พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2536 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเข้าห้างหุ้นส่วนก่อนจดทะเบียน & เพิกถอนการลดทุนในคดีล้มละลาย
ผู้คัดค้านได้นำที่ดินและตึกแถวมาลงหุ้นตั้งแต่ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 1079 กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวจึงตกเป็นของลูกหนี้ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้น แม้หุ้นส่วนผู้จัดการจะมีหนังสือไปถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทว่าผู้คัดค้านจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกหนี้ที่ 1 เมื่อลูกหนี้เป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ไม่ทำให้ที่ดินและตึกแถวไม่ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1ไปได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 1030 ที่บัญญัติถึงความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายนั้น ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์ มิใช่เรื่องกรรมสิทธิ์
เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวได้ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้น การลดทุนโดยถอนหุ้นที่ลงหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวบางส่วนออกไปในขณะที่ลูกหนี้ที่ 1 กำลังประสบกับภาวะการขาดทุนซึ่งลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านทราบดี จึงเป็นการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนทรัพย์สินหรือยอมให้โอนทรัพย์สินไปในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 ล้มละลายโดยไม่สุจริต และไม่มีค่าตอบแทน เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา114
ดอกเบี้ยที่ศาลชั้นต้นคิดให้โดยนับตั้งแต่วันยื่นคำร้องยังไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนจึงถือว่ามีการผิดนัดอันจะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันนั้น
เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวได้ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้น การลดทุนโดยถอนหุ้นที่ลงหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวบางส่วนออกไปในขณะที่ลูกหนี้ที่ 1 กำลังประสบกับภาวะการขาดทุนซึ่งลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านทราบดี จึงเป็นการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนทรัพย์สินหรือยอมให้โอนทรัพย์สินไปในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 ล้มละลายโดยไม่สุจริต และไม่มีค่าตอบแทน เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา114
ดอกเบี้ยที่ศาลชั้นต้นคิดให้โดยนับตั้งแต่วันยื่นคำร้องยังไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนจึงถือว่ามีการผิดนัดอันจะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเข้าเป็นหุ้นก่อนจดทะเบียน และการเพิกถอนการโอนเมื่อล้มละลาย
ผู้คัดค้านได้นำที่ดินและตึกแถวมาลงหุ้นตั้งแต่ลูกหนี้(จำเลย) ที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1079 กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวจึงตกเป็นของลูกหนี้ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้น แม้หุ้นส่วนผู้จัดการจะมีหนังสือไปถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทว่าผู้คัดค้านจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกหนี้ที่ 1 เมื่อลูกหนี้เป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ไม่ทำให้ที่ดินและตึกแถวไม่ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ไปได้ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1030 ที่บัญญัติถึงความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายนั้น ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์ มิใช่เรื่องกรรมสิทธิ์ เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวได้ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่วันที่นำมาลงหุ้น การลดทุนโดยถอนหุ้นที่ลงหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวบางส่วนออกไปในขณะที่ลูกหนี้ที่ 1 กำลัง ประสบกับภาวะการขาดทุนซึ่งลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านทราบดี จึงเป็นการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนทรัพย์สินหรือยอมให้โอนทรัพย์สินไปในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 ล้มละลายโดยไม่สุจริต และไม่มีค่าตอบแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ดอกเบี้ยที่ศาลชั้นต้นคิดให้โดยนับตั้งแต่วันยื่นคำร้องยังไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนจึง ถือว่ามีการผิดนัดอันจะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดทุนโดยโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายถือเป็นการโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต ผู้ร้องมีสิทธิเพิกถอนได้
การที่ผู้คัดค้านทั้งห้าได้ตกลงนำที่ดินและตึกแภว มาลงหุ้นกันตั้งแต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งลูกหนี้ที่ 1ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลนั้น ถือว่าขณะนั้นลูกหนี้ที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1079 แล้ว เมื่อผู้คัดค้านทั้งห้านำที่ดินและตึกแถวมาลงหุ้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวจึงตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ผู้คัดค้านทั้งห้าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกหนี้ที่ 1 เมื่อลูกหนี้ที่ 1เป็นนิติบุคคลแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ที่ดินและตึกแถวไม่เป็นของลูกหนี้ที่ 1 ไปได้ ส่วนมาตรา 1030 ที่ว่าความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบ ให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์หาได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ไม่ ดังนั้น ในระหว่างผู้คัดค้านทั้งห้ากับลูกหนี้ที่ 1 ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวได้ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้นแล้ว การลดทุนโดยถอนหุ้นที่ลงหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวบางส่วนออกไป ในขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1กำลังประสบกับภาวะการขาดทุนซึ่งลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านทั้งห้าก็ทราบดี จึงเป็นการที่ลูกหนี้ที่ 1ได้โอนทรัพย์สินหรือยอมให้โอนทรัพย์สินไปในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 ล้มละลายโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน
การที่จำเลยทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยซึ่งมีราคาสูงกว่า แลกเปลี่ยนกับที่ดินของผู้คัดค้านซึ่งเป็นที่ดินว่างเปล่าและไม่ติดถนนให้แก่ผู้คัดค้าน ในระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ผู้ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 114.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเพื่อชำระหนี้โดยสุจริต และการพิสูจน์เจตนาของผู้รับจำนองว่าทราบหรือไม่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยที่ 3 ยอมนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจำนองแก่ผู้คัดค้าน ทั้งที่จำเลยที่ 3 มิได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกับผู้คัดค้านโดยตรง เป็นแต่เพียงเป็นญาติในทางแต่งงานกับพี่สาวผู้คัดค้านเท่านั้น ประกอบกับผู้คัดค้านมีครอบครัวแล้ว และต่างก็ประกอบอาชีพเป็นหลักฐานแยกจากกัน จำนวนเงินที่จำนองไม่สูงกว่าราคาทรัพย์ที่จำนอง จึงฟังได้ว่าผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 3 มีหนี้สินระหว่างกันจริง และไม่ได้สมยอมกันจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการฝากเงินของผู้ชำระบัญชีที่ไม่สุจริตในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นบริษัทเงินทุนถูกกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนอันเป็นเหตุให้บริษัทจำเลยต้องเลิกไปตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชี รวบรวมทรัพย์สินได้เงินสดจำนวนหนึ่ง โจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2527ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลย ได้นำเงินสดของบริษัทจำเลยไปฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ขณะรับฝากเงินผู้คัดค้านที่ 2 ทราบอยู่แล้วว่าบริษัทจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ซึ่งจะต้องถูกเพิกถอน การที่ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับประโยชน์จากการฝากเงินของจำเลยหรือไม่ มิใช่ข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย และการไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
การขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่เพิกถอนการโอนทรัพย์สินดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไปหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเท่านั้น ทั้งกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการใดได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว มีแต่เฉพาะการกระทำตามมาตรา 145(1) ถึง (5)เท่านั้น แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการสละสิทธิตามมาตรา 145(3) จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้เสียก่อน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งโดยไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินช่วงล้มละลาย: สุจริตของผู้รับโอน และผลกระทบถึงผู้รับจำนอง
การร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ล้มละลายกับผู้คัดค้านที่ 1 และเพิกถอนการจำนองที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2เป็นคำร้องที่ขอให้ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ชำระหนี้อันจะแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะอุทธรณ์คนเดียว และศาลฎีกาฟังว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริตศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงผู้คัดค้านที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องโดยไม่สุจริตในคดีล้มละลาย ศาลเพิกถอนการโอนและกำหนดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินผู้คัดค้านจำนวน 5,000,000 บาทและได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 5,000,000 บาท มอบให้ผู้คัดค้านไว้กำหนดชำระเงินเมื่อทวงถาม จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1เป็นผู้ให้เช่าซื้อไปให้ผู้คัดค้านจำนวน 84 รายเป็นเงิน6,761,375 บาท เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งกระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ล้มละลาย โดยผู้คัดค้านรับโอนมาโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ย่อมขอให้เพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่กลับคืนมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากผู้เช่าซื้อต่อไปได้ ส่วนผู้คัดค้านต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับไว้แล้วตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดในเงินค่าเช่าซื้อที่ยังมิได้รับชำระ การเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ ยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ผู้คัดค้านต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องเพื่อชำระหนี้ การโอนโดยไม่สุจริต และผลกระทบต่อดอกเบี้ย
เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโอนให้ แก่ผู้คัดค้านเสียย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจาก ผู้เช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ กลับคืนมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจาก ผู้เช่าซื้อต่อไปได้ ผู้คัดค้านต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับไว้แล้วตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อเท่านั้น ไม่ต้อง รับผิดในเงินค่าเช่าซื้อที่ยังมิได้รับชำระ การเพิกถอนการโอนทรัพย์เป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือ เป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วัน ยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียก ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้เพิกถอนการโอน.