พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลยและการงดสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
ในระหว่างนัดสืบพยานจำเลยทั้งสาม ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ขอเลื่อนคดีมาแล้วรวม 3 ครั้งติดต่อกัน โดยนัดที่หนึ่งอ้างเหตุว่า ตัวจำเลยที่ 1ติดธุระสำคัญที่กรุงเทพฯ นัดที่สองอ้างว่า ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ติดธุระที่จังหวัดพิษณุโลก และนัดที่สามอ้างว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอาการป่วย สำหรับวันนัดที่สี่ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ไม่สามารถติดตามพยานมาได้ทั้ง ๆ ที่ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สามนั้น ศาลชั้นต้นได้กำชับว่า นัดหน้าให้จำเลยทั้งสามเตรียมพยานมาให้พร้อม หากมีการขอเลื่อนคดีเพราะเหตุขัดข้องทางฝ่ายจำเลยอีก จะถือว่าประวิงคดีและศาลจะสั่งงดสืบพยานจำเลยเสีย ซึ่งทนายจำเลยที่ 2ก็ยอมรับเงื่อนไขตามคำสั่งของศาลดังกล่าว พฤติการณ์ของทนายจำเลยที่ 2 ส่อแสดงถึงความไม่เอาใจใส่คดีของตนที่ทำหน้าที่อยู่ กับไม่นำพาต่อคำสั่งศาลที่กำชับนั้น เพราะถ้าหากสนใจคดีแล้วทนายจำเลยที่ 2 ก็ย่อมติดต่อหรือนำตัวพยานมาสืบในวันนัดได้แต่หาได้ดำเนินการเช่นนั้นไม่ กลับจะขอเลื่อนคดีไปเรื่อย ๆ โดยไร้จุดมุ่งหมายถือว่าจำเลยที่ 2 ประวิงคดีให้ชักช้า ทั้งเหตุที่ทนายจำเลยที่ 2 อ้างขอเลื่อนคดีเป็นนัดที่สี่ดังกล่าวก็มิใช่เหตุเกิดจากความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 2 จนไม่อาจดำเนินคดีได้ จึงไม่เป็นกรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ดังนั้น คำสั่งของศาลขั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยที่ 2 แล้ว
ตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่ง ป.วิ.พ.ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้ ข้ออ้าง
ตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่ง ป.วิ.พ.ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้ ข้ออ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนการพิจารณาคดีเนื่องจากป่วยและการดำเนินการตามขั้นตอนของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาศาลแล้วยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา โดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่ามีเหตุสมควรที่จะให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและศาลชั้นต้นควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยต่อไปหรือไม่เป็นการไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ประกอบด้วยมาตรา 246 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41ถ้ามีการเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าผู้ใดไม่สามารถมาศาลได้เพราะเจ็บป่วยหากศาลไม่เชื่อว่าเป็นความจริงก็จะต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปตรวจและรายงานให้ศาลทราบเสียก่อน จึงจะสั่งให้อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วมีคำสั่งว่า ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยป่วยไม่สามารถมาศาลได้เป็นการข้ามขั้นตอน จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนการพิจารณาคดีเนื่องจากป่วย และหน้าที่ศาลในการตรวจสอบอาการป่วยก่อนมีคำสั่ง
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นดังที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาศาลแล้วยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยโดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาโดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่ามีเหตุสมควรที่จะให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและศาลชั้นต้นควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยต่อไปหรือไม่เป็นการไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา41ถ้ามีการเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าผู้ใดไม่สามารถมาศาลได้เพราะเจ็บป่วยหากศาลไม่เชื่อว่าเป็นความจริงก็จะต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปตรวจและรายงานให้ศาลทราบเสียก่อนจึงจะสั่งให้อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วมีคำสั่งว่าไม่น่าเชื่อว่าจำเลยป่วยไม่สามารถมาศาลได้เป็นการข้ามขั้นตอนจึงไม่ชอบด้วยมาตรา41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, การประวิงคดี: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173(1) หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา24 ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้องของจำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, คำสั่งศาลเลื่อนคดี: กรณีศึกษาความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วมและการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้อง ของ จำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้นโดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท. ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคาร ท. มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ด้วย กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 และแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ ดังนั้นโจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่ และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เพียงไรจะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง 2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อมจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายความป่วย ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้เลื่อนคดีได้ การใช้ดุลพินิจศาล
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นอ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดงซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอต่อมทอนซิลอักเสบอ่อนเพลียอันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา41หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา40จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้วมิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริงจึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บจึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้นจึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดีและเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดีจำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายความป่วย: ศาลใช้ดุลพินิจตามเหตุผลสมควร และจำกัดค่าธรรมเนียมศาลฎีกาเฉพาะประเด็นที่ฎีกา
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่น อ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ อ่อนเพลียอันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้ว มิได้คัดค้านว่าคำร้อง ของ ทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริงจึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บ จึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้น จึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดี และเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดี จำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้ จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายโจทก์ป่วย: ศาลรับฟังเหตุผลและอำนาจการไต่สวน/ตรวจสอบของศาล
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่น อ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ อ่อนเพลีย อันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้ว มิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริง จึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 21 (4)หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บ จึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง
คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้น จึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดี และเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดี จำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้ จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่
คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้น จึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดี และเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดี จำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้ จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4694/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: ศาลต้องไต่สวนเพื่อพิสูจน์อาการป่วยก่อนวินิจฉัย
ในวันนัดสืบพยานนัดแรกซึ่งเป็นการนัดสืบพยานจำเลยทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่าไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากป่วยเป็นไข้หวัดมีอาการปวดศีรษะไอเจ็บคออ่อนเพลียโจทก์รับสำเนาคำร้องแล้วแถลงคัดค้านว่าทนายจำเลยไม่ป่วยจริงดังนั้นศาลชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา41วรรคหนึ่งคือตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจทนายจำเลยหรือให้แพทย์ไปตรวจด้วยแล้วพิจารณาจากรายงานของผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจดังกล่าวหากเชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงก็อนุญาตให้เลื่อนคดีไปตามขอแต่หากอาการป่วยไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ก็ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของทนายจำเลยการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไปในทันทีว่าไม่น่าเชื่อว่าทนายจำเลยจะป่วยถึงขนาดมาศาลไม่ได้จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบโดยไม่ได้ดำเนินการไต่สวนหรือตั้งผู้ใดไปตรวจสอบจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4694/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: ศาลต้องตรวจสอบอาการก่อนปฏิเสธคำร้อง
ในวันนัดสืบพยานนัดแรกซึ่งเป็นการนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่าไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากป่วยเป็นไข้หวัด มีอาการปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย โจทก์รับสำเนาคำร้องแล้วแถลงคัดค้านว่าทนายจำเลยไม่ป่วยจริง ดังนั้นศาลชอบที่จะดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่ง คือตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจทนายจำเลยหรือให้แพทย์ไปตรวจด้วย แล้วพิจารณาจากรายงานของผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจดังกล่าวหากเชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงก็อนุญาตให้เลื่อนคดีไปตามขอ แต่หากอาการป่วยไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ก็ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของทนายจำเลย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไปในทันทีว่าไม่น่าเชื่อว่าทนายจำเลยจะป่วยถึงขนาดมาศาลไม่ได้ จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบโดยไม่ได้ดำเนินการไต่สวนหรือตั้งผู้ใดไปตรวจสอบจึงไม่ชอบ