คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 40

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ โดยไม่แสดงเหตุผลอันสมควร และการหักกลบลบหนี้จากหนี้ที่มีข้อพิพาท
ครั้งแรกจำเลยขอเลื่อนการสืบพยานจำเลยอ้างว่าพยานไปงานแต่งงานญาติที่จังหวัดนครปฐม ศาลสั่งให้เลื่อนคดีไป แต่ในการนัดสืบพยานนัดต่อมาจำเลยขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สองอ้างว่าพยานไปโอนที่ดินที่จังหวัดนครนายกศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณาผ่อนผันอนุญาตให้เลื่อนคดีไป ในการพิจารณาคดีต่อมาจำเลยกลับขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สาม อ้างว่าพยานป่วย โดยมิได้อ้างเหตุผลว่าป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อย่างไร อันเป็นเหตุผลตามกฎหมายในข้อที่ว่าไม่อาจก้าวล่วงเสียได้อย่างไร นอกจากนี้จำเลยไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 40วรรคหนึ่ง เมื่อพิจารณาถึงข้อที่จำเลยไม่อ้างเหตุขอเลื่อนดคีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดดังกล่าว ประกอบกับคำแถลงของทนายจำเลยในนัดที่ขอเลื่อนคดีครั้งที่สองว่าหากจำเลยไม่นำพยานมาศาลในการพิจารณานัดต่อไปถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีต่อไปได้
จำเลยอ้างว่า โจทก์ค้างชำระค่าจอดรถเดือนละ 5,000 บาทปรากฏว่าโจทก์เคยเจรจากับจำเลยแล้วว่าจะไม่จ่ายค่าเช่าส่วนนี้เพราะเป็นเรื่องการแลกเปลี่ยนที่จำเลยไม่ให้โจทก์ใช้ถนนหน้าโกดัง เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าหนี้ที่จำเลยอ้างดังกล่าวโจทก์ได้โต้แย้งและไม่ยอมรับสิทธิเรียกร้องที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ เป็นหนิ้ที่ยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิได้ ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 344


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการหักกลบลบหนี้: ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตเลื่อนคดีหากจำเลยไม่แสดงเหตุผลเพียงพอ และหนี้ที่มีข้อโต้แย้งยังไม่สามารถนำมาหักกลบลบหนี้ได้
ครั้งแรกจำเลยขอเลื่อนการสืบพยานจำเลยอ้างว่าพยานไปงานแต่งงานญาติที่จังหวัดนครปฐมศาลสั่งให้เลื่อนคดีไปแต่ในการนัดสืบพยานนัดต่อมาจำเลยขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สองอ้างว่าพยานไปโอนที่ดินที่จังหวัดนครนายกศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณาผ่อนผันอนุญาตให้เลื่อนคดีไปในการพิจารณาคดีต่อมาจำเลยกลับขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สามอ้างว่าพยานป่วยโดยมิได้อ้างเหตุผลว่าป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อย่างไรอันเป็นเหตุผลตามกฎหมายในข้อที่ว่าไม่อาจก้าวล่วงเสียได้อย่างไรนอกจากนี้จำเลยไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไรตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา40วรรคหนึ่งเมื่อพิจารณาถึงข้อที่จำเลยไม่อ้างเหตุขอเลื่อนคดีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวประกอบกับคำแถลงของทนายจำเลยในนัดที่ขอเลื่อนคดีครั้งที่สองว่าหากจำเลยไม่นำพยานมาศาลในการพิจารณานัดต่อไปถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานด้วยแล้วจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีต่อไปได้ จำเลยอ้างว่าโจทก์ค้างชำระค่าจอดรถเดือนละ5,000บาทปรากฎว่าโจทก์เคยเจรจากับจำเลยแล้วว่าจะไม่จ่ายค่าเช่าส่วนนี้เพราะเป็นเรื่องการแลกเปลี่ยนที่จำเลยไม่ให้โจทก์ใช้ถนนหน้าโกดังเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าหนี้ที่จำเลยอ้างดังกล่าวโจทก์ได้โต้แย้งและไม่ยอมรับสิทธิเรียกร้องที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่เป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนจำเลยจะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา344

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการแก้ไขเช็คพิพาท: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์จำเลยขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุเจ็บป่วยมาหลายนัดและในการอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีที่แล้วมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำชับจำเลยและกำหนดเงื่อนไขการเลื่อนคดีของจำเลยในเหตุเจ็บป่วยหากจะมีอีกไว้แล้วแต่จำเลยไม่นำพาจะปฏิบัติตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ศาลกำชับไว้เป็นการประวิงคดีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะมีคำสั่งว่าจำเลยประวิงคดีแม้จะเป็นคำสั่งในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกก็ตาม การแก้ไขจำนวนเงินในเช็คพิพาทที่เป็นตัวเลขให้ตรงกับจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรโดยไม่ทราบเจตนาของจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่ใช่การแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เช็คพิพาทเสียไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1007วรรคหนึ่งเพราะแม้ไม่มีการแก้ไขจำเลยก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน, ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, การประวิงคดี: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173(1) หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา24 ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้องของจำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, คำสั่งศาลเลื่อนคดี: กรณีศึกษาความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วมและการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้อง ของ จำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้นโดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท. ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคาร ท. มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ด้วย กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 และแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ ดังนั้นโจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่ และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เพียงไรจะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง 2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อมจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายความป่วย: ศาลใช้ดุลพินิจตามเหตุผลสมควร และจำกัดค่าธรรมเนียมศาลฎีกาเฉพาะประเด็นที่ฎีกา
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่น อ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ อ่อนเพลียอันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้ว มิได้คัดค้านว่าคำร้อง ของ ทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริงจึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บ จึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้น จึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดี และเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดี จำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้ จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายความป่วย ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้เลื่อนคดีได้ การใช้ดุลพินิจศาล
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นอ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดงซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอต่อมทอนซิลอักเสบอ่อนเพลียอันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา41หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา40จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้วมิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริงจึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บจึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้นจึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดีและเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดีจำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายโจทก์ป่วย: ศาลรับฟังเหตุผลและอำนาจการไต่สวน/ตรวจสอบของศาล
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่น อ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ อ่อนเพลีย อันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้ว มิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริง จึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 21 (4)หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บ จึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง
คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้น จึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดี และเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดี จำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้ จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันสืบพยานในคดีแรงงาน: ศาลดำเนินการตามข้อกำหนดได้ แม้ในวันเดียวกับวันนัดพิจารณา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา39วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่าในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลยอ่านให้คู่ความฟังและให้ลงลายมือชื่อไว้โดยจะระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันทีหมายถึงกรณีที่ศาลแรงงานกำหนดวันพิจารณาโดยยังไม่ได้กำหนดวันสืบพยานเมื่อศาลแรงงานได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ให้กำหนดวันสืบพยานไปทันทีประกอบกับมาตรา29บัญญัติว่าเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเป็นไปโดยประหยัดสะดวกรวดเร็วและเที่ยงธรรมจึงให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางโดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ10ว่าในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยานถ้าคู่ความได้นำพยานทั้งหมดหรือบางส่วนมาศาลและพร้อมที่จะสืบได้ในวันนั้นให้ศาลดำเนินการสืบพยานไปทันทีดังนี้การที่ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันกับวันนัดพิจารณาจึงเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหาเป็นการขัดต่อมาตรา39วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการกำหนดวันสืบพยานและไม่อนุญาตเลื่อนคดี เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกัน ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลยอ่านให้คู่ความฟัง และให้ลงลายมือชื่อไว้โดยจะระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้ แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันที หมายถึงกรณีที่ศาลแรงงานกำหนดวันพิจารณาโดยยังไม่ได้กำหนดวันสืบพยาน เมื่อศาลแรงงานได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ให้กำหนดวันสืบพยานไปทันที ประกอบกับมาตรา 29 บัญญัติว่า เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม จึงให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางโดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดศาลแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ถ้าคู่ความได้นำพยานทั้งหมดหรือบางส่วนมาศาลและพร้อมที่จะสืบได้ในวันนั้น ให้ศาลดำเนินการสืบพยานไปทันที ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันกับวันนัดพิจารณา จึงเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ที่ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหาเป็นการขัดต่อมาตรา 39 วรรคหนึ่งไม่
of 41