พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฟ้องหย่า: ความสะดวกในการดำเนินคดีและภูมิลำเนาของคู่ความ
โจทก์ซึ่งเป็นสามีจำเลยมีภูมิสำเนาอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ฟ้องขอหย่าขาดกับจำเลยต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดพระนครในเขตศาลแพ่ง แต่มูลคดีอันเป็นเหตุขอหย่าตามที่โจทก์ฟ้อง เกิดขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งตัวโจทก์และพยานโจทก์มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ้าดำเนินการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ จะเป็นการสดวกจึงขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่นนี้ บทกฎหมายอันว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งนั้น บัญญัติขึ้นเพื่อจะให้ความสดวกแก่การฟ้องร้องคดีการต่อสู้คดีและการพิจารณาคดีประกอบกัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้พิจารณาถึงความสดวกเป็นสำคัญ จะว่าหากให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จำเลย จะต้องลำบากในการไปจากจังหวัดพระนคร แต่การให้ไปฟ้องยังศาลในจังหวัดพระนคร โจทก์ก็ต้องลำบากเช่นเดียวกันตามเหตุที่อ้างในคำร้องของโจทก์นั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ก็เป็นศาลที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) และการให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นการสดวกแก่พยาน หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ยังไม่เป็นที่พอใจตามคำร้องของโจทก์หรือสงสัยประการใด ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะสอบถามหรือไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 ก่อนก็ได้
กรณีเช่นนี้ กล่าวทางแง่ของจำเลย หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ อนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ ถ้าไม่มีเหตุสมควรที่จะทำการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ่จำเลยก็ยังมีทางแก้ไข โดยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6 ขอโอนคดีไปยังศาลในจังหวัดพระนครได้
กรณีเช่นนี้ กล่าวทางแง่ของจำเลย หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ อนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ ถ้าไม่มีเหตุสมควรที่จะทำการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ่จำเลยก็ยังมีทางแก้ไข โดยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6 ขอโอนคดีไปยังศาลในจังหวัดพระนครได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขนส่ง กรณีของสูญหายระหว่างขนส่ง และการฟ้องร้องต่อศาลในประเทศไทย
โจทก์เป็นผู้ส่งของและเป็นเจ้าของของนั้นด้วย จำเลยเป็นผู้รับของไปส่งต่างประเทศโดยเป็นตัวแทนของบริษัทขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศ สัญญารับขนทำกันในจังหวัดพระนคร ของสูญหายระหว่างทาง โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกราคาของนั้นจากจำเลยต่อศาลเมืองไทยในจังหวัดพระนครได้
ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติไว้เพื่อความสะดวกแก่บุคคลในประเทศไทยที่จะฟ้องร้องตัวแทนที่อยู่ในประเทศไทยของตัวการที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลไทย แทนที่จะต้องไปฟ้องในศาลต่างประเทศเท่านั้น ไม่ได้หมายความเลยไปว่าตัวการที่อยู่ในต่างประเทศจะไม่มีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่ทำสัญญากับตัวแทนของคนในประเทศไทย และไม่ได้หมายความว่า ตัวแทนไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ตัวการของตนที่อยู่ในต่างประเทศสำหรับหนี้สินใด ๆ ที่ตัวแทนได้ก่อขึ้นเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทน
ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติไว้เพื่อความสะดวกแก่บุคคลในประเทศไทยที่จะฟ้องร้องตัวแทนที่อยู่ในประเทศไทยของตัวการที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลไทย แทนที่จะต้องไปฟ้องในศาลต่างประเทศเท่านั้น ไม่ได้หมายความเลยไปว่าตัวการที่อยู่ในต่างประเทศจะไม่มีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่ทำสัญญากับตัวแทนของคนในประเทศไทย และไม่ได้หมายความว่า ตัวแทนไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ตัวการของตนที่อยู่ในต่างประเทศสำหรับหนี้สินใด ๆ ที่ตัวแทนได้ก่อขึ้นเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ส่งของในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับขนในไทย แม้มีตัวแทนต่างประเทศ
โจทก์เป็นผู้ส่งของและเป็นเจ้าของของนั้นด้วยจำเลยเป็นผู้รับของไปส่งต่างประเทศโดยเป็นตัวแทนของบริษัทขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศสัญญารับขนทำกันในจังหวัดพระนคร ของสูญหายระหว่างทางโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกราคาของนั้นจากจำเลยต่อศาลเมืองไทยในจังหวัดพระนครได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 บัญญัติไว้เพื่อความสะดวกแก่บุคคลในประเทศไทยที่จะฟ้องร้องตัวแทนที่อยู่ในประเทศไทยของตัวการที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลไทย แทนที่จะต้องไปฟ้องในศาลต่างประเทศเท่านั้นไม่ได้หมายความเลยไปว่าตัวการที่อยู่ในต่างประเทศจะไม่มีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่ทำสัญญากับตัวแทนของตนในประเทศไทยและไม่ได้หมายความว่า ตัวแทนไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ตัวการของตนที่อยู่ในต่างประเทศสำหรับหนี้สินใดๆ ที่ตัวแทนได้ก่อขึ้นเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 บัญญัติไว้เพื่อความสะดวกแก่บุคคลในประเทศไทยที่จะฟ้องร้องตัวแทนที่อยู่ในประเทศไทยของตัวการที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลไทย แทนที่จะต้องไปฟ้องในศาลต่างประเทศเท่านั้นไม่ได้หมายความเลยไปว่าตัวการที่อยู่ในต่างประเทศจะไม่มีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่ทำสัญญากับตัวแทนของตนในประเทศไทยและไม่ได้หมายความว่า ตัวแทนไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ตัวการของตนที่อยู่ในต่างประเทศสำหรับหนี้สินใดๆ ที่ตัวแทนได้ก่อขึ้นเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเลิกห้างหุ้นส่วนและการกำหนดอำนาจศาล คดีเลิกหุ้นส่วนไม่จำต้องฟ้องทุกหุ้นส่วน ศาลมีอำนาจตามภูมิลำเนาของจำเลยบางส่วน
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนฟ้องเลิกหุ้นส่วนนั้น ไม่จำต้องฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นอาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หรือจำเลยได้ ไม่มีทางเสียเปรียบหรือเสียหายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติบังคับให้ต้องฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนด้วย
การฟ้องขอเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนนั้น แม้ทรัพย์สินที่พิพาทจะอยู่ที่จังหวัดพังงา และจำเลยคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดภูเก็ต แต่เมื่อจำเลยอื่นมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดพระนครแล้ว ศาลก็ย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องยังศาลในพระนครได้
การฟ้องขอเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนนั้น แม้ทรัพย์สินที่พิพาทจะอยู่ที่จังหวัดพังงา และจำเลยคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดภูเก็ต แต่เมื่อจำเลยอื่นมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดพระนครแล้ว ศาลก็ย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องยังศาลในพระนครได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้พิพากษาเคยตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับคู่ความเดิม สามารถนั่งพิจารณาคดีใหม่ในประเด็นกฎหมายได้
ผู้พิพากษาที่เคยเป็นคณะตัดสินในคดีที่จำเลยเคยฟ้องโจทก์ในมูลกรณีย์เดียวกันกับที่โทก์ฟ้องจำเลยนี้หนหนึ่งแล้วมาเป็นคณะตัดสินในคดีนี้อีกได้ไม่เข้าบทต้องห้ามตามกฎหมายข้างบน พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์สัญญาทางพระราชไมตรี คนบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ ฎีกาได้แต่ในปัญหากฎหมาย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า