คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 114

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ 115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: คดีปลดเปลื้องทุกข์ ไม่จำกัดทุนทรัพย์ อุทธรณ์ได้
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกการถอนโอนและการฉ้อฉลซึ่งผลของการที่ขอให้เพิกถอนมีแต่เพียงให้ทรัพย์กลับคืนมาเป็นของลูกหนี้ตามเดิมเท่านั้นหาได้มีการเรียกร้องทรัพย์หรือขอให้ได้รับประโยชน์เพื่มขึ้นอย่างไรไม่จึงถือว่าเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หาต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่
เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนค่าขึ้นศาลที่จะต้องเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านหากเห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เจ้าหนี้อ้างสุจริต หากรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
บริษัทลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้ชำระบัญชีจึงตกลงประนอมหนี้กับเจ้าหนี้บางรายที่เป็นผู้ทรงเช็คโดยขอชำระหนี้ 21.2% เพื่อให้คดีอาญาที่เจ้าหนี้ตามเช็คบางรายฟ้อง กรรมการบริษัทลูกหนี้เป็นอันระงับไป ดังนี้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คดังกล่าวรับชำระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้น โดยรู้ถึงภาระหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้รับชำระหนี้โดยสุจริตตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114
มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ระบุชัดแจ้งว่ามิได้ห้ามเฉพาะการโอนทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำใดๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย ดังนั้น การชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามความหมายแห่งมาตราดังกล่าว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ให้เจ้าหนี้คืนเงินที่รับไปและให้เสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินดังกล่าวนับแต่วันศาลสั่งเพิกถอนไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เจ้าหนี้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้กล่าวว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด ดังนี้ เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ไขเพิ่มความให้ครบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่ การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้นเป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110 กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจาก การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้วการบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแพ่งสำเร็จก่อนการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้น เป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจากการบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้ว การบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702-705/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การโอนราคาต่ำกว่าจริง, เจตนาเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง, และระยะเวลา 3 ปี
คำร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้จะบรรยายว่าจำเลยได้โอนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2501 อันเป็นระยะเวลาภายใน 3 ปี ก่อนถูกฟ้องล้มละลาย โดยมิได้ใช้คำว่า 'ก่อนล้มละลาย' แต่เมื่อได้บรรยายด้วยว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 18กุมภาพันธ์ 2502 ซึ่งเป็นวันที่การล้มละลายของจำเลยเริ่มต้น มีผลตามมาตรา 62 แล้ว ก็ถือได้ว่าการโอนที่ขอให้เพิกถอนคือการโอนที่ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนล้มละลายนั่นเอง คำร้องเช่นนี้ต้องด้วย มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 และ 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวให้ ส. มีข้อสัญญาให้ส. ชำระราคาเป็นงวด ๆ จนกว่าจะหมดใน 3 ปี ชำระหมดแล้วจึงจะโอนกัน หลังจากทำสัญญาได้เพียง 4 เดือนและอยู่ในระหว่าง3 เดือนก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยก็โอนที่ดินและตึกแถวให้ส. ทั้ง ๆ ที่ยังชำระราคาไม่ครบ และจำเลยก็รู้ดีว่าตนเป็นหนี้คนอื่นอีก มากและการโอนทรัพย์รายนี้ จะทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ดังนี้ย่อมถือว่า ส. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702-705/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การโอนราคาต่ำกว่าจริง หรือเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
คำร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้จะบรรยายว่า จำเลยได้โอนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2501 อันเป็นระยะเวลาภายใน 3 ปี ก่อนถูกฟ้องล้มละลายโดยมิได้ใช้คำว่า 'ก่อนล้มละลาย' แต่เมื่อได้บรรยายด้วยว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2502 ซึ่งเป็นวันที่การล้มละลายของจำเลยเริ่มต้นมีผลตามมาตรา 62 แล้ว ก็ถือได้ว่าการโอนที่ขอให้เพิกถอนคือการโอนที่ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนล้มละลายนั่นเอง คำร้องเช่นนี้ต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 และ 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวให้ ส. มีข้อสัญญาให้ส. ชำระราคาเป็นงวด ๆ จนกว่าจะหมดใน 3 ปี ชำระหมดแล้วจึงจะโอนกัน หลังจากทำสัญญาได้เพียง 4 เดือนและอยู่ในระหว่าง3 เดือนก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยก็โอนที่ดินและตึกแถวให้ ส. ทั้ง ๆ ที่ยังชำระราคาไม่ครบ และจำเลยก็รู้ดีว่าตนเป็นหนี้คนอื่นอีกมากและการโอนทรัพย์รายนี้ จะทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ดังนี้ย่อมถือว่า ส. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: สมบูรณ์แม้มีผู้รับโอนเพียงฝ่ายเดียว, มีค่าตอบแทน, และไม่ขัดต่อกฎหมาย
การโอนสิทธิเรียกร้องนั้น เพียงทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวก็สมบูรณ์หาจำต้องลงลายมือชื่อผู้รับโอนด้วยไม่ แต่การโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอน โดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ
การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานั้น ย่อมโอนกันได้ หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่ เพราะสิทธิที่โอนมีอยู่อย่างไรเท่าใด ผู้รับโอนก็รับโอนไปเพียงนั้นเท่านั้น
จำเลยโอนสิทธิที่จะได้รับค่าระวางเรือส่วนลดจากบริษัทเรือให้แก่ธนาคารผู้ร้อง เพื่อที่จำเลยจะได้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องต่อไปอีกตามข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ได้กระทำขึ้นหลังจากที่ผู้ร้องได้แสดงเจตนาจะปิดบัญชีไม่ยอมให้จำเลยเบิก เพราะจำเลยยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่ถึงหนึ่งล้านบาทเศษ และเกินยอดสูงสุดที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: สมบูรณ์ด้วยหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน, มีค่าตอบแทน, และไม่ขัดต่อกฎหมาย
การโอนสิทธิเรียกร้องนั้น เพียงทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวก็สมบูรณ์ หาจำต้องลงลายมือชื่อผู้รับโอนด้วยไม่ แต่การโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอน โดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ
การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานั้น ย่อมโอนกันได้ หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่ เพราะสิทธิที่โอนมีอยู่อย่างไรเท่าใด ผู้รับโอนก็รับโอนไปเพียงนั้นเท่านั้น
จำเลยโอนสิทธิที่จะได้รับค่าระวางเรือส่วนลดจากบริษัทเรือให้แก่ธนาคารผู้ร้อง เพื่อที่จำเลยจะได้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องต่อไปอีกตามข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ได้กระทำขึ้นหลังจากที่ผู้ร้องได้แสดงเจตนาจะปิดบัญชีไม่ยอมให้จำเลยเบิก เพราะจำเลยยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่ถึงหนึ่งล้านบาทเศษ และเกินยอดสูงสุดที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
of 16