คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วัส ติงสมิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13443/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่ เริ่มนับจากวันที่สั่งเพิกถอนผลการเลือกตั้ง
โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการจัดการเลือกตั้งใหม่ตามฟ้องได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 56 วรรคสอง แล้ว ดังนั้น อายุความในการฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งเพิกถอนผลการเลือกตั้งของจำเลยและให้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ คือ วันที่ 17 มิถุนายน 2548 เมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7307/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัย และการโต้แย้งพยานที่ไม่น่าเชื่อถือ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาคอนกรีตออกไปจากที่ดินของโจทก์กับเรียกค่าเสียหาย จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดี ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่ง กับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง ประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 5,000 บาท แก่โจทก์ ไม่มีคู่ความอุทธรณ์โต้แย้งว่า ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวสูงหรือต่ำเกินไป เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีในส่วนฟ้องขับไล่ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ปีละ 2,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกา ถือได้ว่าในขณะยื่นคำฟ้องที่ดินของโจทก์อาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาคำแถลงของ ส. เจ้าพนักงานผู้รังวัดที่ดินซึ่งแถลงต่อศาลชั้นต้นแล้ววินิจฉัยว่า ส. ได้รังวัดที่ดินของโจทก์และจำเลยไปตามหลักวิชา ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เจ้าพนักงานผู้รังวัดได้รังวัดที่ดินของโจทก์และจำเลยตามคำท้าทุกประการ จำเลยฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีความคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริงตามคำท้าของโจทก์และจำเลย คำแถลงของ ส. ไม่น่าเชื่อถือ ไม่น่ารับฟังเป็นพยานคนกลาง เป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ฎีกาของจำเลยข้อที่เหลือเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยแล้ว ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20098/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามข้อบังคับกองทุนฟื้นฟูฯ การชำระหนี้และดอกเบี้ยหลังถูกระงับการดำเนินงาน
ประกาศของจำเลยข้อ 1 วรรคหนึ่ง มีความว่า "กองทุนจะดำเนินการจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินหรือผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ทรงตราสารหนี้ที่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ออกเพื่อการรับฝากเงินหรือกู้ยืมเงินเท่านั้น" ข้อความดังกล่าวขัดแย้งแตกต่างกับความในข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ซึ่งกล่าวโดยเฉพาะได้ให้คำจำกัดความคำว่า "เจ้าหนี้" ไว้เป็นอย่างเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 29 อัฏฐ วรรคสอง ทั้งไม่ปรากฏว่าการออกประกาศได้ อ้างอิงหรือจำกัด ตัดลงด้วยกฎหมายหรือข้อบังคับกฎระเบียบใดและเหตุผลใด เป็นเพียงประกาศที่ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (จำเลย) ออกขึ้นเอง จำเลยจึงไม่อาจกล่าวอ้างหยิบยกประกาศ เป็นดุลพินิจมาปฏิเสธความรับผิดชอบตามข้อบังคับของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18303/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน เนื่องจากข้อเท็จจริงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนนั้น จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 โดยขอให้ลงโทษสถานเบาและศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16263/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการฝ่ายยานยนต์มีความรับผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดนิติบุคคล แม้ไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจจดทะเบียน และการกระทำหลายขั้นตอนถือเป็นความผิดหลายกรรม
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2539 มาตรา 42 กำหนดผู้รับผิดไว้คือ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานซึ่งหมายความรวมถึงบุคคลผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในกิจการงานที่ตนต้องรับผิดชอบ มิได้หมายถึงเฉพาะเพียงแต่ผู้แทนของนิติบุคคล ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนของนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการฝ่ายยานยนต์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการบำรุงรักษาซ่อมแซมรถยนต์ จัดเตรียมสัญญาซื้อขาย จัดทำสัญญาเช่าพร้อมเอกสารประกอบ รวมทั้งทำหลักฐานการตรวจสภาพและการรับมอบรถ งานในหน้าที่ความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 จึงเป็นงานส่วนหนึ่งของผู้เสียหายที่จะต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้เสียหายตามบทกฎหมายดังกล่าว
การกระทำในวันเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันอาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ หากลักษณะของความผิดเป็นการกระทำที่มีเจตนาแตกต่างกัน ต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกัน การที่จำเลยที่ 2 ลงแบบฟอร์มกับบันทึกข้อมูลรถยนต์ใหม่ลงในแฟ้มข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์และการทำสัญญาเช่า เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกัน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15991/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน หากฟ้องไม่ชัดเจนเรื่องวันกระทำผิดและวันปิดประกาศคำสั่ง ฟ้องอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 47 ทวิ กำหนดให้มีการปิดประกาศคำสั่งที่ให้ระงับการก่อสร้างและที่ให้รื้อถอนไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารหรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และให้ถือว่าผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ดังนั้น วันที่ปิดประกาศคำสั่งจึงเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาที่ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด มิฉะนั้นก็จะมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง วันที่ปิดประกาศคำสั่งจึงบ่งบอกวันกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าปิดประกาศแจ้งคำสั่งดังกล่าวเมื่อใด ดังนั้น จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์ในความผิดทั้งสองฐานนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12082/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับความถูกต้องของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดียาเสพติด และการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด และตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ เมื่อจำเลยฎีกาโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง เฉพาะความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนนั้น แม้จะเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นที่สุดนั้น หมายถึง ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งเช่นนั้นได้ มิได้หมายความว่า แม้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะถึงที่สุดด้วย เมื่อความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 มีอัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่รอการลงโทษไว้ โจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้ไม่รอการลงโทษ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และพิพากษาเกี่ยวกับความผิดฐานนี้นั้นเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนจึงไม่ถูกต้องและไม่เป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9500/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักกว่า และแก้ไขค่าขึ้นศาล
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และฟ้องแย้งห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนทุนทรัพย์เป็นเงิน 240,000 บาท จึงเป็นคดีมโนสาเร่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 189 ประกอบ พ.ร.ฎ.กำหนดจำนวนเงินในคดีมโนสาเร่ พ.ศ.2546 มาตรา 3 (1) ซึ่งเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามมาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง (เดิม) และตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจากโจทก์ และจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งเกินกว่า 200 บาท จึงไม่ถูกต้อง และต้องคืนเงินส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่โจทก์และจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชดใช้แทนทรัพย์สินที่ถูกยักย้ายในคดีร่ำรวยผิดปกติ และการใช้บทบัญญัติกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการมีมติว่าผู้คัดค้านร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ และเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งหรือดำเนินการให้มีการสั่งลงโทษไล่ออกจากการราชการ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินก่อนผู้คัดค้านเกษียณอายุราชการ ผู้ร้องย่อมดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปได้เสมือนว่าผู้คัดค้านยังมิได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 21 จัตวา แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติชอบในวงการ พ.ศ.2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงการราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้อง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 21 ตรี วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินที่คณะกรรมการมีมติว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติตามมาตรา 21 ทวิ ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลโดยไม่ชักช้าเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นจะสามารถนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นตนได้มาโดยชอบ ในกรณีนี้ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม" จากผลของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นมาตรการในทางแพ่งเพื่อบังคับให้ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยผิดปกติหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะสามารถบังคับได้ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติและกำหนดโทษไว้ตาม ป.อ มาตรา 2 แม้ในขณะยื่นคำร้องเพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวมีการยักย้ายทรัพย์สินไปก่อน และบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 21 ตรี วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราบการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มิได้กล่าวถึงวิธีการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นตามที่ผู้คัดค้านฎีกา แต่เมื่อต่อมาได้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 83 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 บัญญัติวิธีการบังคับคดีในกรณีไม่สามารถบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของผู้ถูกกล่าวหาไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน จึงชอบที่จะนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับให้มีผลย้อนหลังแก่ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินนั้นได้ด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ผู้คัดค้านชดใช้เงิน 73,525,436.09 บาท จึงเป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติตามคำพิพากษาในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของผู้คัดค้านแทนทรัพย์สินที่ศาลมีคำพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดิน หรือเพื่อให้มีการขอให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ได้กระทำหลังจากผู้คัดค้านแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 82 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมเข้าเสี่ยงภัยกับการใช้ความรุนแรงเกินกว่าที่ยินยอม การกระทำละเมิดและการรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ก่อเหตุท้าชกต่อยขึ้นก่อน เมื่อ ว. เข้าร่วมในการท้าทายและเกิดชกต่อยต่อสู้กัน จึงเท่ากับทั้งสองฝ่ายยินยอมเข้าเสี่ยงภัยจากการทะเลาะวิวาทนั้น ซึ่งหากเหตุการณ์ดำเนินไปเพียงเท่านี้ การกระทำของทั้งสองฝ่ายย่อมไม่ก่อให้เกิดความรับผิดฐานละเมิด แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้มีดดาบเป็นอาวุธทำร้ายโจทก์ที่ 1 กรณีจึงต้องถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกินเลยไปกว่าที่โจทก์ที่ 1 ได้สมัครใจเข้าเสี่ยงภัยกับ ว. เหตุนี้การที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายโจทก์ที่ 1 ด้วยอาวุธมีดดาบให้ได้รับอันตรายแก่กาย จึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้อง
of 8