พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: พยานหลักฐานใหม่ต้องขัดแย้งและสำคัญแก่คดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจตัดสินและคำสั่งเป็นที่สุด
ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 8 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องแล้วส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาว่าจะสั่งรับคำร้องนั้นไว้เพื่อดำเนินการพิจารณาคดีนั้นใหม่หรือไม่ตามมาตรา 9 ซึ่งในการพิจารณาสั่งคำร้องนั้น มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น" และวรรคสองบัญญัติว่า "คำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องหยิบยกขึ้นอ้างล้วนแต่ประกอบด้วยพยานหลักฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนและศาลได้วินิจฉัยชั่งน้ำหนักในคดีถึงที่สุดนั้นแล้วทั้งสิ้นหาใช่เป็นพยานหลักฐานใหม่อันขัดแย้งและสำคัญแก่คดีไม่ เหตุตามคำร้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาคดีใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 5 (1) (2) (3) เท่ากับเห็นว่า คำร้องของผู้ร้องไม่มีมูล คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3814/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ - ขาดอายุความ - ความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยเป็นเสมียนตราอำเภอโนนแดง มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีของอำเภอโนนแดง เงินค่าวัสดุก่อสร้างโครงการฝายประชาอาสาทั้งสี่โครงการรวม 1,308,104.40 บาท เป็นเงินที่ทางอำเภอโนนแดงต้องเบิกจากทางจังหวัดนครราชสีมาไปชำระให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ต. แต่จำเลยไม่ได้เป็นกรรมการรับเงินที่จะมีอำนาจหน้าที่ไปเบิกและรับเงินค่าวัสดุก่อสร้างดังกล่าว การที่จำเลยใช้คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรับเงินซึ่งไม่ใช่คำสั่งที่ผู้ลงชื่อประสงค์จะตั้งจำเลยไปดำเนินการดังกล่าว ทั้งบางคำสั่งก็ตั้งกรรมการไม่ครบตามกฎระเบียบไปแสดงต่อเสมียนตราจังหวัดเพื่อขอเบิกและรับเงินโครงการดังกล่าว เมื่อได้รับเช็คแล้วนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารเอาไปโดยทุจริต เป็นการกระทำในส่วนที่นอกอำนาจหน้าที่รับผิดชอบของตน ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำความผิดในฐานะเจ้าพนักงาน จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 147 ตามฟ้องอันเป็นบทเฉพาะได้ แต่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์เงินดังกล่าว ซึ่งเป็นความผิดในตัวเองและเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องมาได้ อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นจำเลยไม่ได้รับมอบทรัพย์โดยชอบแล้วเบียดบังไว้โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดฐานยักยอก แต่จำเลยได้รับเช็คจาก ก. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีประจำที่ทำการปกครองจังหวัดนครราชสีมาโดยแสดงคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวต่อ ก. เพื่อให้เข้าใจว่าตนได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการรับเงินโดยชอบ จน ก. หลงเชื่อมอบเช็คดังกล่าวให้ไป แล้วจำเลยแสดงคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารในการนำเช็คไปขอเบิกเงินสดจากธนาคารตามเช็คด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการหลอกลวงผู้อื่นแล้วได้มาซึ่งเช็คและเงิน ย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษฐานนี้ก็ตาม แต่เมื่อศาลอาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกได้ จึงเป็นการแตกต่างกันระหว่างการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง และยักยอก เมื่อจำเลยไม่หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสาม แต่อำเภอโนนแดงร้องทุกข์เมื่อล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการส่งเอกสารตรวจพิสูจน์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณาคำร้อง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 และคำร้องขอส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ก่อนแถลงหมดพยาน จำเลยดังกล่าวย่อมมีสิทธิทำได้เพราะในส่วนของการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นได้ก่อนฝ่ายจำเลยจะสืบพยานเสร็จ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยดังกล่าวยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 จึงชอบแล้ว แต่การขอส่งพยานเอกสารดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์เป็นคนละส่วนที่สามารถแยกพิจารณาจากกันได้ ทั้งผลการตรวจพิสูจน์เป็นเพียงความเห็นของผู้ตรวจพิสูจน์ที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าสมควรเชื่อหรือไม่เพียงใด หาใช่บังคับให้ศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามผลการตรวจพิสูจน์ จึงเป็นดุลพินิจศาลในการจะอนุญาตให้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ตามคำร้องขอของคู่ความโดยพิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์แก่คดีหรือไม่เพียงใด และต้องพิจารณาความเหมาะสมโดยคำนึงถึงคู่ความทุกฝ่ายด้วย หาใช่พิจารณาความต้องการของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษ, สัญญากู้, การคิดดอกเบี้ย, และการจำนอง: ศาลฎีกาตัดสินคดีพิพาทสัญญา
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาธรรมดา ต้องเป็นสัญญาที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภาระผูกพันเพิ่มขึ้นต่างหากจากการปฏิบัติตามสัญญาโดยปกติทั่วไป การที่จำเลยอนุมัติสินเชื่อให้โจทก์เพื่อจัดทำโครงการศูนย์การค้าในวงเงิน 27,000,000 บาท แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ขอสินเชื่อได้เป็นคราว ๆ ไป โดยให้โจทก์ทำสัญญากู้ไว้แก่จำเลย ดังนั้น จำนวนวงเงินที่โจทก์ได้รับอนุมัติจากจำเลย เป็นแต่เพียงจำนวนเงินขั้นสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิได้รับการสนับสนุนจากจำเลยเท่านั้น ไม่ใช่จำนวนเงินที่กำหนดไว้แน่นอนเพื่อผูกพันจำเลยตามที่ได้อนุมัติไว้แต่อย่างใด จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าสัญญาสนับสนุนโครงการศูนย์การค้าของโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดา
หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับหนี้ตามสัญญากู้เงินเป็นหนี้ต่างประเภทกัน มีเงื่อนไขและวิธีการในการคิดดอกเบี้ยแตกต่างกันตามที่คู่กรณีตกลงกัน เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงกันให้จำเลยหักเงินในบัญชีกระแสรายวันเพื่อชำระหนี้เงินกู้ จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันใช้บังคับกันได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่จะให้จำเลยหักชำระหนี้เงินกู้ จำเลยจึงตกลงยินยอมให้โจทก์เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีกระแสรายวันเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยของจำเลยในกรณีนี้จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง หาใช่การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยแต่อย่างใดไม่
หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับหนี้ตามสัญญากู้เงินเป็นหนี้ต่างประเภทกัน มีเงื่อนไขและวิธีการในการคิดดอกเบี้ยแตกต่างกันตามที่คู่กรณีตกลงกัน เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงกันให้จำเลยหักเงินในบัญชีกระแสรายวันเพื่อชำระหนี้เงินกู้ จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันใช้บังคับกันได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่จะให้จำเลยหักชำระหนี้เงินกู้ จำเลยจึงตกลงยินยอมให้โจทก์เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีกระแสรายวันเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยของจำเลยในกรณีนี้จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง หาใช่การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต: ศาลไม่รับฟ้องคดีที่จำเลยเป็นตัวแทนทางทูต
คำฟ้องของโจทก์บรรยายชัดแจ้งถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย และจำเลยที่ 2 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งก็เป็นบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตของจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างให้โจทก์ตกแต่งติดตั้งอาคารสถานทูตแห่งใหม่ของสถานทูต อิสลามมิครีปับลิคแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ทั้งสัญญาตามเอกสารท้ายฟ้องก็ลงนามโดยจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญา การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนทางทูต เป็นการปฎิบัติไปตามกรรมวิถีทางของหน้าที่ของตนในกิจกรรมคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง ไม่ได้กระทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการในการทำสัญญาของคู่สัญญาให้มีการสละเอกสิทธิความคุ้มกันจากอำนาจศาลเป็นที่ชัดแจ้งโดยรัฐผู้ส่ง จำเลยทั้งสองย่อมได้รับเอกสิทธิและความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งของรัฐผู้รับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต พ.ศ.2527 มาตรา 3 ประกอบอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ซึ่งทำเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2504 ข้อ 31 (1) ประกอบข้อ 1 (จ) ซึ่งข้อกฎหมายนี้แม้จะไม่มีผู้ใดยกขึ้นโต้แย้ง แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องและปรากฏชัดแจ้งในคำฟ้องของโจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นผู้ตรวจรับคำฟ้องย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21858-21860/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้เงินเจ้าพนักงานเพื่อละเว้นการจับกุม ไม่ใช่ความผิดสนับสนุนเจ้าพนักงาน แต่เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานตาม ป.อ.มาตรา 144
การให้เงินแก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจูงใจให้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่จับกุมกรณีเมื่อมีผู้ใช้รถบรรทุกขนส่งสินค้ามีน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มีลักษณะเป็นการยุยงส่งเสริมก่อให้เจ้าพนักงานตำรวจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอยู่ในตัวก็ตาม แต่การกระทำเช่นว่านั้นก็มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดโดยเฉพาะอยู่แล้ว คือ ป.อ. มาตรา 144 อีกทั้งการที่เจ้าพนักงานตำรวจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามที่ถูกจูงใจก็มิได้สำเร็จลงด้วยการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกโดยการให้เงิน ดังนั้น ถึงหากแม้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จะให้เงินแก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจูงใจให้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่จับกุมกรณีเมื่อมีผู้ใช้รถบรรทุกติดสติกเกอร์ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 จัดทำขนส่งสินค้ามีน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจริงก็ตาม การกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ก็คงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 อันเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน มิใช่ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานตำรวจในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149, 157 ประกอบมาตรา 86 จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำเช่นนั้นจริงหรือไม่ ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มิใช่เป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานตำรวจในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า ทรัพย์สินที่ขอให้มีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินล้วนเป็นทรัพย์สินที่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของได้มาจากการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำความผิดมูลฐาน คือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานตำรวจในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เมื่อพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบรับฟังไม่ได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำความผิดมูลฐานทั้งสองกรณีดังกล่าวเสียแล้ว คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่า ทรัพย์สินดังกล่าวเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐานด้วย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องพร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า ทรัพย์สินที่ขอให้มีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินล้วนเป็นทรัพย์สินที่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของได้มาจากการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำความผิดมูลฐาน คือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานตำรวจในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เมื่อพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบรับฟังไม่ได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำความผิดมูลฐานทั้งสองกรณีดังกล่าวเสียแล้ว คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่า ทรัพย์สินดังกล่าวเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐานด้วย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องพร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17432/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนดไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หากมีข้อตกลงชัดเจนและสอดคล้องกับกฎหมาย
การจะพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาหรือในสัญญาสำเร็จรูปเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากนั้นได้เปรียบผู้บริโภคหรือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 หรือไม่ ซึ่งในมาตรา 4 วรรคสาม ได้กำหนดตัวอย่างของข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ส่วน ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคสอง ที่ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ในการชำระหนี้ก่อนกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ เป็นเพียงบทสันนิษฐานในกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้น แต่ถ้ามีการตกลงหรือมีพฤติการณ์อย่างชัดแจ้งว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ทั้งหมดก่อนครบกำหนดตามเวลาที่ตกลงกันไม่ได้ ลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันโดยเจ้าหนี้ไม่ยินยอมหาได้ไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงอย่างชัดแจ้งตามสัญญากู้เงินว่าในกรณีที่ผู้กู้ชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดทั้งจำนวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่เบิกใช้เงินกู้ครั้งแรก ผู้กู้ตกลงชำระค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนด (Prepayment Fee) ในอัตราร้อยละ 2 ของวงเงินกู้ โจทก์จึงชำระหนี้เงินกู้ทั้งจำนวนคืนแก่จำเลยก่อนกำหนดโดยที่จำเลยไม่ยินยอมหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ต้องการคืนเงินกู้ทั้งจำนวนแก่จำเลยก่อนกำหนดภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์เบิกใช้เงินกู้ครั้งแรก โจทก์จึงต้องชำระค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนดแก่จำเลยตามสัญญากู้ โดยจำเลยมีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ข้อ 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญากู้เงินและธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าปรับกรณีไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา จำเลยจึงมีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่น ๆ นอกเหนือจากดอกเบี้ยจากโจทก์ได้ การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขให้โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนด จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ทำให้โจทก์ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17002/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายบ้านต่อความชำรุดบกพร่องที่ซ่อนเร้นและไม่สามารถตรวจพบได้ง่าย
การผุกร่อนของเหล็กเส้นที่ถูกสนิมกัดกินคานบ้านเป็นความชำรุดบกพร่องที่เป็นเหตุเสื่อมราคาและเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ เมื่อโจทก์ซื้อบ้านเพื่อจะใช้อยู่อาศัยและคู่สัญญาซื้อขายไม่ได้ตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 483 ความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 472
แม้ก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์นั้น โจทก์ได้เข้าไปตรวจดูบ้านถึง 4 ครั้ง กับใช้กล้องวิดีโอถ่ายสภาพบ้านนำไปให้ญาติของโจทก์ช่วยกันพิจารณาสภาพบ้านด้วยก็ตาม แต่ในส่วนโครงเหล็กของคานชั้น 2 อยู่บริเวณเหนือฝ้า การจะตรวจดูต้องทุบแล้วรื้อฝ้าออกจึงจะพบเห็น ไม่ใช่กรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบและโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์รับเอาบ้านไว้โดยมิได้อิดเอื้อน ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ขอเปิดฝ้าเพื่อตรวจดูคานนั้น ก็เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่ไม่น่าจะคาดคิดว่าคานบ้านชั้น 2 ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้พื้นดินหรือความชื้นจะเกิดสนิมที่เหล็กเส้นจนผุกร่อน จนต้องขอเปิดฝ้าดูเพื่อตรวจสอบ กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน อันจะทำให้จำเลยทั้งสองผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องในกรณีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 473 (1) และ (2)
แม้ก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์นั้น โจทก์ได้เข้าไปตรวจดูบ้านถึง 4 ครั้ง กับใช้กล้องวิดีโอถ่ายสภาพบ้านนำไปให้ญาติของโจทก์ช่วยกันพิจารณาสภาพบ้านด้วยก็ตาม แต่ในส่วนโครงเหล็กของคานชั้น 2 อยู่บริเวณเหนือฝ้า การจะตรวจดูต้องทุบแล้วรื้อฝ้าออกจึงจะพบเห็น ไม่ใช่กรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบและโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์รับเอาบ้านไว้โดยมิได้อิดเอื้อน ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ขอเปิดฝ้าเพื่อตรวจดูคานนั้น ก็เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่ไม่น่าจะคาดคิดว่าคานบ้านชั้น 2 ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้พื้นดินหรือความชื้นจะเกิดสนิมที่เหล็กเส้นจนผุกร่อน จนต้องขอเปิดฝ้าดูเพื่อตรวจสอบ กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน อันจะทำให้จำเลยทั้งสองผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องในกรณีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 473 (1) และ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14921/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเรือที่มีผลบังคับใช้ การออกเช็คชำระหนี้ที่สมบูรณ์ และความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สัญญาซื้อขายเรือระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีใจความแสดงให้เห็นว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายและจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อตามสัญญามีความประสงค์ที่จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในเรือซึ่งมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไปที่ซื้อขายเมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์จะส่งมอบเรือทั้งสามลำที่ซื้อขายให้จำเลยที่ 1 แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในเรือทั้งสามลำให้เสร็จเด็ดขาดต่อไป สัญญาซื้อขายเรือดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว ผู้ทำสัญญาไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเรือที่จะซื้อขายขณะทำสัญญาก็ได้ เพราะสาระสำคัญที่เป็นวัตถุประสงค์ของการซื้อขายก็คือให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์โดยชำระราคาตามที่ตกลงกัน และเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่ต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ทั้งได้ความว่าโจทก์ได้ส่งมอบเรือทั้งสามลำที่จะซื้อขายพร้อมหนังสือมอบอำนาจในการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เรือทั้งสามลำให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันทำสัญญา แสดงว่าโจทก์สามารถดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในเรือทั้งสามลำที่จะซื้อขายให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ สัญญาซื้อขายเรือดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่มีผลใช้บังคับได้
ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว ผู้ทำสัญญาไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเรือที่จะซื้อขายขณะทำสัญญาก็ได้ เพราะสาระสำคัญที่เป็นวัตถุประสงค์ของการซื้อขายก็คือให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์โดยชำระราคาตามที่ตกลงกัน และเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่ต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ทั้งได้ความว่าโจทก์ได้ส่งมอบเรือทั้งสามลำที่จะซื้อขายพร้อมหนังสือมอบอำนาจในการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เรือทั้งสามลำให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันทำสัญญา แสดงว่าโจทก์สามารถดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในเรือทั้งสามลำที่จะซื้อขายให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ สัญญาซื้อขายเรือดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่มีผลใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13938/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, การรู้ถึงการละเมิด, การมอบฉันทะทนายจากเจ้าพนักงานของรัฐ, การยกเว้นอากรแสตมป์
ทนายจำเลยเป็นพนักงานอัยการเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการงานของรัฐบาลโดยหน้าที่ การที่ทนายจำเลยมอบฉันทะให้นิติกรสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งมิใช่เสมียนทนายยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 121