คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: การงดการไต่สวน, การเพิกถอนการขายทอดตลาด, และการประเมินราคาที่สมควร
ในวันนัดไต่สวนคำร้องเพื่อขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์ ศาลพิเคราะห์คำร้องของโจทก์ คำคัดค้านของผู้ซื้อทรัพย์และรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดการไต่สวน แล้วศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยในส่วนคำร้องขอเลื่อนคดีของโจทก์ว่า กรณีไม่มีเหตุให้เลื่อนคดี ให้ยกคำร้องขอเลื่อนคดีของโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องขอเลื่อนคดีของโจทก์เพราะไม่มีเหตุตามคำร้องหรือไม่เชื่อว่าพยานโจทก์เจ็บป่วยจริง ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงเหตุจำเป็นที่จะให้เลื่อนคดีตามคำร้องของโจทก์ หรือสั่งให้เจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูอาการเจ็บป่วยของพยานโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 และมาตรา 41 แต่อย่างใด ทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์ คำคัดค้านของผู้ซื้อทรัพย์และรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีตามคำร้องของโจทก์ในประเด็นใด อย่างไร ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์แล้วมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามคำร้องของโจทก์ต่อไปโดยไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
กรณีที่จะเป็นการขายทอดตลาดอันฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้คัดค้านราคาขายทอดตลาดแล้ว แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดไปโดยไม่ขยายระยะเวลาขายทอดตลาด แต่ตามคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์อ้างว่า ขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของโจทก์ ผู้แทนโจทก์ออกไปทำธุระส่วนตัวซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อผู้แทนโจทก์กลับเข้าห้องขายทอดตลาดอีกครั้ง ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไปโดยไม่มีผู้คัดค้าน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ตามกฎหมายใดที่จะต้องประกาศหรือโทรศัพท์ติดตามโจทก์เพื่อให้โจทก์มาคัดค้านราคาขายทอดตลาดก่อนแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้เป็นการอันฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยคำร้องของโจทก์ว่าผู้แทนโจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเอง และข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีราคาซื้อขายสูงถึง 1,000,000 บาท และผู้แทนโจทก์ได้รับมอบหมายให้เข้าสู้ราคาไม่ต่ำกว่า 680,000 บาท ฟังไม่ขึ้น เท่ากับศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยแล้วว่าการขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้ มิได้เป็นการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควร ทั้งไม่มีการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการสู้ราคา หรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง มิใช่ว่าศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้จึงถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฎีกาแก่โจทก์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการงดสืบพยานเนื่องจากอาการป่วยของผู้ต้องหา
การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของจำเลยว่าจำเลยป่วยจริงหรือไม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 41 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยและใบรับรองแพทย์แล้วไม่เชื่อว่าการเจ็บป่วยของจำเลยจะมีอาการหนักจนไม่สามารถเดินทางมาเบิกความต่อศาลได้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของจำเลยนั่นเอง และเมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยและใบรับรองแพทย์ที่ปรากฏต่อศาลชั้นต้นเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งได้ โดยหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลไม่อนุญาตเลื่อนคดี-งดสืบพยานเมื่อจำเลยอ้างป่วย เหตุผลจากใบรับรองแพทย์ไม่น่าเชื่อถือ
ป.วิ.พ. มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในคำร้องขอเลื่อนคดีและใบรับรองแพทย์แล้วไม่เชื่อว่าการเจ็บป่วยของจำเลยจะมีอาการหนักจนไม่สามารถเดินทางมาเบิกความต่อศาลได้จึงเป็นการใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของจำเลยนั่นเอง และเมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยและใบรับรองแพทย์ที่ปรากฏต่อศาลชั้นต้นเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้วศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีได้ โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง ขายลดเช็ค ผิดนัดชำระหนี้ ศาลลดดอกเบี้ยเบี้ยปรับและแก้ไขคำพิพากษา
ตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปรากฏว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ป่วยเป็นไข้ มีอาการวิงเวียนศีรษะ ส่วนที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าป่วยเป็นไข้หวัดนั้น โดยไม่มีใบรับรองแพทย์มายืนยันว่าป่วยถึงขนาดไม่สามารถมาศาลได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวประกอบกับการขอเลื่อนคดีหลายครั้งเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่สั่งเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้ว และคำร้องขอเลื่อนคดีดังกล่าวปรากฏว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ออกไปซื้อยามารับประทานแล้วนอนพักผ่อน แสดงว่าอาการเจ็บป่วยของทนายความจำเลยที่ 1 และที่ 2 และตัวจำเลยที่ 2 เป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และไม่มีความจำเป็นต้องตั้งเจ้าพนักงานหรือแพทย์ไปตรวจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 และมาตรา 41
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะความจริงแล้ว อ. ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการในนามโจทก์ อีกทั้งหนังสือรับรองดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ อ. จึงไม่มีอำนาจกระทำการในนามโจทก์เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อสู้แต่เพียงว่า อ. ไม่ได้เป็นกรรมการของโจทก์ และหนังสือดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับ หรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านเอกสารดังกล่าวไว้แล้ว ประกอบกับขณะที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าว พยานโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมหาชน มี อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามหนังสือรับรองพร้อมสำเนาหมาย จ.13 แสดงว่าโจทก์ได้นำเอาต้นฉบับเอกสารมาแสดงให้ศาลชั้นต้นดูด้วย แล้วขอส่งสำเนาเอกสารไว้แทนก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับของเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับ ศาลชั้นต้นย่อมรับฟังสำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) และมาตรา 125 ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ระบุว่า กรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัทโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทโจทก์และผูกพันบริษัทโจทก์ได้ อ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจแทนบริษัทโจทก์ได้ ไม่จำต้องประทับตราของบริษัทโจทก์ ส่วนการระบุฐานะของผู้มอบอำนาจนั้นไม่มีกฎหมายข้อใดบังคับว่าการลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจต้องระบุฐานะของผู้มอบอำนาจด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจ่าหน้าซองตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้องปรากฏว่าส่งไม่ได้ พนักงานไปรษณีย์ได้ระบุข้อขัดข้องไว้ที่หน้าซองจดหมายว่าไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า และได้ออกใบแจ้งความให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปรับจดหมาย ณ ที่ทำการไปรษณีย์ แสดงว่าพนักงานไปรษณีย์พบบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ส่งจดหมายไม่ได้เพราะไม่มีบุคคลใดลงชื่อรับจดหมาย โจทก์จึงได้ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 แล้ว
สัญญาขายลดตั๋วเงิน ข้อ 2 ที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลด และโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินนั้นไม่ได้เมื่อถึงวันกำหนดใช้เงินนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนลดเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในกรณีลูกหนี้ผิดนัด ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดให้ยึดทรัพย์ที่จำนองทั้ง 3 รายการมาชำระหนี้โจทก์โดยคิดดอกเบี้ยหนี้จำนองในวันก่อนทำสัญญาและวันทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะดอกเบี้ยหนี้จำนองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อธนาคารตามเช็คแต่ละฉบับปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่นเดียวกับหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งเป็นหนี้ประธาน
เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยลดลงผู้ค้ำประกันและผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมจะต้องรับผิดลดลงด้วยในฐานะลูกหนี้ร่วมและเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12207/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์อาการป่วยเพื่อขอเลื่อนคดี ศาลมีอำนาจตรวจอาการและไม่อนุญาตเลื่อนหากไม่พิสูจน์ได้
เมื่อศาลสงสัยว่าทนายจำเลยมีอาการป่วยร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้หรือไม่ ศาลมีอำนาจที่จะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปทำการตรวจดูว่าทนายจำเลยป่วยจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีหรือไม่ การที่ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจทนายจำเลย โดยให้แพทย์ตรวจอาการแสดงว่า ศาลมีความสงสัยตามควรแล้วว่าทนายจำเลยจะป่วยเจ็บตามคำร้องถึงกับจะมาศาลไม่ได้จริงหรือไม่ เมื่อทนายจำเลยมีภาระพิสูจน์แต่มิได้พิสูจน์ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนการนั่งพิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป จึงชอบแล้ว
ชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ พยานจำเลยซึ่งคือตัวจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่ามีเหตุขัดข้องว่ามีเหตุอันควรอย่างไรจึงมาศาลไม่ได้ จำเลยไม่มีพยานมาสืบโจทก์จึงไม่มีอะไรให้ต้องสืบคัดค้าน คดีเสร็จการพิจารณาและเมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจึงต้องงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่และให้ยกคำร้อง เพราะการไต่สวนคำร้องต่อไปจะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาสั่งให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ 167

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีต้องแสดงเหตุให้ศาลเห็นว่าหากไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรม แม้ป่วยจริงก็ต้องแสดงเหตุผลประกอบ
ในการขอเลื่อนคดีของคู่ความนั้น กฎหมายได้บัญญัติรายละเอียดและเหตุที่จะขอเลื่อนคดีไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 39 และ 40 การที่จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่ 5 และยื่นใบรับรองแพทย์มาด้วยเพื่อยืนยันว่าทนายจำเลยทั้งสองป่วยจริงไม่สามารถมาศาลได้ แม้โจทก์มิได้คัดค้านและข้อเท็จจริงจะฟังว่าทนายจำเลยทั้งสองป่วยจริงซึ่งมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ แต่คำร้องขอเลื่อนคดีระบุเพียงว่าขอเลื่อนคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ได้แสดงให้เห็นชัดเจนในคำร้องว่าหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง อีกทั้งการที่คู่ความขอเลื่อนคดีเพราะป่วยเจ็บ ศาลก็ไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 41 กล่าวคือ ตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจอาการป่วยเจ็บเสมอไป เพราะกรณีตามมาตรา 41 นั้น เป็นเรื่องที่ศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่เชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีป่วยถึงกับไม่สามารถมาศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5734/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีฟื้นฟูกิจการเนื่องจากทนายป่วยเจ็บ ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและใช้ดุลพินิจอย่างสมเหตุสมผล
ในกรณีเจ้าหนี้ขอเลื่อนคดีในการพิจารณาคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้นัดแรกไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 15แต่เจ้าหนี้จะขอเลื่อนคดีได้ต้องเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
การร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุป่วยเจ็บนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 และ 41 มิได้บังคับว่าผู้ที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย จึงอยู่ที่ข้อเท็จจริงว่า ทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ หากศาลมีความสงสัยว่าทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ และอาการที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นร้ายแรงถึงกับไม่สามารถจะมาศาลได้หรือไม่ ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานของศาลไปทำการตรวจดูว่าทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บหรือไม่เพียงใดแล้วจึงวินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีนั้นตามมาตรา 41 ก็ได้ การที่ศาลล้มละลายกลางมิได้ดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวย่อมแสดงว่าศาลมิได้มีความสงสัยในเรื่องที่ทนายเจ้าหนี้อ้างว่าป่วยเจ็บตามคำร้องจึงรับฟังได้ว่าทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บและไม่สามารถมาศาลได้เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้องของทนายเจ้าหนี้ และยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ไม่มีพยานมาสืบ ไม่ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149-7150/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการสืบพยานหลายครั้งและทุกครั้งก็ได้กำชับโจทก์ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมสืบ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม ครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นได้กำชับโจทก์อีกว่าหากมีเหตุขัดข้องเกี่ยวกับพยานจะถือว่าโจทก์ประวิงคดี แต่โจทก์ก็ขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่าทนายโจทก์ป่วย แต่เมื่อตรวจดูใบความเห็นแพทย์ท้ายคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์แล้ว ปรากฏว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดและคออักเสบ เป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย มิได้มีอาการหนักถึงกับไปศาลไม่ได้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องให้แพทย์ไปตรวจแล้วจึงมีคำสั่งดังโจทก์อ้าง อีกทั้งยังปรากฏอีกว่าโจทก์ไม่มีพยานไปศาลและโจทก์ไม่ได้ขอหมายเรียกพยานไว้ พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลือจึงชอบแล้ว
พยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความว่าไม่รู้เห็นและไม่อาจยืนยันได้ว่าลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้นเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานเอกสารของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชี สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาอื่นกับโจทก์ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธว่าลายมือชื่อในเอกสารของโจทก์มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญก็ลงความเห็นว่าลายมือชื่อในตัวอย่างและเอกสารของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักในการรับฟังมากกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลเมื่อมีเหตุจำเป็นหรือไม่สมควร
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้งครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วย ครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลยไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าวเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี
การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเอง คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และการใช้ดุลพินิจของศาลที่ไม่ต้องตั้งเจ้าพนักงานตรวจอาการ
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วยครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและ ตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับ ทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลย ไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการ ปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลย ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าว เป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเองคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
of 6