คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้สินทางแพ่งของหน่วยงานราชการ และความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการกระทำของลูกน้อง
คดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยสองคนรับผิดทางแพ่ง ปรากฏว่าจำเลยคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล และมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลนั้น ทั้งพยานหลักฐานส่วนใหญ่ก็อยู่ในจังหวัดนั้นด้วย ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องจนศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลได้ การที่ศาลรับฟ้องคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาจึงเป็นการชอบแล้ว
เดิมกรมทางหลวงมีชื่อว่ากรมทางหลวงแผ่นดิน สังกัดกระทรวงคมนาคมต่อมาได้มีกฎหมายบัญญัติให้กรมทางหลวงแผ่นดินอยู่ในสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ฯลฯ ไปเป็นของกรมทางหลวงนั้น โดยผลแห่งกฎหมาย หนี้สินและสิทธิเรียกร้องที่กรมทางหลวงแผ่นดินมีต่อจำเลยลูกหนี้ย่อมโอนไปยังกรมทางหลวงโจทก์ โดยมิพักต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แต่อย่างใด และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ได้ยักยอกเงินของทางราชการไปด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด
กรณีละเมิดนั้น เมื่อโจทก์เพิ่งได้ทราบเรื่องจำเลยยักยอกจากการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานการสอบสวนจากพนักงานเจ้าหน้าที่และมาฟ้องคดีในเวลายังไม่ครบ 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและรู้ถึงการกระทำละเมิด คดีของโจทก์จึงยังหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่ง, การโอนหนี้สิน, ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อลูกน้อง, และอายุความละเมิด
คดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยสองคนรับผิดทางแพ่ง ปรากฏว่าจำเลยคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล และมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลนั้น ทั้งพยานหลักฐานส่วนใหญ่ก็อยู่ในจังหวัดนั้นด้วยทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องจนศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลได้ การที่ศาลรับฟ้องคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาจึงเป็นการชอบแล้ว
เดิมกรมทางหลวงมีชื่อว่ากรมทางหลวงแผ่นดิน สังกัดกระทรวงคมนาคม ต่อมาได้มีกฎหมายบัญญัติให้กรมทางหลวงแผ่นดินอยู่ในสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ฯลฯ ไปเป็นของกรมทางหลวงนั้น โดยผลแห่งกฎหมาย หนี้สินและสิทธิเรียกร้องที่กรมทางหลวงแผ่นดินมีต่อจำเลยลูกหนี้ย่อมโอนไปยังกรมทางหลวงโจทก์ โดยมิพักต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แต่อย่างใดและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ได้ยักยอกเงินของทางราชการไปด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด
กรณีละเมิดนั้น เมื่อโจทก์เพิ่งได้ทราบเรื่องจำเลยยักยอกจากการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานการสอบสวนจากพนักงานเจ้าหน้าที่และมาฟ้องคดีในเวลายังไม่ครบ 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและรู้ถึงการกระทำละเมิด คดีของโจทก์จึงยังหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกรมทางหลวง, ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการยักยอกเงิน, และอายุความละเมิด
คดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยสองคนรับผิดทางแพ่ง. ปรากฏว่าจำเลยคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล และมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลนั้น ทั้งพยานหลักฐานส่วนใหญ่ก็อยู่ในจังหวัดนั้นด้วย.ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องจนศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลได้. การที่ศาลรับฟ้องคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาจึงเป็นการชอบแล้ว.
เดิมกรมทางหลวงมีชื่อว่ากรมทางหลวงแผ่นดิน สังกัดกระทรวงคมนาคม. ต่อมาได้มีกฎหมายบัญญัติให้กรมทางหลวงแผ่นดินอยู่ในสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ. และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ฯลฯ ไปเป็นของกรมทางหลวงนั้น. โดยผลแห่งกฎหมาย หนี้สินและสิทธิเรียกร้องที่กรมทางหลวงแผ่นดินมีต่อจำเลยลูกหนี้ย่อมโอนไปยังกรมทางหลวงโจทก์. โดยมิพักต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แต่อย่างใด.และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้.
การที่จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ได้ยักยอกเงินของทางราชการไปด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเช่นนี้. จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด.
กรณีละเมิดนั้น เมื่อโจทก์เพิ่งได้ทราบเรื่องจำเลยยักยอกจากการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานการสอบสวนจากพนักงานเจ้าหน้าที่.และมาฟ้องคดีในเวลายังไม่ครบ 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและรู้ถึงการกระทำละเมิด. คดีของโจทก์จึงยังหาขาดอายุความไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถิ่นที่อยู่จำเลยหลายแห่ง ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้หากจำเลยทราบฟ้องและต่อสู้คดี
จำเลยมีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง โจทก์จะถือเอาแห่งหนึ่งแห่งใดเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อยื่นคำฟ้องก็ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ที่บัญญัติให้เสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลก็เพื่อให้จำเลยได้ฟังคดีของตนและต่อสู้คดีได้เต็มที่เมื่อจำเลยได้ทราบคำฟ้องและต่อสู้คดีเต็มที่แล้ว จึงหาขัดกฎหมายไม่ (อ้างฎีกาที่ 1233/2506)
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ 2 รายรวม 2,387 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,729.93บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ 1 รายจำนวน 774 บาทพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยชำระเงินเต็มตามฟ้อง ถือว่าแก้ไขเพียงเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยหลายแห่ง การฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณา และการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
จำเลยมีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง โจทก์จะถือเอาแห่งหนึ่งแห่งใดเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อยื่นคำฟ้องก็ได้.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ที่บัญญัติให้เสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ก็เพื่อให้จำเลยได้ฟังคดีของตนและต่อสู้คดีได้เต็มที่เมื่อจำเลยได้ทราบคำฟ้องและต่อสู้คดีเต็มที่แล้ว จึงหาขัดกฎหมายไม่ (อ้างฎีกาที่ 1233/2506)
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ 2 รายรวม 2,387 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,729.93 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ 1 รายจำนวน 774 บาทพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยชำระเงินเต็มตามฟ้อง ถือว่าแก้ไขเพียงเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยหลายแห่ง: ศาลมีอำนาจฟ้องได้หากจำเลยทราบและต่อสู้คดี
จำเลยมีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง โจทก์จะถือเอาแห่งหนึ่งแห่งใดเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อยื่นคำฟ้องก็ได้.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ที่บัญญัติให้เสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล. ก็เพื่อให้จำเลยได้ฟังคดีของตนและต่อสู้คดีได้เต็มที่.เมื่อจำเลยได้ทราบคำฟ้องและต่อสู้คดีเต็มที่แล้ว จึงหาขัดกฎหมายไม่ (อ้างฎีกาที่ 1233/2506).
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ 2 รายรวม 2,387 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,729.93บาท. ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ 1 รายจำนวน774 บาทพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง. ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยชำระเงินเต็มตามฟ้อง ถือว่าแก้ไขเพียงเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร การมอบอำนาจ และความรับผิดของผู้ถือประทานบัตร รวมถึงการคำนวณค่าเสียหาย
ใบอนุญาตร่อนแร่นั้น กฎหมายห้ามมิให้ผู้ถือเอาให้ผู้อื่นนำไปใช้ อาชญาบัตรตรวจแร่ผู้ถือให้ผู้อื่นใช้ก็ได้ โดยจำกัดให้คุ้มถึงเฉพาะลูกจ้างของผู้ถืออาชญาบัตร แต่ประทานบัตรนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังใบอนุญาตร่อนแร่หรืออาชญาบัตรตรวจแร่ไม่
การที่จำเลยผู้ถือประทานบัตรมอบอำนาจให้โจทก์ทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร มิได้โอนประทานบัตรให้โจทก์ แม้โจทก์จะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย จำเลยก็ยังคงเป็นผู้ถือประทานบัตร หากจะมีความรับผิดเกิดขึ้นตามประทานบัตรอย่างใด จำเลยก็ยังคงรับผิดอยู่อย่างนั้น การมอบอำนาจและชักเอาประโยชน์ในกรณีเช่นนี้ หาทำให้มีผลให้ผู้ใดต้องขายผลิตผลของตนแก่ผู้รับมอบอำนาจถูกลงไม่ และก็ไม่มีผลทำให้ผู้ใดต้องซื้อแร่จากผู้รับมอบอำนาจแพงขึ้นกว่าราคาตลาดแต่ประการใด สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7-8/2509)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 ตัวการจะถอนตัวแทนเสียเวลาใดก็ได้ทุกเมื่อ เหตุนี้ แม้การถอนอำนาจจะเป็นการผิดสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจก็ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยมอบอำนาจให้ตนได้ทำเหมืองแร่ต่อไปจนครบกำหนดเวลาตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์ย่อมต้องรับรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว ดังนี้ ศาลย่อมคำนวณค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งโดยกะประมาณจากรายได้ของโจทก์ชั่วระยะเวลาที่โจทก์ควรจะระงับความเสียหายของโจทก์ที่จะมีต่อไป เพราะไม่สามารถทำเหมืองแร่ของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนหนึ่งเป็นค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ให้โจทก์ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจำเลยเป็นนิติบุคคล แม้จะจดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรคสอง ถิ่นที่นิติบุคคลมีสาขาสำนักงานจะจัดเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณที่นั้นก็ได้ เมื่อจำเลยมีสำนักงานสาขาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องคดีนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร การผิดสัญญา และการคำนวณค่าเสียหาย
ในอนุญาตร่อนแร่นั้น กฎหมายห้ามมิให้ผู้ถือเอาให้ผู้อื่นนำไปใช้ อาชญาบัตรตรวจแร่ผู้ถือให้ผู้อื่นใช้ก็ได้ โดยจำกัดให้คุ้มถึงเฉพาะลูกจ้างของผู้ถืออาชญาบัตร แต่ประทานบัตรนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังใบอนุญาตร่อนแร่หรืออาชญาบัตรตรวจแร่ไม่
การที่จำเลยผู้ถือประทานบัตรมอบอำนาจให้โจทก์ทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร มิได้โอนประทานบัตรให้โจทก์ แม้โจทก์จะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย จำเลยก็ยังคงเป็นผู้ถือประทานบัตร หากจะมีความรับผิดเกิดขึ้นตามประทานบัตรอย่างใด จำเลยก็ยังคงรับผิดอยู่อย่างนั้น การมอบอำนาจและชักเอาประโยชน์ในกรณีเช่นนี้ หาทำให้มีผลให้ผู้ใดต้องขายผลิตผลของตนแก่ผู้รับมอบอำนาจถูกลงไม่ และก็ไม่มีผลทำให้ผู้ใดต้องซื้อแร่จากผู้รับมอบอำนาจแพงขึ้นกว่าราคาตลาดแต่ประการใด สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 - 8/2509)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 827 ตัวการจะถอนตัวแทนเสียเวลาใดก็ได้ทุกเมื่อ เหตุนี้ แม้การถอนอำนาจจะเป็นการผิดสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจก็ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยมอบอำนาจให้ตนได้ทำเหมืองแร่ต่อไปจนครบกำหนดเวลาตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์ย่อมต้องรับรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว ดังนี้ ศาลย่อมคำนวณค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งโดยกะประมาณจากรายได้ของโจทก์ชั่วระยะเวลาที่โจทก์ควรจะระงับความเสียหายของโจทก์ที่จะมีต่อไป เพราะไม่สามารถทำเหมืองแร่ของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนหนึ่งเป็นค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ให้โจทก์ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล จำเลยเป็นนิติบุคคล แม้จะจดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรค 2 ถิ่นที่นิติบุคคลมีสาขาสำนักงานจะจัดเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้นก็ได้ เมื่อจำเลยมีสำนักงานสาขาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องคดีนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616-629/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเหตุเพลิงไหม้และการปฏิเสธความรับผิดของบริษัทประกันภัย ทำให้ผู้เอาประกันมีสิทธิฟ้องร้องได้ โดยไม่ต้องรอรายละเอียดทรัพย์สิน
แม้กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า เมื่อเกิดความวินาศหรือความเสียหายใด ๆ ผู้เอาประกันต้องยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรระบุรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่วินาศและจำนวนเงินแห่งความวินาศภายใน 15 วันก่อนก็ตาม เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ผู้เอาประกันได้แจ้งเหตุวินาศภัยให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยได้ทราบ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ได้เอาประกันภัยไว้ จำเลยกลับตอบปฏิเสธความรับผิด เช่นนี้ โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวอีก เพราะถึงจะส่งคำเรียกร้องและรายละเอียดไป จำเลยก็ไม่พิจารณาชดใช้ให้ตามคำปฏิเสธความรับผิดอยู่นั่นเอง และการตอบปฏิเสธเช่นนั้น ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามที่ตกลงกันแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลได้ แม้ในกรณีที่จำเลยเฉยเสียมิได้ตอบปฏิเสธความรับผิด แต่ได้ให้เลขานุการของจำเลยไปสำรวจความเสียหาย ซึ่งหากมีการเสียหายที่จะคิดชดใช้ให้บ้าง ก็ถือว่าข้อสัญญาให้ส่งบัญชีรายละเอียดนี้ จำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามนัยฎีกาที่ 1215/2502
คำฟ้องของบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจฟ้องอยู่แล้วนั้น ถึงแม้ชั้นยื่นฟ้องจะมีกรรมการบริษัทลงชื่อในคำฟ้องและใบแต่งทนายแต่ผู้เดียว อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ก็ตาม เมื่อศาลได้สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อเสียให้ถูกต้อง ซึ่งโจทก์ก็ได้จัดจัดการแก้ไขโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อครบจำนวนตามข้อบังคับแล้วก่อนที่ศาลจะสั่งให้รับฟ้อง เช่นนี้ ก็ต้องถือว่าคำฟ้องนั้นเป็นคำฟ้องที่ถูกต้อง จำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616-629/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การแจ้งเหตุ, การปฏิเสธความรับผิด, และการมีอำนาจฟ้องของนิติบุคคล
แม้กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า เมื่อเกิดความวินาศหรือความเสียหายใด ๆ ผู้เอาประกันภัยต้องยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรระบุรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่วินาศและจำนวนเงินแห่งความวินาศภายใน 15 วันก่อนก็ตามเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วโจทก์ผู้เอาประกันได้แจ้งเหตุวินาศภัยให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยได้ทราบขอให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ได้เอาประกันภัยไว้ จำเลยกลับตอบปฏิเสธความรับผิดเช่นนี้โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวอีก เพราะถึงจะส่งค่าเรียกร้องและรายละเอียดไปจำเลยก็ไม่พิจารณาชดใช้ให้ตามคำปฏิเสธความรับผิดอยู่นั่นเอง และการตอบปฏิเสธเช่นนั้นถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามที่ตกลงกันแล้วโจทก์จึงมีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลได้ แม้ในกรณีที่จำเลยเฉยเสียมิได้ตอบปฏิเสธความรับผิด แต่ได้ให้เลขานุการของจำเลยไปสำรวจความเสียหายซึ่งหากมีการเสียหายที่จะคิดชดใช้ให้บ้างก็ถือว่าข้อสัญญาให้ส่งบัญชีรายละเอียดนี้ จำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งแล้วโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามนัยฎีกาที่ 1215/2502
คำฟ้องของบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจฟ้องอยู่แล้วนั้นถึงแม้ชั้นยื่นฟ้องจะมีกรรมการบริษัทลงชื่อในคำฟ้องและใบแต่งทนายแต่ผู้เดียวอันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ก็ตามเมื่อศาลได้สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อเสียให้ถูกต้องซึ่งโจทก์ก็ได้จัดการแก้ไขโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อครบจำนวนตามข้อบังคับแล้วก่อนที่ศาลจะสั่งให้รับฟ้องเช่นนี้ ก็ต้องถือว่าคำฟ้องนั้นเป็นคำฟ้องที่ถูกต้องจำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้
of 14