พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3948/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและการพิสูจน์ความชอบด้วยกฎหมายของการขายทอดตลาด
ทนายความผู้ประกันขอเลื่อนคดีมาแล้วครั้งหนึ่งอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นศาลชั้นต้นอนุญาต ครั้นถึงวันนัดครั้งต่อไปทนายความผู้ประกันยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่าได้นัดผู้ประกันให้มาเบิกความต่อศาล แต่ผู้ประกันไม่มาและไม่ทราบสาเหตุ แต่ตามคำร้องขอเลื่อนคดีไม่ได้อ้างเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ และไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปจะทำให้เสียความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้เลื่อนคดี
ผู้ประกันกล่าวอ้างว่า การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นไปโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการขายทอดตลาด ผู้ซื้อทรัพย์คัดค้าน ดังนี้ หน้าที่นำสืบตกแก่ผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันไม่มีพยานมานำสืบ อีกทั้งได้ความตามสำนวนว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งการขายทอดตลาดโดยชอบหลายครั้ง ไม่มีผู้ใดสนใจเข้าสู้ราคา เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สู้ราคาสูงสุดสูงกว่าราคาประเมิน และศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ขายทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์การขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
การยื่นคำร้องของผู้ประกันในคดีอาญาว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบรวมทั้งการอุทธรณ์ฎีกา ไม่จำต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 252
ผู้ประกันกล่าวอ้างว่า การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นไปโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการขายทอดตลาด ผู้ซื้อทรัพย์คัดค้าน ดังนี้ หน้าที่นำสืบตกแก่ผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันไม่มีพยานมานำสืบ อีกทั้งได้ความตามสำนวนว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งการขายทอดตลาดโดยชอบหลายครั้ง ไม่มีผู้ใดสนใจเข้าสู้ราคา เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สู้ราคาสูงสุดสูงกว่าราคาประเมิน และศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ขายทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์การขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
การยื่นคำร้องของผู้ประกันในคดีอาญาว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบรวมทั้งการอุทธรณ์ฎีกา ไม่จำต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3948/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุสมควร และการยกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ชอบด้วยกฎหมาย
ทนายความผู้ประกันขอเลื่อนคดีมาแล้วครั้งหนึ่งอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่น ศาลชั้นต้นอนุญาต ครั้นถึงวันนัดครั้งต่อไปทนายความผู้ประกันยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ได้นัดผู้ประกันให้มาเบิกความต่อศาล แต่ผู้ประกันไม่มาและไม่ทราบสาเหตุ แต่ตามคำร้องขอเลื่อนคดีไม่ได้อ้างเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปจะทำให้เสียความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้เลื่อนคดี ผู้ประกันกล่าวอ้างว่า การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นไปโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการขายทอดตลาด ผู้ซื้อทรัพย์คัดค้าน ดังนี้ หน้าที่นำสืบตกแก่ผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันไม่มีพยานมานำสืบ อีกทั้งได้ความตามสำนวนว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งการขายทอดตลาดโดยชอบหลายครั้งไม่มีผู้ใดสนใจเข้าสู้ราคา เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สู้ราคาสูงสุดสูงกว่าราคาประเมิน และศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ขายทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์ การขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว การยื่นคำร้องของผู้ประกันในคดีอาญาว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบ รวมทั้งการอุทธรณ์ฎีกา ไม่จำต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่งดสืบพยาน การประวิงคดี และการใช้ดุลพินิจของศาล
ตามรายงานกระบวนพิจารณาบันทึกว่าศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อเวลา 9.30 น. ต่อมาวันเดียวกันเวลา 14.45 น. ทนายจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ศาลสั่งรวมสำนวน ถือว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลแล้วจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ จำเลยเคยขอเลื่อนคดีมา 2 นัดแล้ว นัดแรกจำเลยอ้างว่าป่วยครั้นถึงวันนัดที่สอง จำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ศาลได้ให้โอกาสจำเลยเลื่อนคดีนัดที่สองไปโดยกำชับให้จำเลยนำพยานที่จะสืบทั้งหมดมาศาลในวันนัดและเลื่อนคดีไปเป็นเวลาหนึ่งเดือนเศษ จำเลยยังไม่นำพยานมาศาลในวันนัดถือว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีศาลจึงชอบที่จะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การตกลงรับประกันภัยมีผลผูกพันตั้งแต่ตกลง แม้จะยังมิได้ออกกรมธรรม์
จำเลยเป็นนิติบุคคลอ้างตัวเองเป็นพยาน โดยไม่ระบุชัดเจนว่าผู้ใดจะมาเบิกความแทนจำเลย เมื่อจำเลยนำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยของจำเลยเข้าเบิกความไปแล้ว จำเลยจะย้อนไปนำส. กรรมการคนหนึ่งของจำเลยเข้าเบิกความอีกโดยไม่แสดงเหตุผลและความจำเป็น ที่จำเลยต้องนำ ส. เข้าเบิกความหลังพยานอื่นหาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพื่อนำ ส.เข้าเบิกความ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว จำเลยขอเลื่อนคดีเพื่อจะนำ ว. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยเข้าเบิกความแต่จากการที่ศาลสอบโจทก์ปรากฏว่าโจทก์เคยร้องเรียนไปยังสำนักงานประกันภัยให้สั่งจำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ แต่สำนักงานประกันภัยแจ้งว่าสินค้าสูญหายก่อนที่จะออกกรมธรรม์ประกันภัย ไม่อาจสั่งให้จำเลยจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดสืบ ว. พยานจำเลยจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้วเช่นเดียวกัน การที่ศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปหรือเห็นว่าเพียงพอแล้วจะให้งดเสียหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่อง เพื่อให้คดี ดำเนิน ไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม โจทก์กับจำเลยเคยติดต่อทำสัญญาประกันภัยกันหลายครั้งโดยผ่านส.ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยโดยส. จะไปรับสำเนาหนังสือเลตเตอร์ออฟเครดิตจากโจทก์เพื่อกรอกข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับการประกันภัยสินค้ารายพิพาทโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา โดยในวันที่ 22 สิงหาคม 2528 โจทก์แจ้งให้ ส.ไปรับสำเนาเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อทำประกันภัยสินค้ารายพิพาทเมื่อ ส. ได้รับมาแล้วได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบว่ามีประกันภัยทางทะเลของโจทก์ 3 ราย พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดให้ทราบด้วย เจ้าหน้าที่ของจำเลยจะส่งคนไปรับสำเนาเลตเตอร์ออฟเครดิตแต่ในวันนั้นไม่มีผู้ใดไปรับจนกระทั่งวันที่ 26 สิงหาคม 2528เจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไปรับและนำกรมธรรม์ประกันภัยรายพิพาทมามอบให้ ส.ส. มอบให้โจทก์ในวันที่ 28 สิงหาคม 2528แต่ปรากฏว่าเรือบรรทุกสินค้าได้อัปปาง ลงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม2528 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2528 โดยฝ่าย ส. ตัวแทนของจำเลย แม้จำเลยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยในภายหลัง ความรับผิดของจำเลยย่อมเริ่มตั้งแต่เมื่อได้เริ่มตกลงรับประกันภัยไว้เป็นต้นไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดี - เหตุผลที่ศาลไม่อนุญาต - การแสดงให้เห็นถึงความเสียหายหากไม่เลื่อน
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและศาลอนุญาตให้เลื่อนมาแล้วหลายนัดในนัดสุดท้ายขอเลื่อนโดยอ้างว่าป่วยเป็นไข้ไทฟอยด์ มีอาการท้องร่วงอย่างแรงและอ่อนเพลีย ไม่สามารถมาดำเนินคดีในศาลได้ ปรากฏตามใบรับรองแพทย์ที่แนบมาพร้อมคำร้อง ดังนี้ คำร้อง ขอเลื่อนคดี ของทนายจำเลยมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ ในป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคแรก ศาลจึงไม่อาจให้เลื่อนคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ-การเป็นทนายความ-การเลื่อนคดี: ความชอบด้วยกฎหมายและข้อยกเว้น
หนังสือมอบอำนาจให้ ป. และ ท. ฟ้องคดีและกระทำการอย่างอื่นอีกหลายประการแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ข) โจทก์ซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ฉบับละ 30 บาท โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวหรือหลายคน หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองมิได้ห้ามผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นทนายความอยู่แล้วตั้งตนเองเป็นทนายความดำเนินคดีนั้นอีก ที่ ท. และ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตั้ง ท. เป็นทนายความว่าคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานจำเลยปากหนึ่งไปถึง 4 นัดครั้งสุดท้ายจำเลยยื่นคำร้องระบุว่าหากไม่ได้ตัวพยานมาในนัดต่อไปจำเลยยอมให้ศาลตัดพยานได้ทันที ซึ่งทนายจำเลยก็แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันนั้นว่า หากนัดหน้าพยานไม่มาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยไม่ติดใจสืบ ศาลชั้นต้นก็ได้ให้โอกาสจำเลยเป็นครั้งสุดท้าย โดยเลื่อนการสืบพยานจำเลยไปถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานติดคดีต้องเบิกความที่ศาลทั้งเช้า และบ่ายไม่อาจมาเบิกความที่ศาลในคดีนี้ได้ ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยเห็นว่าจำเลยมีโอกาสนำตัวพยานมาสืบได้ จำเลยขอเลื่อนคดีมีลักษณะประวิงคดี จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, การดำเนินคดีโดยทนายความ, และการเลื่อนคดี: ศาลมีอำนาจพิจารณาเจตนาประวิงคดีได้
หนังสือมอบอำนาจให้ ป.และ ท.ฟ้องคดีและกระทำการอย่างอื่นอีกหลายประการแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ข)โจทก์ซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ฉบับละ 30 บาท โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวหรือหลายคน หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง มิได้ห้ามผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นทนายความอยู่แล้วตั้งตนเองเป็นทนายความดำเนินคดีนั้นอีก ที่ ท.และ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตั้ง ท.เป็นทนายความว่าคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานจำเลยปากหนึ่งไปถึง 4 นัด ครั้งสุดท้ายจำเลยยื่นคำร้องระบุว่าหากไม่ได้ตัวพยานมาในนัดต่อไป จำเลยยอมให้ศาลตัดพยานได้ทันที ซึ่งทนายจำเลยก็แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันนั้นว่า หากนัดหน้าพยานไม่มาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยไม่ติดใจสืบ ศาลชั้นต้นก็ได้ให้โอกาสจำเลยเป็นครั้งสุดท้ายโดยเลื่อนการสืบพยานจำเลยไปถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานติดคดีต้องเบิกความที่ศาลทั้งเช้าและบ่ายไม่อาจมาเบิกความที่ศาลในคดีนี้ได้ ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยเห็นว่าจำเลยมีโอกาสนำตัวพยานมาสืบได้ จำเลยขอเลื่อนคดีมีลักษณะประวิงคดี จึงชอบแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง มิได้ห้ามผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นทนายความอยู่แล้วตั้งตนเองเป็นทนายความดำเนินคดีนั้นอีก ที่ ท.และ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตั้ง ท.เป็นทนายความว่าคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานจำเลยปากหนึ่งไปถึง 4 นัด ครั้งสุดท้ายจำเลยยื่นคำร้องระบุว่าหากไม่ได้ตัวพยานมาในนัดต่อไป จำเลยยอมให้ศาลตัดพยานได้ทันที ซึ่งทนายจำเลยก็แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันนั้นว่า หากนัดหน้าพยานไม่มาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยไม่ติดใจสืบ ศาลชั้นต้นก็ได้ให้โอกาสจำเลยเป็นครั้งสุดท้ายโดยเลื่อนการสืบพยานจำเลยไปถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานติดคดีต้องเบิกความที่ศาลทั้งเช้าและบ่ายไม่อาจมาเบิกความที่ศาลในคดีนี้ได้ ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยเห็นว่าจำเลยมีโอกาสนำตัวพยานมาสืบได้ จำเลยขอเลื่อนคดีมีลักษณะประวิงคดี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีโดยทนายจำเลย: เหตุจำเป็น & สิทธิในการแต่งตั้งทนาย
ศาลเคยอนุญาตให้ทนายจำเลยเลื่อนคดีครั้งหนึ่งแล้ว ในนัดต่อมาทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัวจากการเป็นทนายจำเลยและศาลอนุญาตและในวันเดียวกันนั้นจำเลยได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่ ทนายความคนใหม่มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างว่าทนายความคนใหม่ติดว่าความที่ศาลอื่น ดังนี้เป็นกรณีจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ ศาลชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปได้อีกแม้จะเกินกว่าหนึ่งครั้งก็ตาม ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตเลื่อนคดีเนื่องจากทนายติดว่าความอื่น ศาลพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและไม่ได้มีเจตนาประวิงคดี
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์เป็นครั้งแรกโดยอ้างว่าติดว่าความในคดีอื่น ซึ่งทนายจำเลยคงคัดค้านแต่เพียงว่าเหตุที่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเป็นเหตุไม่จำเป็นและสมควร ไม่ได้คัดค้านว่าทนายโจทก์มิได้ติดว่าความที่ศาลอื่นจริง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าทนายโจทก์ติดว่าความในคดีอื่น ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องขอเลื่อนคดี แม้ในวันนัดชี้สองสถานเสมียนทนายโจทก์จะได้ลงชื่อทราบวันนัดสืบพยานของโจทก์แทนทนายโจทก์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้นัดสืบพยานโจทก์ให้ตามวันว่างของทนายโจทก์หรือไม่ เมื่อคดีเพิ่งนัดสืบพยานโจทก์เป็นนัดแรก พฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: เหตุจำเป็นที่ศาลควรอนุญาตเพื่อความยุติธรรม
ในวันนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยที่ 2 นอนรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลมีบัตรตรวจโรคผู้ป่วย รายงานการรักษาและใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐาน เชื่อ ได้ว่าทนายจำเลยที่ 2 ป่วยจนไม่สามารถมาศาลได้จริง เป็นเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การนัดสืบพยานจำเลยในวันนั้นเป็นการซักค้านตัวจำเลยที่ 2 ของทนายโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ยังเบิกความไม่เสร็จก็ยากที่จะรับฟังเป็นความจริงได้ถ้า ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีย่อมจะทำให้เสียความยุติธรรมชอบที่ศาลจะสั่งเลื่อนคดีต่อไปเท่าที่จำเป็นแม้จะเกินกว่าหนึ่งครั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40.