คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และประเด็นเขตอำนาจศาลในชั้นดังกล่าว
แม้การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) บัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(3) เรื่องเขตอำนาจศาลไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้พิพากษาหรือจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ คู่ความย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และเขตอำนาจศาลในชั้นคุ้มครองชั่วคราว
แม้การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254 (2) บัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 21 (3)
เรื่องเขตอำนาจศาลไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้พิพากษาหรือจำหน่าย-คดีออกจากสารบบความ คู่ความย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ประเด็นความถูกต้องของราคาและเขตอำนาจศาล
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดิน ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ประเด็นที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันดังกล่าวเกิดจากที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีถูกเวนคืน มูลแห่งคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีเมื่อโจทก์ขออนุญาตฟ้องและศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเขตอำนาจศาลในคดีล้มละลาย: ภูมิลำเนาของลูกหนี้เป็นหลักเกณฑ์สำคัญ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 กำหนดให้ยื่นคำฟ้องคดีล้มละลายต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตส่วนลูกหนี้จะมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ใด ต้องถือตามถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 44 ส่วนการเปลี่ยนภูมิลำเนาจะทำได้ด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาปรากฏว่าจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม มาตรา 48เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเดิมจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครจำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดลำพูนแล้วย้ายต่อไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงว่าจำเลยมีถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ส่วนที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ได้จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลางก็เนื่องจากไม่มีตัวอยู่ในบ้านและไม่ทราบที่อยู่ใหม่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ย้ายที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนภูมิลำเนาไปจากจังหวัดเชียงใหม่แล้วแม้ตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52 และ 53จะถือว่าทะเบียนคนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน และบุคคลซึ่งมีรายการปรากฏอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลาง ไม่อาจจะขอคัดหรือรับรองสำเนารายการเพื่อนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้สิทธิในกรณีต่าง ๆ ได้ก็ตามก็เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียนราษฎรตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น จะถือว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นฟ้องคดีอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่หาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ในขณะยื่นฟ้อง จึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 150 ที่จะต้องไปยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดแพร่ ซึ่งมิใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจ แม้จะเป็นศาลที่มูลคดีเกิดก็ตาม ศาลจังหวัดแพร่ก็ไม่อาจรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้ กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเรื่องจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาอันจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินตามราคาตลาด และเขตอำนาจศาลที่ถูกต้อง
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษ มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23วรรคท้าย ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515 เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง บัญญัติไว้ในข้อ 76 ว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้วให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ" จำเลยจะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่านี้โดยถือตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินหาได้ไม่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเป็นคดีนี้ มีมูลเหตุมาจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืน มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ การที่ศาลแพ่งธนบุรีซึ่งที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ในเขตศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีได้นั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนตามราคาตลาด และเขตอำนาจศาลที่ถูกต้อง
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษ มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23 วรรคท้าย ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง บัญญัติไว้ในข้อ 76 ว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้วให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้(1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ" จำเลยจะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่านี้โดยถือตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินหาได้ไม่
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเป็นคดีนี้ มีมูลเหตุมาจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืน มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ การที่ศาลแพ่งธนบุรีซึ่งที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ในเขตศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีได้นั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5743/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในความเสียหายของสินค้า และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทำหน้าที่แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าทราบว่า เรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย มอบสำเนาใบตราส่งให้โจทก์ ทำหนังสือขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ติดต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ขนตู้สินค้าขึ้นจากเรือ ขนสินค้าออกจากตู้สินค้าและเรียกค่าบริการจากโจทก์ การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าว สินค้าที่ขนส่งมาย่อมไม่อาจถึงมือผู้ซื้อได้พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัทฮ. ผู้ขนส่งทอดแรก อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนทางทะเล โดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในความบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล เมื่อโจทก์ชำระค่าสินค้าไปโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันใดโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันดังกล่าว จำเลยจะขอให้คิดจากอัตราในวันที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าซึ่งมีอัตราต่ำกว่าไม่ได้ คดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง จำเลยจะอ้างว่ามีข้อตกลงให้ฟ้องที่ศาลในต่างประเทศโดยไม่ปรากฏข้อตกลงดังกล่าวในคำแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของนิติบุคคลต่างประเทศ สำนักงานผู้แทนไม่ใช่ภูมิลำเนา โจทก์ฟ้องศาลผิด
พระราชบัญญัติ ญญัติการธนาคารพาณิชย์กำหนดว่า ผู้ใดจะกระทำการแทนธนาคารต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักรหรือธนาคารพาณิชย์ใดนอกจากสาขาธนาคารต่างประเทศ จะตั้งสำนักงานเพื่อกระทำการแทนธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติดังกล่าวห้ามสาขาธนาคารต่างประเทศตั้งสำนักงานเพื่อกระทำแทนไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร จำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจประเภทธนาคารพาณิชย์ หากจำเลยจะตั้งสำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้จัดตั้ง จึงเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยในประเทศไทยในการติดต่อกับบุคคลทั่วไปเท่านั้น ประกอบกับหนังสืออนุญาตของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อนุญาตให้จำเลยตั้งสำนักงานผู้แทนในประเทศไทยระบุว่า สำนักงานผู้แทนของจำเลยจะต้องไม่ประกอบธุรกิจอันใดอันเข้าลักษณะการประกอบการธนาคารพาณิชย์ จึงแสดงให้เห็นว่า สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยไม่มีอำนาจดำเนินการแทนจำเลยตามวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทย จึงไม่ใช่สาขาธนาคารของจำเลยในประเทศไทย ภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ได้แก่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งหรือถิ่นที่มีสาขาสำนักงานในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้น สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ ตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของจำเลย จำเลยจึงไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยในศาลประเทศไทยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร่วม: แม้มีข้อตกลงฟ้องศาลแพ่ง แต่จำเลยอื่นไม่ได้เป็นคู่สัญญา และมูลคดีเดียวกัน ศาลจังหวัดก็มีอำนาจพิจารณาได้
แม้ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมีข้อตกลงว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากสัญญาให้นำข้อพิพาทขึ้นฟ้องร้องยังศาลแพ่งสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดปทุมธานีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการเรียกร้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนจำนวนเดียวกัน อันเป็นมูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 5 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลบังคับจำนอง: ที่ดินตั้งอยู่ ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณา
การที่โจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 นั้น จะต้อง พิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ หรือไม่ จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์หรือไม่ และจำเลยที่ 2ต้อง ร่วม รับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ อันเป็นการพิจารณาถึง สิทธิที่โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำนอง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วย อสังหาริมทรัพย์ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัด เชียงใหม่ ก็ตาม แต่ เมื่อที่ดินที่จำนองอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองต่อ ศาลแพ่งซึ่ง เป็นศาลที่ทรัพย์ตั้ง อยู่ในเขตได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1).
of 14