พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย แม้ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดสุจริต หากจำนองไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มี ชื่อ น. ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น.ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวน ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้อง ขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอน ไม่อาจสละได้ ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วยแม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทและผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: การถือครองกรรมสิทธิ์แทนและการรับจำนองโดยไม่สุจริต
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อน. ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น.โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้ ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วยแม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอเพิกถอนการจดทะเบียน
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 ขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1ย่อมเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้เท่านั้นดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมกลับสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับบทตามมาตรา 24 ไม่ใช่ปรับบทตามมาตรา 114,115 เพราะคำว่า"การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างเวลาสามปีหรือสามเดือนแล้วแต่กรณีก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือภายหลังนั้น"ตามมาตรา 114,115 หมายถึงการโอนหรือการกระทำที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่การโอนหรือการกระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อการโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นโมฆะผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ*พิพาทที่จะโอนขายต่อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนอันจะได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 116 หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินไว้แล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินได้ และเจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลโดยศาลไม่ต้องสั่งเจ้าพนักงานที่ดินอีก ไม่เกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย ผู้รับโอนต้องคืนเงินให้กองทรัพย์สิน หากการโอนไม่สุจริต
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 นั้นเป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องนำสืบแสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 1 ต่างเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ด้วยกัน จำเลยที่ 1 ติดต่อกู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านตั้งแต่ พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา จนถึงเดือนธันวาคม 2526จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้คัดค้าน 5,000,000 บาทโดยไม่มีหลักประกันแสดงว่าผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 1 ติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาตลอดเป็นเวลาหลายปี จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยขอหยุดทำการจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยอ้างว่าเริ่มประสบวิกฤติการณ์ทางภาวะการเงินมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2526 ซึ่งผู้คัดค้านน่าจะทราบดีถึงภาวะการเงินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่ผู้คัดค้าน2 ฉบับ ๆ แรกจำนวน 969,408 บาท ผู้คัดค้านได้รับเงินแล้ว ฉบับที่2 จำนวน 4,453,812 บาท ตั๋วถึงกำหนดใช้เงินวันที่ 22 ธันวาคม2527 แต่จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2526 เพื่อชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวก่อนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดชำระถึง 1 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้รับโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต และเป็นการโอนซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลาย ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนนั้นได้ ผู้คัดค้านต้องคืนเงินที่ได้รับจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 โดยให้ผู้คัดค้านหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นซึ่งผู้คัดค้านได้จ่ายไปเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนมาได้ ผู้คัดค้านออกเงินค่าใช้จ่ายก็เพื่อบังคับตามสัญญาเช่าซื้อตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนมา มิใช่เป็นการจัดการงานนอกสั่งสัญญาเช่าซื้อระบุแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ยอมออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ยอมชดใช้ดอกเบี้ยในส่วนค่าใช้จ่ายที่ผู้คัดค้านจ่ายไป ผู้คัดค้านจึงไม่อาจหักดอกเบี้ยในส่วนนี้จากจำนวนเงินที่ต้องชดใช้แก่ผู้ร้อง ส่วนดอกเบี้ยของเงินจำนวนที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ให้แก่ผู้ร้องนั้น ในวันยื่นคำร้องยังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านผิดนัดผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินก่อนล้มละลาย: การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ มิใช่การโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงการบังคับชำระหนี้
ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และ ส. มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนการโอนที่ดินดังกล่าว เป็นเพียงจดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 และ ส.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเท่านั้นหาใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิขอให้เพิกถอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินล้มละลาย: การจดทะเบียนชื่อไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์จริง
การใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์ของจำเลยที่ 1เป็นการใส่ชื่อไว้เฉย ๆ โดยไม่มีการซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ให้แก่กัน จำเลยที่ 2 ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์นั้นอยู่ การมีชื่อในทะเบียนรถยนต์มิใช่ข้อชี้ว่า ผู้มีชื่อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นหรือเป็นผู้ได้รับโอนรถยนต์มาเป็นของตนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้โอนรถยนต์ตามคำร้องให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 เพียงมีชื่อเป็นผู้รับโอน และผู้โอนในเอกสารแบบเรื่องราวขอโอนและรับโอนเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 แล้ว จึงไม่มีการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนหุ้นในคดีล้มละลาย พิจารณาความสุจริตและค่าตอบแทนของผู้รับโอน
เมื่อการโอนหุ้นพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายผู้คัดค้านที่ 1 จึงต้องมีภาระพิสูจน์ว่าได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลยโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 1 สนิทสนมกับจำเลยเป็นอย่างดี และได้ประกอบกิจการค้าอยู่ด้วยกัน 4-5 ปี ก่อนจำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายจำเลยได้ถูกฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คและถูกฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และในระหว่างระยะเวลานั้นผู้คัดค้านที่ 1 ก็ได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลย เมื่อผู้ร้องเรียกผู้คัดค้านที่ 1 มาสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องการรับโอนหุ้นพิพาท ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ยอมมา ส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 ส่วนการโอนหุ้นพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการโอนกันภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 116 การเพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำพิพากษา
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนขายที่ดิน: ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำสั่งศาล
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจร้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยแล้วผู้ร้องยังคงมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทอยู่ต่อไปหรือไม่ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหา เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลย จึงมีผลเท่ากับเป็นการยกเลิกการพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ไปในตัว อำนาจที่จะร้องขอให้เพิกถอนการโอน ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดลง ผู้ร้องจึง ไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทต่อไปได้