พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อล้มละลาย: การซื้อขายโดยใช้ชื่อผู้อื่นและการคุ้มครองผู้ซื้อสุจริต
การที่จำเลยและภริยาซื้อที่ดินพิพาทจากผู้มีชื่อ แล้วใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาหาใช่ของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยก็อยู่ในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จึงต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำเฉพาะส่วนของจำเลยเสียได้ และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ภายหลังที่มีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้จะฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ แต่อย่างใดไม่ ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งกลับมาเป็นของจำเลย โดยให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนดังกล่าว หากไม่สามารถโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ ผู้คัดค้านทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้เงินเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์พิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย และสิทธิของผู้ซื้อสุจริต
การที่จำเลยและภริยาซื้อที่ดินพิพาทจากผู้มีชื่อ แล้วใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาหาใช่ของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยก็อยู่ในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จึงต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำเฉพาะส่วนของจำเลยเสียได้และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ภายหลังที่มีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้จะฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ แต่อย่างใดไม่ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งกลับมาเป็นของจำเลย โดยให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนดังกล่าวหากไม่สามารถโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ผู้คัดค้านทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้เงินเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์พิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อล้มละลาย: สินสมรส, สิทธิของผู้สุจริต, และการชดใช้ราคาทรัพย์
การที่จำเลยและภริยาซื้อที่ดินพิพาทจากผู้มีชื่อ แล้วใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาหาใช่ของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยก็อยู่ในระยะเวลา 3ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จึงต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำเฉพาะส่วนของจำเลยเสียได้ และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ภายหลังที่มีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้จะฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ แต่อย่างใดไม่ ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งกลับมาเป็นของจำเลย โดยให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนดังกล่าว หากไม่สามารถโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ ผู้คัดค้านทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้เงินเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์พิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อยักย้ายทรัพย์สินก่อนล้มละลาย แม้มีสัญญาซื้อขายก็ฟังไม่ได้ว่าสุจริต
ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้านที่ 2 โดยผู้คัดค้านที่2 ได้วางมัดจำไว้และผู้คัดค้านที่ 1 ผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงฟ้องต่อศาลชั้นต้น และในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านที่ 2 ดังนี้ แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ก่อนก็มิได้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระทำโดยสุจริต เพราะพฤติการณ์ที่มีการดำเนินคดีโดยรีบร้อนและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยเร่งด่วน ย่อมแสดงถึงความไม่สุจริตเจตนาช่วยเหลือจำเลยในการยักย้ายทรัพย์สิน พยานหลักฐานของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการโอนที่พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114, 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อยักย้ายทรัพย์ก่อนล้มละลาย แม้มีการทำสัญญาซื้อขายและประนีประนอมยอมความ
ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้านที่ 2 โดยผู้คัดค้านที่ 2 ได้วางมัดจำไว้และผู้คัดค้านที่ 1 ผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงฟ้องต่อศาลชั้นต้น และในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านที่ 2 ดังนี้แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ก่อน ก็มิได้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระทำโดยสุจริต เพราะพฤติการณ์ที่มีการดำเนินคดีโดยรีบร้อนและทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยเร่งด่วน ย่อมแสดงถึงความไม่สุจริต เจตนาช่วยเหลือจำเลยในการยักย้ายทรัพย์สิน พยานหลักฐานของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการโอนที่พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114,116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย กรณีมีเจตนาช่วยเหลือลูกหนี้ยักย้ายทรัพย์สิน
ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้านที่ 2 โดยผู้คัดค้านที่2 ได้วางมัดจำไว้และผู้คัดค้านที่ 1 ผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงฟ้องต่อศาลชั้นต้น และในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านที่ 2ดังนี้ แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ก่อนก็มิได้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระทำโดยสุจริต เพราะพฤติการณ์ที่มีการดำเนินคดีโดยรีบร้อนและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยเร่งด่วน ย่อมแสดงถึงความไม่สุจริตเจตนาช่วยเหลือจำเลยในการยักย้ายทรัพย์สิน พยานหลักฐานของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการโอนที่พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114,116.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ใช้ อายุความ 10 ปี หากมิใช่การฉ้อฉล
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 114 มิใช่กรณีเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การโอนหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22, 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้าง มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วย และผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย)ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้(จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้างมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วยและผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย)เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังยกเลิกการล้มละลาย: ศาลขาดอำนาจเมื่อลูกหนี้พ้นสภาพ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งลูกหนี้ (จำเลย)โอนขายให้ผู้คัดค้าน ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและผู้ร้องฎีกา ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ (จำเลย) ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินแทนลูกหนี้ (จำเลย) ต่อไปลูกหนี้ (จำเลย) พ้นจากภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22,24 และ 114 ที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ต้องจำหน่ายคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียจากสารบบความ