พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12538/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นภาษีเงินได้นิติบุคคล: การปันส่วนดอกเบี้ย, ค่าใช้จ่ายโครงการแฟมิลี่แคร์, และการประเมินผลขาดทุนสุทธิ
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละเดือนภาษีเป็นแต่ละข้อหาแยกจากกัน เฉพาะเดือนภาษีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 25
แม้บทบัญญัติของ ป.รัษฎากรในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคลมิได้กำหนดนิยามคำว่า "ราคาตลาด" ไว้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความหมายในทางการค้าทั่วไปแล้ว คงมีความหมายในทำนองเดียวกันกับ ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (3) ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนของภาษีธุรกิจเฉพาะกำหนดนิยามคำว่า "ราคาตลาด" คือ ราคาสินค้าที่มีการซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง ห้องชุดบางรายการ มีราคาตามสัญญาจะซื้อขายสูงกว่าราคาตามสัญญาซื้อขายที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่ห้องละประมาณ 30,000 บาท จนถึงประมาณ 800,000 บาท โดยโจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏว่าราคาที่แตกต่างกันนั้นมีเหตุผลให้เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด จึงไม่น่าเชื่อว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาตลาดในขณะนั้นหรือเป็นการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดโดยมีราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุผลอันสมควร การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาราคาประเมินของทางราชการในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทเป็นราคาตลาดจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) และมาตรา 91/16 (6)
ดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปสำหรับเงินที่กู้ยืมมาสร้างอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อขายเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าต้นทุนจนกว่าอาคารจะก่อสร้างเสร็จพร้อมที่จะขาย เมื่อไม่ปรากฏว่าโครงการของโจทก์ก่อสร้างเสร็จจนพร้อมที่จะขาย ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นจึงยังไม่อาจถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ทั้งหมดจนกว่าโจทก์จะปิดโครงการในเดือนสิงหาคม 2542
ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการแฟมิลี่แคร์เป็นเงินที่โจทก์จ่ายเพื่อช่วยค่าก่อสร้างอาคารศูนย์อภิบาลคนชรา ศูนย์พัฒนาเด็ก สถานที่ออกกำลังกาย และโพลีคลินิกที่ดำเนินการโดยคณะแพทย์โรงพยาบาล ซ. ซึ่งทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์โดยได้ปลดเปลื้องภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อลูกค้าตามที่โจทก์โฆษณาประชาสัมพันธ์ไว้ แต่กรรมสิทธิ์ในอาคารที่ก่อสร้างมิได้เป็นของโจทก์ กลับเป็นของโรงพยาบาล ซ. รายได้จากศูนย์ดังกล่าวก็เป็นรายได้ของโรงพยาบาล ซ. ทั้งตามทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดจากการร่วมทุนของโจทก์โดยมีข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง การจ่ายเงินดังกล่าวจึงมิได้มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.61/2539 และไม่มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคอันจะนำมาถือเป็นมูลค่าต้นทุน จึงไม่อาจนำมาถือเป็นต้นทุนของโครงการในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิได้
แม้บทบัญญัติของ ป.รัษฎากรในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคลมิได้กำหนดนิยามคำว่า "ราคาตลาด" ไว้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความหมายในทางการค้าทั่วไปแล้ว คงมีความหมายในทำนองเดียวกันกับ ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (3) ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนของภาษีธุรกิจเฉพาะกำหนดนิยามคำว่า "ราคาตลาด" คือ ราคาสินค้าที่มีการซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง ห้องชุดบางรายการ มีราคาตามสัญญาจะซื้อขายสูงกว่าราคาตามสัญญาซื้อขายที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่ห้องละประมาณ 30,000 บาท จนถึงประมาณ 800,000 บาท โดยโจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏว่าราคาที่แตกต่างกันนั้นมีเหตุผลให้เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด จึงไม่น่าเชื่อว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาตลาดในขณะนั้นหรือเป็นการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดโดยมีราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุผลอันสมควร การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาราคาประเมินของทางราชการในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทเป็นราคาตลาดจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) และมาตรา 91/16 (6)
ดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปสำหรับเงินที่กู้ยืมมาสร้างอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อขายเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าต้นทุนจนกว่าอาคารจะก่อสร้างเสร็จพร้อมที่จะขาย เมื่อไม่ปรากฏว่าโครงการของโจทก์ก่อสร้างเสร็จจนพร้อมที่จะขาย ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นจึงยังไม่อาจถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ทั้งหมดจนกว่าโจทก์จะปิดโครงการในเดือนสิงหาคม 2542
ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการแฟมิลี่แคร์เป็นเงินที่โจทก์จ่ายเพื่อช่วยค่าก่อสร้างอาคารศูนย์อภิบาลคนชรา ศูนย์พัฒนาเด็ก สถานที่ออกกำลังกาย และโพลีคลินิกที่ดำเนินการโดยคณะแพทย์โรงพยาบาล ซ. ซึ่งทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์โดยได้ปลดเปลื้องภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อลูกค้าตามที่โจทก์โฆษณาประชาสัมพันธ์ไว้ แต่กรรมสิทธิ์ในอาคารที่ก่อสร้างมิได้เป็นของโจทก์ กลับเป็นของโรงพยาบาล ซ. รายได้จากศูนย์ดังกล่าวก็เป็นรายได้ของโรงพยาบาล ซ. ทั้งตามทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดจากการร่วมทุนของโจทก์โดยมีข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง การจ่ายเงินดังกล่าวจึงมิได้มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.61/2539 และไม่มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคอันจะนำมาถือเป็นมูลค่าต้นทุน จึงไม่อาจนำมาถือเป็นต้นทุนของโครงการในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10778/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้ยังมิได้ใช้สิทธิซื้อหุ้น
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ช. ที่โจทก์ได้รับมีราคาเสนอขายหน่วยละ 0 บาท มีสิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ราคาการใช้สิทธิ 4.50 บาทต่อหน่วย ในเดือนที่ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ราคาปิดเฉลี่ยของหุ้นสามัญของบริษัท ช. ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 16.63 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นทางให้ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญนี้ได้รับประโยชน์แล้ว ใบสำคัญแสดงสิทธินี้ยังมีอีกสถานะหนึ่งคือเป็นหลักทรัพย์ที่บุคคลนำมาซื้อขายได้โดยตรง และไม่มีข้อจำกัดการโอน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่โจทก์ได้รับจึงอาจคำนวณได้เป็นเงิน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10774/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม, การประเมินภาษีเกินกำหนด, และค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร
ในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ การประเมิน ย่อมเป็นอันยุติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (1) และมาตรา 8
แบบแจ้งการประเมินอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม มีข้อความระบุเกี่ยวกับใบขนสินค้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มที่อ้างถึง ชื่อยานพาหนะ วันนำเข้า และเหตุให้ค่าภาษีอากรขาด โดยมีรายละเอียดจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ ภาษีอากรที่ชำระไว้แล้ว ภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม จึงเห็นได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์สำแดงประเภทพิกัดผิดพลาดจนเป็นเหตุที่ทำให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องหรือชำระภาษีอากรขาดไป มีการอ้างอิงข้อกฎหมายที่ใช้ในการประเมินตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และ พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ทั้งยังได้แจ้งพิกัดอันเป็นข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตามที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าถูกต้องให้โจทก์ทราบแล้วด้วย โจทก์เคยถูกจับกุมเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าแผ่นฟิล์มและขอระงับคดีโดยยินยอมชำระค่าปรับและค่าภาษีที่ขาดมาก่อน ประกอบกับคำอุทธรณ์ของโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินโดยละเอียด แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทราบและเข้าใจเหตุผลในการประเมิน สำหรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์มีข้อความตามเหตุผลที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ ประกอบกับโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โดยโต้แย้งข้อเท็จจริงข้อกฎหมายไว้อย่างละเอียดตรงตามประเด็นและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ถือได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ระบุเหตุผลอันประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมาย ข้อพิจารณาในการใช้ดุลพินิจในการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยครบถ้วนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 แล้ว
โจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าเลขที่ 0106 - 0028 - 4188 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2538 สินค้าตามใบขนสินค้าเลขที่ 0106 - 0038 - 5029 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2538 และสินค้าตามใบขนสินค้าเลขที่ 0106 - 0058 - 3313 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2538 ซึ่งนับถึงวันที่โจทก์ได้รับแบบแจ้งการประเมินในวันที่ 1 มิถุนายน 2548 เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของจำเลยในส่วนอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าทั้งสามฉบับจึงขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าในส่วนนี้รวม 117 ฉบับ ซึ่งแต่ละข้อหาตามใบขนสินค้าแต่ละฉบับไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จะฟ้องแต่ละข้อหาแยกเป็นรายคดีก็ได้แต่เพื่อความสะดวกโจทก์ได้ฟ้องรวมกันมา แต่ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้เป็นรายข้อหา
แบบแจ้งการประเมินอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม มีข้อความระบุเกี่ยวกับใบขนสินค้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มที่อ้างถึง ชื่อยานพาหนะ วันนำเข้า และเหตุให้ค่าภาษีอากรขาด โดยมีรายละเอียดจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ ภาษีอากรที่ชำระไว้แล้ว ภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม จึงเห็นได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์สำแดงประเภทพิกัดผิดพลาดจนเป็นเหตุที่ทำให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องหรือชำระภาษีอากรขาดไป มีการอ้างอิงข้อกฎหมายที่ใช้ในการประเมินตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และ พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ทั้งยังได้แจ้งพิกัดอันเป็นข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตามที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าถูกต้องให้โจทก์ทราบแล้วด้วย โจทก์เคยถูกจับกุมเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าแผ่นฟิล์มและขอระงับคดีโดยยินยอมชำระค่าปรับและค่าภาษีที่ขาดมาก่อน ประกอบกับคำอุทธรณ์ของโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินโดยละเอียด แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทราบและเข้าใจเหตุผลในการประเมิน สำหรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์มีข้อความตามเหตุผลที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ ประกอบกับโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โดยโต้แย้งข้อเท็จจริงข้อกฎหมายไว้อย่างละเอียดตรงตามประเด็นและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ถือได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ระบุเหตุผลอันประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมาย ข้อพิจารณาในการใช้ดุลพินิจในการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยครบถ้วนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 แล้ว
โจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าเลขที่ 0106 - 0028 - 4188 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2538 สินค้าตามใบขนสินค้าเลขที่ 0106 - 0038 - 5029 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2538 และสินค้าตามใบขนสินค้าเลขที่ 0106 - 0058 - 3313 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2538 ซึ่งนับถึงวันที่โจทก์ได้รับแบบแจ้งการประเมินในวันที่ 1 มิถุนายน 2548 เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของจำเลยในส่วนอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าทั้งสามฉบับจึงขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าในส่วนนี้รวม 117 ฉบับ ซึ่งแต่ละข้อหาตามใบขนสินค้าแต่ละฉบับไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จะฟ้องแต่ละข้อหาแยกเป็นรายคดีก็ได้แต่เพื่อความสะดวกโจทก์ได้ฟ้องรวมกันมา แต่ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้เป็นรายข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8482/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีผู้ซื้อชำระภาษีแทนผู้ขายตามสัญญาซื้อขายจากการบังคับคดี
ป.รัษฎากร มาตรา 91/7 และมาตรา 91/11 เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเท่านั้น มิอาจตีความขยายรวมไปถึงผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้ที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีแทนผู้มีหน้าที่เสียภาษีไปด้วย โจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ท. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ตามข้อสัญญาท้ายประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีระบุให้ผู้ซื้อต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนและค่าภาษีต่าง ๆ จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลรัษฎากร และในหนังสือขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อระบุให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าภาษีต่าง ๆ จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรจากผู้ซื้อ โดยโจทก์และจำเลยต่างนำสืบรับกันว่า โจทก์เป็นผู้ชำระเงินค่าภาษีตามข้อสัญญาท้ายประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อในช่วงเวลาที่โจทก์จดทะเบียนรับโอนที่ดินทั้ง 21 แปลง อยู่ภายใต้บังคับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 488) พ.ศ.2552 ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ตามความใน ป.รัษฎากร มาตรา 91/6 (3) ลงเหลืออัตราร้อยละ 0.11 ซึ่งเป็นอัตราที่รวมภาษีธุรกิจเฉพาะในส่วนที่เป็นรายได้ของท้องถิ่น ท. จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในส่วนที่กฎหมายกำหนดให้ลดอัตราลงและจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดเงินค่าภาษีในส่วนที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าว การฟ้องขอคืนค่าภาษีจากจำเลยในคดีนี้จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 91/11 แห่ง ป.รัษฎากร และมิได้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 27 ตรี ซึ่งเป็นเรื่องการขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเกินกว่าที่ควรต้องเสียหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8310/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า: ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อวางหลักประกันฯ ไม่ใช่เมื่อชำระภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78/2 ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่วางหลักประกันโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไว้เป็นพิเศษ ความรับผิดของโจทก์สำหรับสินค้าเครื่องจักรที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้นำเข้าที่วางหลักประกันอากรขาเข้าอื่น กล่าวคือ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้เกิดขึ้นเมื่อโจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเวลาที่โจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า โจทก์คงนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรครบถ้วนในกำหนดเวลาตามมาตรา 78/2 โจทก์จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) และรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานสรรพากร และการประเมินภาษีตามมาตรา 88/4
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๑๖ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังย่อมมีอำนาจกำหนดท้องที่รับผิดชอบแก่เจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งด้วยได้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพของจำเลย เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป สังกัดกรมสรรพากร เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๑๖ (นอกจากที่ระบุไว้ใน (๒) (๓) และ (๔)) ในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตามข้อ ๒ (๑) ของประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ ๓๙ ) ดังกล่าว ป. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี ๖ สำนักตรวจสอบภาษีกลาง จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามฟ้อง แม้สรรพากรจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ก็หามีผลกระทบกระเทือนเป็นเหตุให้การตรวจสอบและประเมินภาษีของ ป. ผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวเป็นการไม่ชอบไม่
การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๔๙ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรที่จะกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นนั้น เป็นกรณีเจ้าพนักงานประเมินหาผลต่างระหว่างมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันต้นปี เปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นปีของปีภาษีนั้น ผลที่หาได้คือทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นให้นำมาบวกกับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ แล้วหักด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี ผลลัพธ์เป็นเงินได้สุทธินำไปคำนวณกับอัตราภาษีก็จะเป็นภาษีที่ต้องเสีย และการประเมินตามมาตรา ๔๙ เป็นการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนการที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา ๘๘/๔ เป็นวิธีการตรวจสอบไต่สวนภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีขายส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าและไม่ได้นำรายรับนี้ไปรวมเป็นฐานภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีพิพาท เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนที่โจทก์ขายสินค้าโดยไม่ได้ออกใบกำกับภาษี อันเป็นวิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๘ และ ๘๘/๒ ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยวิธีพิเศษตามมาตรา ๔๙
การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๔๙ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรที่จะกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นนั้น เป็นกรณีเจ้าพนักงานประเมินหาผลต่างระหว่างมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันต้นปี เปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นปีของปีภาษีนั้น ผลที่หาได้คือทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นให้นำมาบวกกับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ แล้วหักด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี ผลลัพธ์เป็นเงินได้สุทธินำไปคำนวณกับอัตราภาษีก็จะเป็นภาษีที่ต้องเสีย และการประเมินตามมาตรา ๔๙ เป็นการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนการที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา ๘๘/๔ เป็นวิธีการตรวจสอบไต่สวนภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีขายส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าและไม่ได้นำรายรับนี้ไปรวมเป็นฐานภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีพิพาท เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนที่โจทก์ขายสินค้าโดยไม่ได้ออกใบกำกับภาษี อันเป็นวิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๘ และ ๘๘/๒ ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยวิธีพิเศษตามมาตรา ๔๙
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8305/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เป็นทรัพย์สินที่คำนวณเป็นเงินได้ การตีราคาโดยเทียบเคียงราคาหุ้นสามัญสมเหตุผล
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเป็นทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินได้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 39 ส่วนการที่จะคิดคำนวณเป็นเงินได้จำนวนเท่าใดเป็นอีกปัญหาหนึ่ง มิใช่ว่าเมื่อไม่มีราคาซื้อขายใน ตลท. ที่จะนำมาใช้เทียบเคียงแล้ว จะต้องถือว่าใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นคิดคำนวณเป็นเงินไม่ได้
ประโยชน์ที่ผู้ใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นดังกล่าวจะได้รับตามปกติย่อมขึ้นอยู่กับส่วนต่างของราคาหุ้นสามัญใน ตลท. หักลบด้วยจำนวนเงินที่จะต้องชำระในการใช้สิทธิซื้อหุ้น ดังนั้น การนำราคาหุ้นสามัญมาเทียบเคียงเพื่อหาราคาใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นจึงเป็นวิธีการประมาณราคาที่สมเหตุผล
เงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับจริง ทั้งนี้เงินได้พึงประเมินตามราคาใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นที่โจทก์ได้รับเป็นเงินได้ที่ได้รับไว้แล้วก่อนที่จะนำใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นดังกล่าวออกขายใน ตลท. ย่อมไม่ใช่เป็นเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์จากการขายหลักทรัพย์ใน ตลท. ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 42 (17) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 126 พ.ศ.2509 ข้อ 2 (23) แต่อย่างใด
ประโยชน์ที่ผู้ใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นดังกล่าวจะได้รับตามปกติย่อมขึ้นอยู่กับส่วนต่างของราคาหุ้นสามัญใน ตลท. หักลบด้วยจำนวนเงินที่จะต้องชำระในการใช้สิทธิซื้อหุ้น ดังนั้น การนำราคาหุ้นสามัญมาเทียบเคียงเพื่อหาราคาใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นจึงเป็นวิธีการประมาณราคาที่สมเหตุผล
เงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับจริง ทั้งนี้เงินได้พึงประเมินตามราคาใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นที่โจทก์ได้รับเป็นเงินได้ที่ได้รับไว้แล้วก่อนที่จะนำใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นดังกล่าวออกขายใน ตลท. ย่อมไม่ใช่เป็นเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์จากการขายหลักทรัพย์ใน ตลท. ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 42 (17) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 126 พ.ศ.2509 ข้อ 2 (23) แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8302/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องพิจารณาขนาดทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะ การใช้เกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกันถือว่าไม่ถูกต้อง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีประจำปีภาษี 2552 ที่พิพาท เท่ากับปีภาษี 2551 ซึ่งเป็นปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว แต่ค่ารายปีของทรัพย์สินแต่ละรายอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้แล้วแต่ข้อเท็จจริงของแต่ละปี ทั้งนี้การพิจารณาเพิ่มหรือลดค่ารายปีต้องมีเหตุผลและต้องคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนพิพาทครั้งแรกเมื่อปีภาษี 2548 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ตามอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางที่จำเลยกำหนดในบันทึกข้อความที่ กท 7000/2912 ซึ่งโรงเรือนของโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ต่อมาจำเลยมีบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 จัดกลุ่มตามพื้นที่ที่ตั้งเขตใหม่ ทำให้โรงเรือนของโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 และมีอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางต่ำลง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เท่ากับค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วและนำไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 455/1-2 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 3 ซึ่งมีความกว้างกว่าถนนเจริญราษฎร์ที่โรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ อีกทั้งมีราคาประเมินที่ดินที่สูงกว่า และนำไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 3609/9 ซึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันกับโจทก์ โดยไม่นำไปเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 358/1 และโรงเรือนเลขที่ 299/10 ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันกับโจทก์ และเจ้าพนักงานของจำเลยประเมินค่ารายปีโรงเรือนทั้งสองแห่งดังกล่าวโดยใช้อัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางตามบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 อันแสดงให้เห็นว่าการกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยสำหรับอาคารลักษณะพิเศษในเขตเดียวกันใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ทำให้โจทก์ต้องรับภาระภาษีมากกว่าโรงเรือนรายอื่นที่มีลักษณะทรัพย์สินคล้ายคลึงกับโจทก์ที่ตั้งอยู่ในเขตเดียวกัน อันก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของผู้เสียภาษี การกำหนด ค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยสำหรับโรงเรือนของโจทก์จึงยังไม่เหมาะสมและไม่มีเหตุผลเพียงพอ กรณีจึงมีพฤติการณ์และเหตุผลอันสมควรให้ประเมินค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์โดยใช้อัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางตามบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 ซึ่งเป็นคุณแก่โจทก์มากกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8301/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้ากรณีวางหลักประกันและการชำระภาษีล่าช้า
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78/2 ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในกรณีนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะ ความรับผิดของโจทก์สำหรับสินค้าเครื่องจักรที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้นำเข้าที่วางหลักประกันอากรขาเข้าอื่น กล่าวคือ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้เกิดขึ้นเมื่อโจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า แม้โจทก์จะนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมินก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรครบถ้วนในกำหนดเวลาตามมาตรา 78/2 โจทก์จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และรับผิดชำระเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้รับการยกเว้นอากร ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อวางหลักประกัน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78/2 ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในกรณีนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเป็นกรณีพิเศษ ความรับผิดของโจทก์สำหรับสินค้าเครื่องจักรที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้นำเข้าที่วางหลักประกันอากรขาเข้าอื่น กล่าวคือ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้เกิดขึ้นเมื่อโจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า แม้ขณะโจทก์นำเข้าสินค้า เครื่องจักรบางรายการยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยโจทก์วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันการชำระภาษีอากรเพื่อโจทก์จะได้นำสินค้าพิพาทออกจากอารักขาของกรมศุลกากรและต่อมาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าบางส่วนและบางส่วนให้ชำระอากร หลังจากนั้นโจทก์นำเงินไปชำระค่าภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในเวลาที่โจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรครบถ้วนในกำหนดเวลาตามมาตรา 78/2 อันจะเป็นเหตุทำให้ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลย