พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การฟ้องจำเลยต่างประเทศ แม้มีตัวแทนในไทย ต้องมีสำนักงานหรือเลือกไทยเป็นภูมิลำเนา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ตั้งจำเลยที่ 5 เป็นตัวแทนในประเทศไทยเพื่อดูแลกิจการและผลประโยชน์ของจำเลยโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ฐานละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ตั้งตัวแทนดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่มีสำนักงานสาขาอยู่ประเทศไทยหรือเลือกเอาประเทศไทยเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำในประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ต่อศาลในประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเพิกถอนการซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต และเรียกคืนกรรมสิทธิ์ตามพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก จำเลยที่ 1 ไปขอรับมรดกที่ดินดังกล่าวโดยไม่สุจริต แล้วจำเลยทั้งสองโดยเจตนาไม่สุจริตซื้อขายที่ดินดังกล่าวกันโดยจำเลยที่ 2 ทราบดีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจขาย ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 โอนโฉนดที่ดินดังกล่าวคืนให้โจทก์ เป็นคำฟ้องที่โจทก์เรียกที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 โอนโฉนดที่พิพาทคืนให้โจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่โอนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ที่ดินดังกล่าวหลุดพ้นจากการเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 มาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และเมื่อที่พิพาทตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้น ที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต และการโอนกรรมสิทธิ์โดยคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก จำเลยที่ 1 ไปขอรับมรดกที่ดินดังกล่าวโดยไม่สุจริต แล้วจำเลยทั้งสองโดยเจตนาไม่สุจริตซื้อขายที่ดินดังกล่าวกันโดยจำเลยที่ 2 ทราบดีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจขาย ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 โอนโฉนดที่ดินดังกล่าวคืนให้โจทก์ เป็นคำฟ้องที่โจทก์เรียกที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 โอนโฉนดที่พิพาทคืนให้โจทก์หากจำเลยที่ 2 ไม่โอนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ที่ดินดังกล่าวหลุดพ้นจากการเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 มาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และเมื่อที่พิพาทตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้น ที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสัญญาและการรับผิดของผู้แทน แม้การลงนามไม่ครบถ้วน
กรรมการบริษัทลงชื่อและประทับตราไม่ครบตามข้อบังคับของบริษัท แต่จำเลยให้การรับว่าได้ชำระค่าน้ำมันตามสัญญาแล้ว เท่ากับยอมรับว่าได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งมีข้อสัญญาว่าผู้แทนที่ลงชื่อในสัญญาต้องรับผิดด้วย ผู้แทนนั้นก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง สัญญาซื้อขายน้ำมันทำในเขตศาลแพ่ง แม้ส่งมอบทรัพย์ในต่างประเทศ ศาลแพ่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ไม่มีกฎหมายว่าหนังสือรับสภาพหนี้ต้องปิดอากรแสตมป์
จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง สัญญาซื้อขายน้ำมันทำในเขตศาลแพ่ง แม้ส่งมอบทรัพย์ในต่างประเทศ ศาลแพ่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ไม่มีกฎหมายว่าหนังสือรับสภาพหนี้ต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาของตัวแทนมิใช่ภูมิลำเนาของตัวการ โจทก์ฟ้องบริษัทต่างชาติในไทยไม่ได้
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนั้นไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย แม้บริษัทจำเลยที่ 1 จะมอบให้บริษัทจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในประเทศไทย ก็ยังถือไม่ได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยอันจะทำให้โจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ เพราะภูมิลำเนาของตัวแทนไม่เป็นภูมิลำเนาของตัวการด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาบริษัทต่างชาติ: การฟ้องร้องในไทยต้องมีสำนักงานสาขา หรือภูมิลำเนาในประเทศ
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนั้นไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยแม้บริษัทจำเลยที่ 1 จะมอบให้บริษัทจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในประเทศไทยก็ยังถือไม่ได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยอันจะทำให้โจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ เพราะภูมิลำเนาของตัวแทนไม่เป็นภูมิลำเนาของตัวการด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ร้องสอดในคดีละเมิดและอสังหาริมทรัพย์ที่กระทบสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไถคราดและขุดดินถมเหมืองน้ำสาธารณะทำให้โจทก์และบุคคลอื่นซึ่งมีนาอยู่บริเวณนั้น ไม่มีทางระบายน้ำหรือทดน้ำเข้านาได้ โจทก์ห้าม จำเลยเถียงว่าเหมืองน้ำผ่านกลางที่นาของจำเลย จำเลยมีสิทธิกลบถมได้ ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหาย และพิพากษาแสดงว่าทำนบพิพาท เหมืองน้ำพิพาทและคลองเป็นสาธารณะ คำฟ้องเช่นนี้เป็นทั้งคดีละเมิดและคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
ในระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอดร้องขอเข้าเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองบังคับตามสิทธิของตน โดยอ้างว่านาที่โจทก์อ้างว่าเหมืองน้ำผ่านเป็นของผู้ร้องสอด จำเลยทำไปโดยอาศัยสิทธิและความเห็นชอบของผู้ร้องสอด ดังนี้ เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เมื่อได้ยื่นคำร้องขอมาถูกต้อง คือ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้
การร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)นั้นแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็หาหมดสิทธิร้องสอดเข้าเป็นคู่ความไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำซึ่งจำเลยขุดดินถมให้มีสภาพเดิม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของนา ที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำ ย่อมเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวถึงนาที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของ การที่ผู้ร้องสอดร้องเข้ามาจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของผู้ร้องสอด แล้วพิจารณาคดีไปโดยจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำสั่ง และศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้ร้องสอดมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้ จะพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับคำร้องสอดไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเสียด้วยนั้น ยังไม่บริบูรณ์เพราะถ้าหากคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีอยู่ ย่อมไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาด้วย และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่แล้ว ซึ่งมีผลถึงผู้ร้องสอดด้วย ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องแก้ไข
ในระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอดร้องขอเข้าเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองบังคับตามสิทธิของตน โดยอ้างว่านาที่โจทก์อ้างว่าเหมืองน้ำผ่านเป็นของผู้ร้องสอด จำเลยทำไปโดยอาศัยสิทธิและความเห็นชอบของผู้ร้องสอด ดังนี้ เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เมื่อได้ยื่นคำร้องขอมาถูกต้อง คือ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้
การร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)นั้นแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็หาหมดสิทธิร้องสอดเข้าเป็นคู่ความไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำซึ่งจำเลยขุดดินถมให้มีสภาพเดิม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของนา ที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำ ย่อมเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวถึงนาที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของ การที่ผู้ร้องสอดร้องเข้ามาจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของผู้ร้องสอด แล้วพิจารณาคดีไปโดยจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำสั่ง และศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้ร้องสอดมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้ จะพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับคำร้องสอดไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเสียด้วยนั้น ยังไม่บริบูรณ์เพราะถ้าหากคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีอยู่ ย่อมไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาด้วย และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่แล้ว ซึ่งมีผลถึงผู้ร้องสอดด้วย ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสงบข้อพิพาทหย่าร้างและการบังคับชำระหนี้ค่าเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วย สามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วย สามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า มีผลบังคับใช้ได้ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่รับบุตรไปเลี้ยง
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังหย่ามีผลอย่างไร และศาลใดมีอำนาจพิจารณา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน. และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด. สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป.จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).