คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 114

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน เพิกถอนได้หากผู้รับโอนรู้ถึงฐานะหนี้สินของผู้โอน
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 อ้างว่าให้จำเลยกู้ยืมเงินครั้งละ500,000 บาท รวม 4 ครั้ง และผู้คัดค้านที่ 2 อ้างว่าให้จำเลย กู้ยืมเงินรวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,300,000 บาท โดยไม่มีหลักฐาน การจ่ายเงินหรือหลักฐานการกู้ยืมเงิน และไม่มีหลักประกันใด ๆ ทั้งที่เงินที่ให้กู้ยืมก็มีจำนวนมาก และผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็น ผู้ประกอบการค้าน่าจะมีบัญชีเงินฝากในธนาคารซึ่งสามารถนำสืบถึง หลักฐานการจ่ายเงินให้กู้ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำสืบว่าให้ กู้ไปแล้วได้รับชำระหนี้เป็นหุ้นกู้จึงทำลายหลักฐานการกู้ยืมรวม ทั้งเช็คที่จำเลยจ่ายให้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 อ้างเพียงว่าให้ จำเลยกู้ยืมเงิน โดยไม่มีพยานหลักฐานใด มาสืบสนับสนุนข้ออ้าง จึง ไม่น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านทั้ง สองได้ให้จำเลยกู้ยืมเงินจริง ทั้ง ในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทั้งสองให้การว่าผู้คัดค้านทั้งสองรู้จักสนิทสนมกับ ช.กรรมการผู้จัดการบริษัทท. มานานแล้ว การรับโอนหุ้นของจำเลย ก็โอนมาจากบริษัทดังกล่าว นี้ ดังนั้น ผู้คัดค้านทั้งสองจึงน่าจะรู้ถึงฐานะและการมีหนี้สิน ของจำเลยดี และรู้ถึงการที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องและถูกบังคับคดี การที่ผู้คัดค้านทั้งสองรับโอนหุ้นของจำเลยไว้จึงเป็นการรับโอนไว้โดย ไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน การเพิกถอนการโอนหุ้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยัง ไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือเป็นการโอน โดย ชอบอยู่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แต่งทนายความแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการเพิกถอนการโอนหุ้นเริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอน ไม่ใช่แต่วันยื่นคำร้อง
การเพิกถอนการโอนหุ้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ ถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และจำกัดสิทธิของลูกหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนสัญญายกให้ระหว่างโจทก์กับ พ.และพ. ได้ขายและโอนให้จำเลยที่ 1ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนโจทก์ล้มละลาย ถือว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ผู้ล้มละลายเพื่อรวบรวมทรัพย์สินมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะ และเป็นการกระทำในฐานะแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายไม่ใช่กระทำแทนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลย หรือลูกหนี้ผู้ล้มละลาย และการที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนการโอนนั้นก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เช่นกัน เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ถอนคำขอรับชำระหนี้ และศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว ดังนี้ อำนาจที่จะบังคับคดีต่อไปของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงหมดไป โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยลูกหนี้ในคดีล้มละลายไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย เพราะมิฉะนั้นเท่ากับโจทก์เป็นผู้ทำการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งหมดอำนาจไปแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะ และหมดอำนาจเมื่อยกเลิกการล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสัญญายกให้กันระหว่างโจทก์กับ พ.ผู้คัดค้าน และ พ.ได้ขายและโอนให้จำเลยที่ 1 ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนโจทก์ล้มละลาย ถือว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้และเป็นผู้ล้มละลาย ในอันที่จะต้องจัดการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำการในฐานะแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลาย ไม่ใช่กระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยหรือลูกหนี้ในคดีล้มละลาย คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ได้เป็นคู่ความในคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวนั้นด้วยก็ตาม และการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว เป็นอำนาจและหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483ทั้งปรากฏว่าคดีล้มละลายนั้น ศาลได้ยกเลิกการล้มละลายและโจทก์หลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงหมดอำนาจที่จะดำเนินการต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยลูกหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้รับโอนเป็นคดีนี้เพื่อบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาฎีกาในคดีล้มละลายดังกล่าวเพราะมิฉะนั้นเท่ากับโจทก์เป็นผู้ทำการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งหมดอำนาจไปแล้ว โจทก์ไม่อาจดำเนินการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6243/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นอำนาจ
จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการฟ้องให้จำเลยล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ ศาล มีคำสั่งเพิกถอนการโอนดังกล่าว คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของ ศาลฎีกาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้และให้ยกเลิก การล้มละลายของจำเลย จำเลยจึงพ้นจากภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนที่ดิน พิพาท ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,114,116.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินชำระหนี้โดยไม่สุจริตและเสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องราคาที่ดินคืนได้
จำเลยที่ 2 กู้เงินผู้คัดค้านสองจำนวน จำนวนละ 500,000 บาทจำนวนแรกไม่ได้มีหลักฐานการกู้ เพียงออกเช็ค 2 ฉบับไม่ลงวันที่มอบให้ผู้คัดค้านยึดถือจำนวนที่สองนำที่ดินพิพาท 8 แปลงมาจำนองยอมให้ถือว่าสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินโดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านโอนที่ดินจำนองชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ผู้คัดค้านโอนที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงเป็นของผู้คัดค้าน แม้การรับจำนองดังกล่าวได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน และการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้จำนองเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทนแต่ที่ดิน 8 แปลง ที่นำมาจำนองมีราคาถึง 1,000,000บาท เศษ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ผู้คัดค้านอยู่เพียง 500,000 บาทการที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงจึงเป็นการกระทำที่รู้อยู่แล้วว่าทำให้จำเลยที่ 2 และเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 2เสียเปรียบ ย่อมถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านรับโอนไว้โดยสุจริตชอบที่จะเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นพิมพ์จำนวนเงินผิด เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข การเพิกถอนการโอนที่ดินเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาถือเป็นการโอนโดยชอบ ยังถือไม่ได้ว่าผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: จำเลยเป็นเพียงผู้ถือสิทธิแทน มิใช่เจ้าของทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจเพิกถอนการโอนได้
จำเลยเป็นเพียงผู้มีชื่อใน น.ส.3 ในฐานะผู้ถือสิทธิในที่พิพาทไว้แทนผู้รับโอน หาใช่เจ้าของที่พิพาทไม่ การที่จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ผู้รับโอน มิใช่การโอนทรัพย์สินของจำเลยให้แก่ผู้รับโอน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนฟ้องล้มละลายและการเปลี่ยนแปลงคู่กรณี
การที่ลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เกินกว่า 3 ปี ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว ไม่ว่าการโอนจะมีค่าตอบแทนและเป็นการโอนโดยสุจริตหรือไม่ ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ได้ และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นของ ม. การโอนระหว่าง ม.และ พ.ต่อมาจึงมิใช่การโอนระหว่างลูกหนี้กับ พ. จะขอให้เพิกถอนการโอนตามบทกฎหมายข้างต้นก็ไม่ได้เช่นกัน
ข้ออ้างที่ว่า ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกัน มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของลูกหนี้แต่ผู้เดียวนั้น มิใช่เรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่าการโอนระหว่างลูกหนี้และ ม.เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนเท่านั้น จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน ผู้ร้องจะกลับยกประเด็นอื่นขึ้นมากล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องในประเด็นนี้จึงขัดต่อมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายต้องกระทำภายใน 3 ปี และต้องเป็นการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้รับโอนโดยตรง
การที่ลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ม. เกินกว่า 3 ปี ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว ไม่ว่าการโอนจะมีค่าตอบแทนและเป็นการโอนโดยสุจริตหรือไม่ ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ได้ และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นของ ม. การโอนระหว่าง ม. และ พ. ต่อมาจึงมิใช่การโอนระหว่างลูกหนี้กับ พ. จะขอให้เพิกถอนการโอนตามบทกฎหมายข้างต้นก็ไม่ได้เช่นกัน ข้ออ้างที่ว่า ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกัน มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของลูกหนี้แต่ผู้เดียวนั้น มิใช่เรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่าการโอนระหว่างลูกหนี้และ ม. เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนเท่านั้น จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน ผู้ร้องจะกลับยกประเด็นอื่นขึ้นมากล่าว อ้างในคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องในประเด็นนี้จึงขัดต่อมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของผู้รับโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิฎีกาเมื่อไม่ใช่คู่ความ
ในคดีชั้นร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่ ไม่ ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดี แล้วแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา โจทก์เป็น เพียง บุคคลภายนอกแม้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนคนหนึ่งอาจถูก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ร้องขอ ต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการโอนต่อไป ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่คู่ความหรือถูกโต้แย้ง สิทธิในชั้นนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 โจทก์จึง ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์.
of 16