คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 114

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: โมฆะแม้ผู้ซื้อสุจริตและชำระราคาแล้ว
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสเมื่อผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้ซึ่งเป็นภริยาโดยมิได้ตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นไว้ผู้คัดค้านที่1กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันการที่ผู้คัดค้านที่1โอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านที่2ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วยเมื่อการโอนได้กระทำขึ้นภายหลังวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22และ24การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ย่อมตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้ เมื่อการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในส่วนของลูกหนี้กระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดย่อมตกเป็นโมฆะไม่ว่าผู้คัดค้านที่2รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114หรือไม่ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การเพิกถอนสิทธิในส่วนของลูกหนี้
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114หมายถึงการโอนหรือการกระทำใดๆก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้การที่ผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้โดยมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสไว้ผู้คัดค้านที่1กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกันการที่ผู้คัดค้านที่1โอนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่2ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วยเมื่อได้โอนภายหลังวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดการโอนเฉพาะส่วนของลูกหนี้ย่อมตกเป็นโมฆะจึงหาจำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่2รับโอนทรัพย์สินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อล้มละลาย แม้ผู้ซื้อสุจริต แต่รู้ถึงหนี้สินของลูกหนี้ การคิดดอกเบี้ยเริ่มเมื่อศาลสั่งเพิกถอน
ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ติดจำนองอยู่แก่ผู้คัดค้านที่3ผู้คัดค้านที่1และที่2ซื้อทรัพย์พิพาทจากลูกหนี้โดยกู้เงินจากผู้คัดค้านที่3เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่3นำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่งแล้วลูกหนี้ได้นำเงินไปไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้คัดค้านที่1และที่2จากนั้นผู้คัดค้านที่1และที่2ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านที่3ในวันเดียวกันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองจากลูกหนี้มาเป็นผู้คัดค้านที่1และที่2ซึ่งแม้จะไม่เปลี่ยนตัวผู้จำนองสิทธิจำนองก็ย่อมติดไปกับตัวทรัพย์พิพาทอยู่แล้วทั้งจำนวนเงินจำนองที่เปลี่ยนไปก็ลดลงจากเดิมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเพิ่มขึ้นแก่ผู้คัดค้านที่3หรือทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้เสียหายแต่อย่างใดฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่3รับจำนองโดยสุจริตแม้ศาลจะเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1และที่2ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116 การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1และที่2ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเท่านั้นปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองติดตามทรัพย์สิน แม้มีการเปลี่ยนตัวผู้จำนอง และการเพิกถอนการโอนไม่กระทบสิทธิผู้รับจำนองสุจริต
ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ติดจำนองอยู่แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 1และที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากลูกหนี้โดยกู้เงินจากผู้คัดค้านที่ 3 เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่ 3 นำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่ง แล้วลูกหนี้ได้นำเงินไปไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จากนั้นผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านที่ 3 ในวันเดียวกัน มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองจากลูกหนี้มาเป็นผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ซึ่งแม้จะไม่เปลี่ยนตัวผู้จำนอง สิทธิจำนองก็ย่อมติดไปกับตัวทรัพย์พิพาทอยู่แล้ว ทั้งจำนวนเงินจำนองที่เปลี่ยนไปก็ลดลงจากเดิมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเพิ่มขึ้นแก่ผู้คัดค้านที่ 3 หรือทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้เสียหายแต่อย่างใด ฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองโดยสุจริต แม้ศาลจะเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 116
การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังคงถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเท่านั้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังการขอให้ล้มละลาย สิทธิผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดอกเบี้ยผิดนัด
ผู้คัดค้านที่3และที่4ซึ่งรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากผู้คัดค้านที่1จะอ้างว่าได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนต่อเมื่อได้รับโอนมาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา116เมื่อรับโอนมาภายหลังมีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้วไม่ว่าผู้คัดค้านที่3และที่4จะได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของจำเลยย่อมเป็นผลให้ทรัพย์สินดังกล่าวเฉพาะส่วนของจำเลยกลับคืนเป็นของจำเลยทันทีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่1ที่3และที่4ต้องชดใช้ราคาแทนในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนหากทรัพย์สินนั้นไม่สามารถโอนกลับคืนมาได้และหากไม่ชำระราคาต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในราคาที่ต้องใช้แทนนับแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินจากการล้มละลาย กรณีผู้รับโอนไม่สุจริต และการชดใช้ราคาแทน
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114จำเลยผู้ล้มละลายและผู้คัดค้านกลับคืนสู่ฐานะเดิมผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยแต่เนื่องจากผู้คัดค้านไม่อาจคืนที่ดินให้แก่จำเลยได้เพราะผู้คัดค้านได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกผู้สุจริตไปแล้วผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินที่ขายได้ให้แก่จำเลยโดยเต็มจำนวนเพราะเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินไว้โดยไม่สุจริตอันฝ่าฝืนต่อมาตรา114แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จะนำเงินที่ผู้คัดค้านไถ่ถอนจำนองที่ดินก่อนขายให้แก่บุคคลภายนอกมาหักออกจากเงินที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ราคาแทนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ผู้รับโอนต้องพิสูจน์ความสุจริตและค่าตอบแทน
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 นั้นเป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องนำสืบแสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ต้องเป็นค่าฤชาธรรมเนียมรวมทั้งค่าทนายความที่คู่ความฝ่ายชนะคดีได้เสียไปจริง ๆ ในการดำเนินคดี การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเข้าว่าความด้วยตนเองโดยมิได้แต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทน ผู้ร้องก็ไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุที่จะให้ผู้คัดค้านต้องชดใช้ค่าทนายความแทนผู้ร้อง
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 114 แล้ว มีผลให้จำเลยผู้โอนและผู้รับโอนผู้คัดค้านกลับคืนสู่ฐานะเดิม ผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลย แต่เนื่องจากผู้คัดค้านไม่อาจคืนที่ดินให้แก่จำเลยได้ เพราะผู้คัดค้านได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินให้แก่จำเลยโดยเต็มจำนวนตามราคาที่ดินเพราะเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินไว้โดยไม่สุจริต อันฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างล้มละลาย ผู้รับโอนต้องคืนเงินค่าขายหากรับโอนไม่สุจริต และไม่ชอบที่จะเรียกค่าทนาย
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่2เข้าว่าความด้วยตนเองโดยมิได้แต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนซึ่งไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความจึงไม่ชอบที่จะกำหนดให้ผู้คัดค้านชดใช้ค่าทนายความแทนผู้ร้อง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่2กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114ผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนแก่จำเลยที่2เมื่อผู้คัดค้านไม่อาจโอนคืนได้เพราะได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วในราคา1,900,000บาทผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่2เต็มจำนวนเพราะผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตไม่ชอบที่จะนำเงินที่ผู้คัดค้านไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทมาหักออกจากเงินที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ราคาแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีล้มละลาย: มติเจ้าหนี้อนุมัติการประนีประนอมยอมความกับผู้รับโอนทรัพย์สิน และการพิจารณาประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่าง จ.กับพวกผู้รับโอน และจำเลยผู้โอน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 114 แม้จะเป็นอำนาจของผู้ร้องและก่อนยื่นคำร้องขอต่อศาล ผู้ร้องได้สอบสวนข้อเท็จจริงเบี้องต้นได้ความว่าอยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนได้ก็ตาม แต่เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและตามมาตรา 114 หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ก็เพิกถอนการโอนไม่ได้ กรณีจึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่ การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินจำนวน1,200,000 บาท แทนการโอนที่ดินแก่กองทรัพย์สินของจำเลย เป็นการขอประนีประนอมยอมความ ซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 145 ประกอบด้วยมาตรา 41 การที่ผู้ร้องนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่สามเพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของ จ. หรือไม่เป็นการขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว และเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของจำเลยในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 32 ดังนี้ เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาล ซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องจะประนีประนอม-ยอมความกับ จ. จึงหาเป็นล่วงอำนาจของผู้ร้องไม่ แม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง 57 ราย แต่เมื่อวันนัดประชุมเจ้าหนี้มีเจ้าหนี้มาประชุม 15 รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ กรณีก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่
ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน 2,375,000 บาท และได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000 บาท แสดงว่า จ. รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน 1,200,000 บาท แล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีก โดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้ 4,500,000 บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดิน และค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้ เมื่อจ. รับโอนโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย อันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 36 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย: มติที่ประชุมเจ้าหนี้ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่าง จ.กับพวกผู้รับโอนและจำเลยผู้โอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114แม้จะเป็นอำนาจของผู้ร้องและก่อนยื่นคำร้องขอต่อศาลผู้ร้องได้สอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นได้ความว่าอยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนได้ก็ตามแต่เมื่อคดียังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและตามมาตรา114หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็เพิกถอนการโอนไม่ได้กรณีจึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินจำนวน1,200,000บาทแทนการโอนที่ดินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา145ประกอบด้วยมาตรา41การที่ผู้ร้องนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่สามเพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของ จ. หรือไม่เป็นการขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวและเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของจำเลยในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา32ดังนี้เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาลซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความกับ จ. จึงหาเป็น ล่วงอำนาจของผู้ร้องไม่แม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง57รายแต่เมื่อวันนัดประชุมเจ้าหนี้มีเจ้าหนี้มาประชุม15รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์กรณีก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่ ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน2,375,000บาทและได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000บาทแสดงว่า จ.รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน1,200,000บาทแล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีกโดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้4,400,000บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินและค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้เมื่อ จ.รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายอันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา36ได้
of 16