พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานได้เมื่อทุกฝ่ายตกลง และไม่จำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์นำส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานเอกสารต่อศาล จำเลยที่ 2 ไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่าโจทท์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจมาสืบแต่อย่างใด จึงเท่ากับว่าคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงให้ศาลยอมรับฟังสำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) สำเนาหนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงหาใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตมป์ไม่ และสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมขนส่งสินค้าและการรับฟังพยานหลักฐานจากสำเนาเอกสารที่ไม่มีการโต้แย้ง
ในขณะที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนากรมธรรม์ประกันภัยและสำเนาหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของบริษัท พ. เป็นพยาน จำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการโต้แย้งหรือคัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับ หรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือแต่บางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ศาลไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 125 จำเลยที่ 1 เพียงแต่ถามค้าน ป. พยานโจทก์เกี่ยวกับสำเนากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวว่า ข้อความเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวปรากฏตามเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเพียงสำเนาไม่ใช่ต้นฉบับเท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ถูกต้องตรงกับต้นฉบับแล้ว ศาลจึงรับฟังเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง ขายลดเช็ค ผิดนัดชำระหนี้ ศาลลดดอกเบี้ยเบี้ยปรับและแก้ไขคำพิพากษา
ตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปรากฏว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ป่วยเป็นไข้ มีอาการวิงเวียนศีรษะ ส่วนที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าป่วยเป็นไข้หวัดนั้น โดยไม่มีใบรับรองแพทย์มายืนยันว่าป่วยถึงขนาดไม่สามารถมาศาลได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวประกอบกับการขอเลื่อนคดีหลายครั้งเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่สั่งเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้ว และคำร้องขอเลื่อนคดีดังกล่าวปรากฏว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ออกไปซื้อยามารับประทานแล้วนอนพักผ่อน แสดงว่าอาการเจ็บป่วยของทนายความจำเลยที่ 1 และที่ 2 และตัวจำเลยที่ 2 เป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และไม่มีความจำเป็นต้องตั้งเจ้าพนักงานหรือแพทย์ไปตรวจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 และมาตรา 41
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะความจริงแล้ว อ. ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการในนามโจทก์ อีกทั้งหนังสือรับรองดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ อ. จึงไม่มีอำนาจกระทำการในนามโจทก์เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อสู้แต่เพียงว่า อ. ไม่ได้เป็นกรรมการของโจทก์ และหนังสือดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับ หรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านเอกสารดังกล่าวไว้แล้ว ประกอบกับขณะที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าว พยานโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมหาชน มี อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามหนังสือรับรองพร้อมสำเนาหมาย จ.13 แสดงว่าโจทก์ได้นำเอาต้นฉบับเอกสารมาแสดงให้ศาลชั้นต้นดูด้วย แล้วขอส่งสำเนาเอกสารไว้แทนก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับของเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับ ศาลชั้นต้นย่อมรับฟังสำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) และมาตรา 125 ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ระบุว่า กรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัทโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทโจทก์และผูกพันบริษัทโจทก์ได้ อ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจแทนบริษัทโจทก์ได้ ไม่จำต้องประทับตราของบริษัทโจทก์ ส่วนการระบุฐานะของผู้มอบอำนาจนั้นไม่มีกฎหมายข้อใดบังคับว่าการลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจต้องระบุฐานะของผู้มอบอำนาจด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจ่าหน้าซองตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้องปรากฏว่าส่งไม่ได้ พนักงานไปรษณีย์ได้ระบุข้อขัดข้องไว้ที่หน้าซองจดหมายว่าไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า และได้ออกใบแจ้งความให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปรับจดหมาย ณ ที่ทำการไปรษณีย์ แสดงว่าพนักงานไปรษณีย์พบบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ส่งจดหมายไม่ได้เพราะไม่มีบุคคลใดลงชื่อรับจดหมาย โจทก์จึงได้ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 แล้ว
สัญญาขายลดตั๋วเงิน ข้อ 2 ที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลด และโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินนั้นไม่ได้เมื่อถึงวันกำหนดใช้เงินนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนลดเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในกรณีลูกหนี้ผิดนัด ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดให้ยึดทรัพย์ที่จำนองทั้ง 3 รายการมาชำระหนี้โจทก์โดยคิดดอกเบี้ยหนี้จำนองในวันก่อนทำสัญญาและวันทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะดอกเบี้ยหนี้จำนองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อธนาคารตามเช็คแต่ละฉบับปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่นเดียวกับหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งเป็นหนี้ประธาน
เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยลดลงผู้ค้ำประกันและผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมจะต้องรับผิดลดลงด้วยในฐานะลูกหนี้ร่วมและเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะความจริงแล้ว อ. ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการในนามโจทก์ อีกทั้งหนังสือรับรองดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ อ. จึงไม่มีอำนาจกระทำการในนามโจทก์เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อสู้แต่เพียงว่า อ. ไม่ได้เป็นกรรมการของโจทก์ และหนังสือดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับ หรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านเอกสารดังกล่าวไว้แล้ว ประกอบกับขณะที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าว พยานโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมหาชน มี อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามหนังสือรับรองพร้อมสำเนาหมาย จ.13 แสดงว่าโจทก์ได้นำเอาต้นฉบับเอกสารมาแสดงให้ศาลชั้นต้นดูด้วย แล้วขอส่งสำเนาเอกสารไว้แทนก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับของเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับ ศาลชั้นต้นย่อมรับฟังสำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) และมาตรา 125 ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ระบุว่า กรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัทโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทโจทก์และผูกพันบริษัทโจทก์ได้ อ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจแทนบริษัทโจทก์ได้ ไม่จำต้องประทับตราของบริษัทโจทก์ ส่วนการระบุฐานะของผู้มอบอำนาจนั้นไม่มีกฎหมายข้อใดบังคับว่าการลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจต้องระบุฐานะของผู้มอบอำนาจด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจ่าหน้าซองตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้องปรากฏว่าส่งไม่ได้ พนักงานไปรษณีย์ได้ระบุข้อขัดข้องไว้ที่หน้าซองจดหมายว่าไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า และได้ออกใบแจ้งความให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปรับจดหมาย ณ ที่ทำการไปรษณีย์ แสดงว่าพนักงานไปรษณีย์พบบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ส่งจดหมายไม่ได้เพราะไม่มีบุคคลใดลงชื่อรับจดหมาย โจทก์จึงได้ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 แล้ว
สัญญาขายลดตั๋วเงิน ข้อ 2 ที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลด และโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินนั้นไม่ได้เมื่อถึงวันกำหนดใช้เงินนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนลดเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในกรณีลูกหนี้ผิดนัด ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดให้ยึดทรัพย์ที่จำนองทั้ง 3 รายการมาชำระหนี้โจทก์โดยคิดดอกเบี้ยหนี้จำนองในวันก่อนทำสัญญาและวันทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะดอกเบี้ยหนี้จำนองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อธนาคารตามเช็คแต่ละฉบับปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่นเดียวกับหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งเป็นหนี้ประธาน
เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยลดลงผู้ค้ำประกันและผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมจะต้องรับผิดลดลงด้วยในฐานะลูกหนี้ร่วมและเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาเอกสาร) แม้ต้นฉบับสูญหาย หากไม่มีข้อโต้แย้งความถูกต้อง
แม้สำเนาใบส่งของจะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าต้นฉบับถูกทำลายไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนามาท้ายฟ้อง จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว เพียงแต่คัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนามิใช่ต้นฉบับ จึงฟังได้ว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องเป็นจริงแล้ว ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาล้มละลาย: การรับฟังเอกสารสำเนาและภาระการนำสืบของลูกหนี้
แม้หนังสือมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจช่วง และสัญญาโอนสินทรัพย์ เป็นสำเนาเอกสาร แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งบันทึกเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีในช่วงเวลาที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน จำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารว่าไม่ถูกต้อง ศาลไม่ควรรับเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 คงมีแต่เพียงคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 2 ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนาเอกสารใช่หรือไม่เท่านั้น ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) ส่วนหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเป็นต้นฉบับเอกสาร การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นการโอนหนี้ด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 9 ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ หรือบอกกล่าวการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 โจทก์จึงเข้าสวมสิทธิของธนาคาร ท เป็นเจ้าหนี้จำเลยทั้งสองได้ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น การฟ้องคดีของโจทก์ฟ้องโดยอาศัยข้อสันนิษฐานอื่นไม่ใช่ข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) เรื่องการทวงถาม จึงไม่ต้องทวงถามก่อนฟ้อง โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5825/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินที่ไม่สมบูรณ์และผลกระทบต่อการบังคับชำระหนี้
โจทก์กลัวว่าจำเลยจะไม่ชำระหนี้แก่ธนาคารจึงให้จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ยึดถือไว้โดยไม่มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินกันจริง สัญญากู้ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินแก่โจทก์
เมื่อจำเลยอ้างถึงสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาสัญญาจำนอง สำเนาสัญญาค้ำประกัน และสำเนาสัญญากู้เงินถามค้านพยานโจทก์ โจทก์ก็มิได้คัดค้านสำเนาเอกสารนั้น ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (1)
เมื่อจำเลยอ้างถึงสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาสัญญาจำนอง สำเนาสัญญาค้ำประกัน และสำเนาสัญญากู้เงินถามค้านพยานโจทก์ โจทก์ก็มิได้คัดค้านสำเนาเอกสารนั้น ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5825/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินที่ทำขึ้นเพื่อประกันหนี้เดิม ย่อมตกเป็นโมฆะ หากไม่มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินกันจริง
โจทก์กลัวว่าจำเลยจะไม่ชำระหนี้แก่ธนาคารจึงให้จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ยึดถือไว้โดยไม่มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินกันจริง สัญญากู้ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินแก่โจทก์
เมื่อจำเลยอ้างถึงสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาสัญญาจำนอง สำเนาสัญญาค้ำประกัน และสำเนาสัญญากู้เงินถามค้านพยานโจทก์ โจทก์ก็มิได้คัดค้านสำเนาเอกสารนั้น ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)
เมื่อจำเลยอ้างถึงสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาสัญญาจำนอง สำเนาสัญญาค้ำประกัน และสำเนาสัญญากู้เงินถามค้านพยานโจทก์ โจทก์ก็มิได้คัดค้านสำเนาเอกสารนั้น ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานได้ หากคู่ความตกลงและจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้เขียน
จำเลยเบิกความยอมรับว่า เป็นผู้เขียนข้อความทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมทั้งเป็นผู้วาดแผนที่ไว้ในสำเนาแบบแสดงรายการที่ดินแม้เอกสารดังกล่าวจะมิใช่ต้นฉบับที่แท้จริง แต่เป็นภาพถ่ายสำเนามาจากต้นฉบับซึ่งจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้เขียนเอง เมื่อโจทก์ก็ยอมรับไม่โต้เถียงความไม่ถูกต้อง จึงต้องถือว่าคู่ความทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว สามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำเนาที่คู่ความตกลงกัน
จำเลยเบิกความยอมรับว่า เป็นผู้เขียนข้อความทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมทั้งเป็นผู้วาดแผนที่ไว้ในสำเนาแบบแสดงรายการที่ดิน แม้เอกสารดังกล่าวจะมิใช่ต้นฉบับที่แท้จริง แต่เป็นภาพถ่ายสำเนามาจากต้นฉบับซึ่งจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้เขียนขึ้นเอง เมื่อโจทก์ก็ยอมรับไม่โต้เถียงความไม่ถูกต้อง จึงต้องถือว่าคู่ความทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว สามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ กรณีจำเลยโต้แย้งเอกสารปลอมแต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรหรือใบบันทึกค่าสินค้าและบริการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข8และ9เป็นเอกสารปลอมจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้คัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าต้นฉบับปลอมทั้งฉบับก่อนวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125วรรคสองแล้วและมีสิทธิคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นได้ เมื่อจำเลยที่1ใช้บัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรสของโจทก์แทนเงินสดในการชำระค่าสินค้าและบริการแต่ละครั้งจะมีการทำเอกสารชุดละ3แผ่นร้านค้าเก็บไว้1แผ่นมอบให้จำเลยที่1เก็บไว้1แผ่นและส่งมาเรียกเก็บเงินจากโจทก์1แผ่นซึ่งโจทก์จะนำไปถ่ายเป็นไมโครฟิล์มไว้แล้วส่งหลักฐานที่ร้านค้าส่งมาให้โจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่1พร้อมใบแจ้งหนี้จึงไม่มีต้นฉบับหรือสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรดังกล่าวอยู่ที่โจทก์เมื่อโจทก์อ้างว่าต้นฉบับใบบันทึกการใช้บัตรอยู่ที่จำเลยทั้งสองแต่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรหรือใบบันทึกค่าสินค้าและบริการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข9ซึ่งตรงกับสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเอกสารหมายจ.8เป็นเอกสารปลอมจึงเท่ากับจำเลยทั้งสองไม่รับว่าต้นฉบับใบบันทึกการใช้บัตรหรือใบบันทึกค่าสินค้าและบริการดังกล่าวอยู่ที่จำเลยทั้งสองถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารใบบันทึกค่าสินค้าและบริการมาได้เมื่อเอกสารหมายจ.8เป็นสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเป็นค่าสินค้าและบริการซึ่งเป็นภาพถ่ายจากไมโครฟิล์มที่โจทก์ถ่ายจากสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเป็นค่าสินค้าและบริการของจำเลยที่1ที่ร้านค้าส่งไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์เอกสารหมายจ.8จึงเป็นสำเนาที่ถูกต้องของต้นฉบับเอกสารศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารหมายจ.8ซึ่งเป็นสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2) จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเป็นค่าสินค้าและบริการของจำเลยที่2และสำเนาใบบันทึกการเบิกเงินสดของจำเลยที่2พร้อมกับฟ้องแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานโดยเหตุว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับและไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้นรวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125แล้วศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(1)