พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยปรับปรุงได้ตามสัญญา และภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันในหนี้ที่เกิดจากสินสมรส
หนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาจำนองได้ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนดและระบุด้วยว่าจำเลยผู้กู้และผู้จำนองตกลงให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุง อัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาต ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ และถือว่าจำเลยได้ยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้ว และตามสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินระบุว่าหากภายหลังวันทำสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้จำเลยยินยอมให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ดังนั้นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 18 ต่อปีเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่กำหนดให้โจทก์มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยจะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ที่ศาลจะลดลงได้ตามมาตรา 383 การที่โจทก์ปรับดอกเบี้ยตามข้อตกลงขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เป็นแต่เพียงวิธีการหนึ่งในการเรียกเอาชำระหนี้ทั้งหมดจากจำเลยเท่านั้นไม่ทำให้สภาพของดอกเบี้ยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีอยู่แต่เดิมต้องแปรเปลี่ยนเป็นเบี้ยปรับไปไม่ จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินที่จำนองมาในระหว่างที่จำเลยที่ 1สมรสกับจำเลยที่ 3 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) และเมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ให้ความยินยอม หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490(2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9936/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินและบ้านที่ซื้อช่วงแต่งงานเป็นสินสมรส แม้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกให้บุตรก็ไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียน
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียวตั้งแต่ซื้อมาจาก ท. ส่วนผู้ร้องมาลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยในภายหลังในฐานะคู่สมรส แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ยิ่งกว่านี้ปรากฏตามทะเบียนสมรสและสารบาญ จดทะเบียนท้ายสำเนาโฉนดที่ดินอันเป็น เอกสารมหาชนเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ก็ปรากฏว่าจำเลยซื้อทรัพย์พิพาทมาจาก ท. เป็นช่วงเวลาที่จำเลยและผู้ร้องยังเป็นสามีภริยากันอยู่ ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อหย่ากันตามคำพิพากษาต้องแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยและผู้ร้องมีอยู่ ในวันฟ้องหย่าคนละส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532(ข),1533 ส่วนบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทย่อมมีกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านที่เป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทด้วย แม้จำเลยกับผู้ร้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยกที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทในส่วนของจำเลยให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ก็มิได้มีการจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การยกให้จึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299ทรัพย์พิพาทส่วนที่ยกให้บุตรยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ประกอบกับการที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่มีการยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ต้องเป็นกรณีที่กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดอยู่ด้วย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมีก่อนสมรส ไม่เป็นสินสมรส แม้มีการยื่นขอสิทธิประโยชน์ที่ดินภายหลัง
โจทก์มีที่ดินอยู่ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2523 การที่โจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและได้สิทธิในการขอออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์สำหรับที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 8และ 11 ก็ดี และต่อมาโจทก์ได้ขอออก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินดังกล่าวตาม ป.ที่ดินก็ดี เป็นเพียงขั้นตอนที่โจทก์จะได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินดังกล่าวเท่านั้น ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีเหนือที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ต้น เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่โจทก์มีมาก่อนที่จะอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับจำเลย จึงมิใช่ทรัพย์ที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1) ไม่เป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินก่อนสมรสไม่เป็นสินสมรส แม้จะมีการดำเนินการทางกฎหมายระหว่างเป็นสมาชิกนิคม
โจทก์มีที่ดินอยู่ตั้งแต่วันที่27มีนาคม2523การที่โจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและได้สิทธิในการขอออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์สำหรับที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา8และ11ก็ดีและต่อมาโจทก์ได้ขอออกน.ส.3ก.สำหรับที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ดีเป็นเพียงขั้นตอนที่โจทก์จะได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินดังกล่าวเท่านั้นไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีเหนือที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ต้นเมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่โจทก์มีมาก่อนที่จะอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับจำเลยจึงมิใช่ทรัพย์ที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474(1)ไม่เป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เป็นสินสมรสและการละเมิดสิทธิ
แม้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 33ซึ่งใช้บังคับอยู่ขณะเกิดข้อพิพาทจะได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้า CLOY เครื่องหมายการค้าตราหัวช้าง และเครื่อง-หมายการค้าตราหญิงกระโดดเชือก แล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อสามีโจทก์เป็นผู้-จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภริยากันเช่นนี้ เครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะเป็นทรัพย์สินที่สามีโจทก์กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสทั้งสามีโจทก์และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าทั้งสามลักษณะดังกล่าวแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสามในทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าก็ตาม และแม้ต่อมาภายหลังจะได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลง การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะไปแสดงให้ปรากฏที่ถุงกระดาษที่จำเลยใช้ใส่สินค้าที่ขายให้แก่ลูกค้าของตนในระหว่างที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทร่วมกับสามีโจทก์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสามและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
ตามปกติโจทก์ก็ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง อย่างไรก็ดี เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงให้สาธารณชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดสภาพ และคุณภาพของสินค้า ย่อมเป็นการละเมิดและทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลชอบที่จะกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามควร
ตามปกติโจทก์ก็ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง อย่างไรก็ดี เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงให้สาธารณชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดสภาพ และคุณภาพของสินค้า ย่อมเป็นการละเมิดและทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลชอบที่จะกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินระหว่างการล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้เหนือการโอนสินสมรสหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาระหว่างสมรสของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ จึงเป็นสินสมรส การที่ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้โดยมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร่วมกัน การที่ผู้คัดค้านที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วย เมื่อการโอนได้กระทำขึ้นภายหลังจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกอยู่แก่ผู้ร้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 24 นิติกรรมการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้จึงฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ผู้ร้องมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 หรือไม่เพราะศาลมิได้เพิกถอนการโอนตามมาตราดังกล่าว
คำว่าการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 นั้น หมายถึงการโอนหรือกระทำใด ๆ ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หาใช่การโอนหรือการกระทำใด ๆ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่
คำว่าการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 นั้น หมายถึงการโอนหรือกระทำใด ๆ ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หาใช่การโอนหรือการกระทำใด ๆ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากเงินบำนาญ การซื้อที่ดินและปลูกสร้างบ้านโดยเงินบำนาญถือเป็นสินสมรส การโอนโดยไม่สุจริตและไม่ได้รับความยินยอม
เงินบำนาญเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้ที่พ้นจากราชการแล้วตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายยังมีชีวิตอยู่จึงเป็นการได้เงินมาในระหว่างสมรส ย่อมถือว่าเงินบำนาญนั้นเป็นสินสมรส เมื่อนำเงินนั้นมาซื้อที่ดินและต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินในระหว่างสมรส ที่ดินและบ้านจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมบ้านสินสมรสให้จำเลยที่ 2โดยโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสไม่ได้ให้ความยินยอม ราคาที่ขายเป็นราคาถูกมาก และตามพฤติการณ์จำเลยที่ 2 ต้องทราบว่าจำเลยที่ 1กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินพร้อมบ้านโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำนาญระหว่างสมรสเป็นสินสมรส ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อด้วยเงินบำนาญจึงเป็นสินสมรส
เงินบำนาญเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้ที่พ้นจากราชการแล้วตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายยังมีชีวิตอยู่จึงเป็นการได้เงินมาในระหว่างสมรสย่อมถือว่าเงินบำนาญนั้นเป็นสินสมรส การที่จำเลยที่ 1 นำเงินบำนาญมาซื้อที่ดิน และต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินในระหว่างสมรสเช่นนี้ที่ดินและบ้านจึงเป็นสินสมรสตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1474(1)ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หาใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ได้มาระหว่างสมรส และการจัดการสินสมรส
โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุว่าโจทก์จำเลยได้ร่วมกันซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเมื่อวันที่อะไร ประจำงวดใด และได้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลขณะที่โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย และอ้างเหตุจำเป็นในการที่โจทก์ขอเป็นผู้จัดการเงินรางวัลที่จำเลยถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลแต่ผู้เดียวเอาไว้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ส่วนการที่โจทก์จำเลยจะซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ไหนจากใคร เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และจำเลยเองก็เข้าใจข้อหาโจทก์ดี สามารถต่อสู้คดีโจทก์ได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ภรรยาเดิมของจำเลยจะฟ้องเพิกถอนการหย่า และศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่าแล้วก็ตาม แต่เป็นการทำภายหลังจากที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1496 ประกอบด้วยมาตรา 1452 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
จำเลยใช้เงินของจำเลยซื้อสลากกินแบ่งฯก่อนสมรสกับโจทก์สลากกินแบ่งฯออกรางวัลหลังจากที่โจทก์จำเลยสมรสกันแล้ว และถูกรางวัล เงินรางวัลที่จำเลยได้รับมาจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างสมรสถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1474 (1)
ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1485บัญญัติว่าสามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาก่อนสมรสกันไว้ เงินรางวัลที่เหลือฝากในธนาคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินสมรส โจทก์จำเลยย่อมเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันอยู่แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ที่โจทก์จะเป็นผู้จัดการเงินรางวัลดังกล่าวเพียงผู้เดียวแต่อย่างใด
แม้ภรรยาเดิมของจำเลยจะฟ้องเพิกถอนการหย่า และศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่าแล้วก็ตาม แต่เป็นการทำภายหลังจากที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1496 ประกอบด้วยมาตรา 1452 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
จำเลยใช้เงินของจำเลยซื้อสลากกินแบ่งฯก่อนสมรสกับโจทก์สลากกินแบ่งฯออกรางวัลหลังจากที่โจทก์จำเลยสมรสกันแล้ว และถูกรางวัล เงินรางวัลที่จำเลยได้รับมาจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างสมรสถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1474 (1)
ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1485บัญญัติว่าสามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาก่อนสมรสกันไว้ เงินรางวัลที่เหลือฝากในธนาคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินสมรส โจทก์จำเลยย่อมเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันอยู่แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ที่โจทก์จะเป็นผู้จัดการเงินรางวัลดังกล่าวเพียงผู้เดียวแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: ที่ดินซื้อหลังแต่งงาน แม้ชำระเงินส่วนตัวก่อน แต่ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินและบ้านเป็นอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อขายกับผู้ขาย ทรัพย์สินดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ร้องต่อเมื่อผู้ร้องได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ขายแล้ว เมื่อผู้ร้องได้ชำระเงินส่วนใหญ่และจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทจากผู้ขายภายหลังที่ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว ต้องถือว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1)