงในดินที่จำเลยจะสร้างศูนย์การค้านั้น จำเลยมิได้นำเสาเข็มดังกล่าวไปขายต่ออีกทอดหนึ่งก็ตาม แต่การที่จำเลยจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มเพื่อประกอบเป็นอาคารศูนย์การค้าที่จำเลยมิได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวคงใช้เพื่อประกอบกิจการของฝ่ายจำเลย ด้วยการนำพื้นที่บางส่วนให้ผู้อื่นเช่าทำการค้าจึงถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองต้องด้วยข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความห้าปี