พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ระบุที่อยู่พยานในบัญชีระบุพยาน และผลกระทบต่อการดำเนินคดี การประวิงคดี
ในบัญชีระบุพยานของจำเลยลำดับที่ 3 และที่ 4ได้ระบุชื่อพยานไว้ กับระบุว่า "ที่อยู่จะเสนอต่อศาลในวันขอหมายเรียก" เมื่อบัญชีระบุพยานดังกล่าวมิได้ระบุที่อยู่ของบุคคล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ไม่ชอบศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานดังกล่าวนั้นได้ นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบจนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยานและไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่ายมิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีระบุพยานไม่ชอบ, ประวิงคดี: การรอสืบพยานต้องมีขอบเขต, ศาลไม่ปล่อยให้ประวิงคดี
ในบัญชีระบุพยานของจำเลยลำดับที่ 3 และที่ 4 ได้ระบุชื่อพยานไว้ กับระบุว่า "ที่อยู่จะเสนอต่อศาลในวันขอหมายเรียก" เมื่อบัญชีระบุพยานดังกล่าวมิได้ระบุที่อยู่ของบุคคล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานดังกล่าวนั้นได้
นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยาน และไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย มิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยาน และไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย มิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลเมื่อมีเหตุจำเป็นหรือไม่สมควร
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้งครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วย ครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลยไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าวเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี
การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเอง คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้งครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วย ครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลยไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าวเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี
การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเอง คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และการใช้ดุลพินิจของศาลที่ไม่ต้องตั้งเจ้าพนักงานตรวจอาการ
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วยครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและ ตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับ ทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลย ไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการ ปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลย ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าว เป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเองคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลยและทนายความ ศาลมีสิทธิงดสืบพยานได้
ในระหว่างนัดสืบพยานจำเลยทั้งสาม ทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ขอเลื่อนคดีมาแล้วรวม 3 ครั้งติดต่อกันนัดที่หนึ่งอ้างเหตุว่า ตัวจำเลยที่ 1 ติดธุระสำคัญที่กรุงเทพฯ นัดที่สองอ้างว่า ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2ติดธุระที่จังหวัดพิษณุโลก และนัดที่สามอ้างว่าทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 มีอาการป่วย สำหรับนัดที่สี่ทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 แถลงขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ไม่สามารถติดตามพยานมาได้ทั้ง ๆ ที่ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สามนั้นศาลชั้นต้นได้กำชับว่า นัดหน้าให้จำเลยทั้งสามเตรียมพยานมาให้พร้อม หากมีการขอเลื่อนคดีเพราะเหตุขัดข้องทางฝ่ายจำเลยอีก จะถือว่าประวิงคดีและศาลจะสั่งงดสืบพยานจำเลยเสีย ซึ่งทนายจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับเงื่อนไขตามคำสั่งของศาลดังกล่าว พฤติการณ์ของทนายจำเลยที่ 2 ส่อแสดงถึงความไม่เอาใจใส่คดีของตนที่ทำหน้าที่อยู่ กับไม่นำพาต่อคำสั่งศาลที่กำชับนั้น เพราะถ้าหากสนใจคดีแล้วทนายจำเลยที่ 2ก็ย่อมติดต่อหรือนำตัวพยานมาสืบในวันนัดได้แต่หาได้ดำเนินการเช่นนั้นไม่ กลับจะขอเลื่อนคดีไปเรื่อย ๆ โดยไร้จุดมุ่งหมายถือว่าจำเลยที่ 2 ประวิงคดีให้ชักช้า ทั้งเหตุที่ทนายจำเลยที่ 2อ้างขอเลื่อนคดีเป็นนัดที่สี่ดังกล่าวก็มิใช่เหตุเกิดจากความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 2 จนไม่อาจดำเนินคดีได้จึงไม่เป็นกรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว ความตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมนั้น ต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลยและการงดสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
ในระหว่างนัดสืบพยานจำเลยทั้งสาม ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ขอเลื่อนคดีมาแล้วรวม 3 ครั้งติดต่อกัน โดยนัดที่หนึ่งอ้างเหตุว่า ตัวจำเลยที่ 1ติดธุระสำคัญที่กรุงเทพฯ นัดที่สองอ้างว่า ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ติดธุระที่จังหวัดพิษณุโลก และนัดที่สามอ้างว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอาการป่วย สำหรับวันนัดที่สี่ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ไม่สามารถติดตามพยานมาได้ทั้ง ๆ ที่ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สามนั้น ศาลชั้นต้นได้กำชับว่า นัดหน้าให้จำเลยทั้งสามเตรียมพยานมาให้พร้อม หากมีการขอเลื่อนคดีเพราะเหตุขัดข้องทางฝ่ายจำเลยอีก จะถือว่าประวิงคดีและศาลจะสั่งงดสืบพยานจำเลยเสีย ซึ่งทนายจำเลยที่ 2ก็ยอมรับเงื่อนไขตามคำสั่งของศาลดังกล่าว พฤติการณ์ของทนายจำเลยที่ 2 ส่อแสดงถึงความไม่เอาใจใส่คดีของตนที่ทำหน้าที่อยู่ กับไม่นำพาต่อคำสั่งศาลที่กำชับนั้น เพราะถ้าหากสนใจคดีแล้วทนายจำเลยที่ 2 ก็ย่อมติดต่อหรือนำตัวพยานมาสืบในวันนัดได้แต่หาได้ดำเนินการเช่นนั้นไม่ กลับจะขอเลื่อนคดีไปเรื่อย ๆ โดยไร้จุดมุ่งหมายถือว่าจำเลยที่ 2 ประวิงคดีให้ชักช้า ทั้งเหตุที่ทนายจำเลยที่ 2 อ้างขอเลื่อนคดีเป็นนัดที่สี่ดังกล่าวก็มิใช่เหตุเกิดจากความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 2 จนไม่อาจดำเนินคดีได้ จึงไม่เป็นกรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ดังนั้น คำสั่งของศาลขั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยที่ 2 แล้ว
ตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่ง ป.วิ.พ.ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้ ข้ออ้าง
ตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่ง ป.วิ.พ.ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้ ข้ออ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยาน ทำให้ศาลสั่งงดสืบพยานได้ ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตได้รับการคุ้มครอง
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และอ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ. ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยอาจให้ อ. เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าวอ. มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยติดประชุม โดยตัวจำเลยก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยาน แล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคารก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะว. เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบ แสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยาน มาให้พร้อมมิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจาก จำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมา ในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ. ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพา ต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยอาจให้ทนายคนอื่น ซักถามพยานแทนได้แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์ คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลย นั้นชอบแล้ว โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์ แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ประกอบกับ มาตรา 904 จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกัน ฉ้อฉลกับผู้มีชื่อดังที่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลย มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และ อ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ.ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยที่ 1 อาจให้ อ.เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าว อ.มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 1 ติดประชุม โดยตัวจำเลยที่ 1ก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยานแล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคาร ก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะ ว.เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบแสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อม มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจากจำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมาในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ.ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพาต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยที่ 1 อาจให้ทนายคนอื่นซักถามพยานแทนได้ แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 นั้นชอบแล้ว
โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อาวัล โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ประกอบกับมาตรา 904 เมื่อจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ดังที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด
โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อาวัล โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ประกอบกับมาตรา 904 เมื่อจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ดังที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและการเลื่อนคดีในคดีแรงงาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขน จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ. พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังพิจารณาคดี และการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานที่ไม่รับอุทธรณ์การเลื่อนคดี
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 (3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฎว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขนจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ.พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิด จำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง
ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขนจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ.พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิด จำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง
ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย