พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3321/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นอำนาจในการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 135(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจที่จะจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยต่อไป รวมตลอดทั้งไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการจำนอง ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,114,115 ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องขอถอนฎีกาของผู้รับโอนและพิจารณาฎีกาของผู้รับโอนและฎีกาของผู้รับจำนองต่อไป ให้จำหน่ายคดีเสีย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอก
ผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจาก อ. ผู้จัดการมรดกของ ส. ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จัดการทรัพย์มรดก ของ ส.โดยขณะรับโอนผู้คัดค้านที่1ทราบว่าส. มีหนี้สินบุคคล หลายราย และ ส. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินพิพาท แสดงว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ทราบถึงสภาพการมีหนี้สินพ้นตัวของกองมรดกของ ส. เป็นการรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริต ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งรับโอนและรับจำนองที่ดินพิพาทภายหลังจากมี การฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายดังนั้น แม้ทำโดยสุจริต มีค่าตอบแทนและเป็นบุคคลภายนอกก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การคุ้มครองเจ้าหนี้และผู้รับโอนสุจริต
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น มีความหมายว่า การโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบแต่กรณีการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน หากจะถือว่าการโอนของจำเลยเป็นการให้เปรียบแก่ผู้รับโอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยต้องเสียหาย ไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอน วัตถุประสงค์ของมาตรา 114และ 115 ยังคงคุ้มครองผู้สุจริตและมีค่าตอบแทนเช่นเดียวกันต่างกันเพียงว่าถ้า โอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและจำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิม คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวเป็นการพอเพียงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนเสียได้ แต่ถ้า เป็นการโอนไปภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยโอนไปยังผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิม ต้องอาศัยความไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนของผู้รับโอนด้วยจึงเพิกถอนได้ตามมาตรา 114 เช่นกันจะใช้มาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนแก่ผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนแล้วไม่ได้ พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 113 เป็นเรื่องลูกหนี้ทำให้ทรัพย์สินของตนลดลงเพื่อให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ โดยผู้รับโอนไม่จำต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้โอนมาก่อน แต่การจะเพิกถอนได้ต้องปรากฏว่าในขณะทำการโอนนั้นผู้รับโอนได้รู้เท่าถึงการกระทำของลูกหนี้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาว่าเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมหรือไม่ และผู้รับโอนสุจริตหรือไม่
พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 115 ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนได้ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นนั้น มีความหมายว่าการโอนทรัพย์สินต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วและการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้รับชำระหนี้หรือไม่ได้รับชำระหนี้เต็ม จำนวนจากจำเลยเพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยนำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบเทียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ เพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้โดยเฉลี่ยจากทรัพย์ที่โอนไปกฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน เมื่อผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใด จะนำมาตรานี้มาเพิกถอนการโอนรายนี้ไม่ได้และเมื่อผู้รับโอนได้รับโอนมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 114 ได้เช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนภายใน 3 ปี & บุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายในการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และในชั้นพิจารณาก็มิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งมิได้มาศาลและนำสืบให้ศาลเห็นว่าการโอนดังกล่าวเป็นการโอนโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ตัวได้ว่า การโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ซึ่งได้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทดังกล่าว จากผู้คัดค้านที่ 1 หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม ขอให้ล้มละลายแล้วแม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 116 เพราะมิได้เป็นผู้รับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลาย การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้โอนที่พิพาทนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ล้มละลายต่อเนื่องกันมาอีกทอดหนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จะได้รับโอนโดยสุจริต หรือมีค่าตอบแทนก็ตามย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลา 14 วัน หากเกินถือเป็นหนี้เด็ดขาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านหนังสือยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกินกำหนดสิบสี่วันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 วรรคสาม จึงถือว่าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันไปเป็นหนี้เด็ดขาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ค่าภาษีของลูกหนี้ล้มละลายที่กระทำโดยไม่สุจริต และการคืนเงินให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่กรมสรรพากรผู้คัดค้านรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้แล้วได้ยอมรับชำระหนี้ค่าภาษีและอากรแสตมป์ของบริษัทลูกหนี้โดยการผ่อนชำระ จึงเป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริต เมื่อการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการ ขอให้ล้มละลายศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้การตกลงชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้อจำกัดอำนาจศาลที่จะสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวไม่
เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้าน ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้คัดค้านจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้คัดค้านคืนเงินดังกล่าวตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
การที่ผู้คัดค้านต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอน ซึ่งเป็นไปโดยผลของคำพิพากษากรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.
เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้าน ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้คัดค้านจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้คัดค้านคืนเงินดังกล่าวตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
การที่ผู้คัดค้านต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอน ซึ่งเป็นไปโดยผลของคำพิพากษากรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลาย และการคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ลูกหนี้ชำระค่าภาษีและอากรแสตมป์ตามข้อตกลงผ่อนผันของกรมสรรพากรในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยกรมสรรพากรรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้นั้น เป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริต แม้การตกลงชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
เมื่อศาลสั่งเพิกถอน ก็เท่ากับการรับชำระหนี้ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้กรมสรรพากรต้องคืนเงินที่รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ แต่เป็นการคืนโดยผลของคำพิพากษา กรมสรรพากรจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)
เมื่อศาลสั่งเพิกถอน ก็เท่ากับการรับชำระหนี้ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้กรมสรรพากรต้องคืนเงินที่รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ แต่เป็นการคืนโดยผลของคำพิพากษา กรมสรรพากรจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยไม่สุจริตก่อนล้มละลาย ศาลมีอำนาจเพิกถอนและสั่งคืนเงินได้
การที่ กรมสรรพากร ผู้คัดค้านรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้แล้วได้ยอมรับชำระหนี้ค่าภาษีและอากรแสตมป์ของบริษัทลูกหนี้โดยการผ่อนชำระ จึงเป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริตเมื่อการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาพ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้การตกลงชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้อจำกัดอำนาจศาลที่จะสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวไม่ เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้าน ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้คัดค้านจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้คัดค้านคืนเงินดังกล่าวตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ การที่ผู้คัดค้านต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอน ซึ่งเป็นไปโดยผลของคำพิพากษากรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4357/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ศาลพิจารณาความสุจริตและราคาซื้อขายที่แท้จริง
การโอนทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในระหว่าง 3 ปีก่อนล้มละลาย พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา114 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องแสดงให้ศาลพอใจว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านจึงจะต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมให้เพิกถอนการโอนได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องนำสืบแสดงความไม่สุจริตของผู้รับโอนเมื่อปรากฏว่า ส. บิดาผู้คัดค้านกับจำเลยผู้ล้มละลายได้ติดต่อการค้ากันมานานถึง 10 ปี และที่ดินทั้ง 4 โฉนดที่ขายให้แก่ผู้คัดค้านมีรายการจดทะเบียนติดจำนองมาตลอด ดังนี้ ส. และผู้คัดค้านย่อมอยู่ในฐานะรู้ดีว่าจำเลยเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัวอยู่แล้ว ฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านรับโอนไว้โดยสุจริตศาลมีอำนาจเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้