พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเกิน 15 หน่วยการใช้ ถือเป็น 'มีไว้เพื่อจำหน่าย' แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 17 เม็ด (หน่วยการใช้) ซึ่งจำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไปไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการบรรยายฟ้องว่า จำนวนเม็ดของเมทแอมเฟตามีนเป็นหน่วยการใช้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในครอบครอง จึงถือได้ว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10861/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องพิสูจน์ความเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดโดยตรง
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบ หรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดและจะมีการนำไปใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ซึ่งศาลจะต้องริบตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดด้วย ซึ่งจะต้องพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีและพฤติกรรมของการกระทำเข้าด้วยกัน
ผู้คัดค้านถูกจับขณะขับรถยนต์ของกลางของตนและเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอยู่ในปากของ น. ผู้โดยสาร ทั้งไม่พบสิ่งของผิดกฎหมายอื่นใดอีกในรถยนต์ของกลาง รถยนต์ของกลางจึงมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยตรง จึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้
ผู้คัดค้านถูกจับขณะขับรถยนต์ของกลางของตนและเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอยู่ในปากของ น. ผู้โดยสาร ทั้งไม่พบสิ่งของผิดกฎหมายอื่นใดอีกในรถยนต์ของกลาง รถยนต์ของกลางจึงมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยตรง จึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9323/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและบทลงโทษ: การปรับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในคดีเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 88 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี แต่กฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 17 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 20 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า แต่เมื่อกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี คดีความผิดฐานดังกล่าวจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดนับถึงวันฟ้องเกินกว่า 10 ปี แล้ว คดีของโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 51 ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 93 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 71 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 83 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดเป็นคุณกว่าโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ภายหลัง แต่โทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก
ปัญหาเรื่องอายุความและการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 51 ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 93 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 71 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 83 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดเป็นคุณกว่าโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ภายหลัง แต่โทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก
ปัญหาเรื่องอายุความและการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกเงินตราต่างประเทศหลังกฎหมายยกเลิกข้อจำกัด ไม่เป็นความผิดมูลฐานฟอกเงิน
กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ข้อ 5 ได้ยกเลิกข้อ 11 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2497) เป็นผลให้ผู้เดินทางไปต่างประเทศสามารถนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศไทยได้โดยเสรี ไม่ถือเป็นการส่งหรือนำของต้องจำกัดออกไปนอกประเทศ อันจะเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรตาม พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 มาตรา 8 ทวิ ส่วนการซื้อเงินตราต่างประเทศและการไม่ขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ผู้ได้รับอนุญาต แล้วนำเงินตราต่างประเทศออกไปนอกประเทศไทยนั้น เป็นปัญหาการฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ซึ่งมีความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา 8 ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับการส่งหรือนำของต้องจำกัดออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งหมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดว่า การส่งหรือนำของนั้นออกไปหรือเข้ามาในประเทศไทยจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร อันจะเป็นความผิดมูลฐานตามบทนิยามของ "ความผิดมูลฐาน" ในมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงต้องคืนเงินตราต่างประเทศดังกล่าวแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5077/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้เป็นการกระทำต่อเนื่องในคราวเดียวกัน ก็อาจถือเป็นความผิดหลายกระทงได้
การกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91 มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในคราวเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ จำเลยใช้ไม้ไผ่ตีทำร้าย ท. ขณะขับรถจักรยานยนต์คันที่ 3 แล้ว ท. ขับรถหลบหนีไปได้ จากนั้นต่อมาจำเลยก็ใช้ไม้ตีทำร้าย ส. ขณะขับรถจักรยานยนต์คันที่ 4 ซึ่งเล่นตามหลังมาห่างกันประมาณ 200 ถึง 400 เมตร จนเป็นเหตุให้รถล้มลง แล้วพวกจำเลยก็เตะทำร้ายร่างกาย ช. ผู้นั่งซ้อนท้ายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไป จากพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับพฤติกรรมของจำเลยดังกล่าว ย่อมบ่งชี้ได้อย่างแจ้งชัดว่าจำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลในการกระทำของตนแยกต่างหากจากกันเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์แต่ละคันแม้ว่าจะเป็นการกระทำในคราวเดียวกันก็ตามการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4942/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง และการลดโทษตามกฎหมายใหม่ที่ให้คุณแก่จำเลย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีข้อความทำนองเดียวกันตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง จึงต้องใช้มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับ ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มาตรา 15 วรรคสาม (2) ไม่เป็นคุณต้องใช้มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 66 วรรคสาม ไม่เป็นคุณจึงต้องใช้มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสอง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษต้องเป็นไปตามมาตรา 76 (เดิม) ที่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของศาล และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ที่กำหนดให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คดีของจำเลยที่ 1 จะยุติไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้ยังไม่ถึงที่สุดศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษต้องเป็นไปตามมาตรา 76 (เดิม) ที่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของศาล และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ที่กำหนดให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คดีของจำเลยที่ 1 จะยุติไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้ยังไม่ถึงที่สุดศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตอุทธรณ์ฎีกาโดยตรงในคดีงดการบังคับคดี ต้องเป็นกรณีที่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้ตามปกติ
ข้อกฎหมายที่จะขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ได้นั้น จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่สามารถอุทธรณ์และฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 กฎหมายบัญญัติให้คำสั่งเป็นที่สุดไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงตามวรรคสามของบทบัญญัติมาตราดังกล่าว จำเลยทั้งสองจะขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าคลังสินค้าและสัญญาจ้างทำของ หักกลบลบหนี้ค่าเสียหายไม่ได้หากมีข้อต่อสู้
ที่จำเลยขอให้นำค่าเสียหายที่จำเลยได้รับจากการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างทำของมาหักกลบกับค่าเช่าคลังสินค้านั้น แม้ตามสัญญามีข้อตกลงให้จำเลยมีสิทธิหักเงินค่าเสียหายจากค่าเช่า ค่าแรงงาน และค่ารมยาได้ก็ตาม แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายมาในคดีนี้ และมิได้นำสืบให้เห็นว่าได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนเท่าใด อีกทั้งโจทก์ก็ยังโต้เถียงว่า การที่ข้าวโพดเสื่อมคุณภาพส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการเก็บรักษาไว้นานเนื่องจากบริษัทที่รับซื้อไม่มารับมอบสินค้าภายในกำหนด ไม่ใช่ความผิดของโจทก์เสียทั้งหมด สิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายของจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 จึงไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดหลายกรรมต่างกันในคดีจัดหางาน แม้จะกระทำครั้งเดียว
การพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน มิใช่แต่เพียงว่าหากเป็นการกระทำครั้งเดียวแล้วจะต้องเป็นกรรมเดียวเสมอไป ซึ่งอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันหรือประสงค์จะให้เกิดเป็นความผิดหลายฐานต่างกัน การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเรียกรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่ออกใบรับตามแบบที่อธิบดีกำหนดให้แก่คนหางาน ร่วมกันรับสมัครคนหางานโดยมิได้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายทะเบียน และร่วมกันรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่จัดส่งคนหางานเพื่อไปทำงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรอันเป็นความผิดตามฟ้อง มีลักษณะของความผิดเป็นการกระทำที่มีเจตนาต่างขั้นตอนและแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละข้อหาต่างหากจากกันได้อย่างแจ้งชัด และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความที่มีการแบ่งผลประโยชน์จากผลคดี เป็นโมฆะ ฝ่าฝืนจริยธรรมทนายความ
การที่จำเลยทั้งสามทำบันทึกคำมั่นจะให้รางวัลแก่โจทก์อีกร้อยละ 5 ของเงินส่วนที่จำเลยทั้งสามได้รับเกินกว่า 80,000,000 บาท มีมูลเหตุมาจากปัญหาการกำหนดจำนวนทรัพย์มรดกที่โจทก์รับจะฟ้องให้จำเลยทั้งสาม โดยโจทก์ต้องการกำหนดค่าตอบแทนในการว่าความเพิ่มเติม ซึ่งมีเงื่อนไขที่โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม 2 ข้อ กล่าวคือ จำเลยทั้งสามชนะคดีฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกที่โจทก์รับว่าความให้และเป็นผลให้จำเลยทั้งสามได้รับทรัพย์มรดกเกินกว่า 80,000,000 บาท ค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับดังกล่าวย่อมเกิดจากการว่าความให้จำเลยทั้งสามจนชนะคดี กรณีเป็นการกำหนดค่าจ้างว่าความอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากค่าจ้างว่าความตามปกติ แม้จะเป็นบันทึกข้อตกลงที่จำเลยทั้งสามทำให้โจทก์หลังจากทำสัญญาจ้างว่าความแล้วอีกฉบับหนึ่งต่างหากก็ตาม ก็ไม่มีผลลบล้างลักษณะของนิติกรรมที่จำเลยทั้งสามทำไว้แก่โจทก์ แม้บันทึกที่ทำขึ้นภายหลังจะใช้คำว่า คำมั่นจะให้รางวัล กรณีก็ไม่อาจบังคับตามหลักกฎหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 362 บันทึกคำมั่นจะให้รางวัลดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับค่าจ้างว่าความอีกส่วนหนึ่งเท่านั้น
บันทึกข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่า ค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยทั้งสามขึ้นอยู่กับว่าจำเลยทั้งสามจะได้รับทรัพย์มรดกเกินกว่า 80,000,000 บาทหรือไม่ หากจำเลยทั้งสามไม่ได้รับทรัพย์มรดกหรือได้รับไม่เกินกว่า 80,000,000 บาท โจทก์จึงจะไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากจำเลยทั้งสาม ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในผลแห่งคดีของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกความ แม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสามจะไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้โดยชัดแจ้ง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
บันทึกข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่า ค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยทั้งสามขึ้นอยู่กับว่าจำเลยทั้งสามจะได้รับทรัพย์มรดกเกินกว่า 80,000,000 บาทหรือไม่ หากจำเลยทั้งสามไม่ได้รับทรัพย์มรดกหรือได้รับไม่เกินกว่า 80,000,000 บาท โจทก์จึงจะไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากจำเลยทั้งสาม ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในผลแห่งคดีของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกความ แม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสามจะไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้โดยชัดแจ้ง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)