คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1474 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัว vs. สินสมรส: การยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนยึด
แม้ที่ดินพิพาทโฉนดที่ดินเลขที่ 20948 จะเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินกรรมสิทธิ์รวมโฉนดเลขที่ 2996 โดยที่ดินพิพาท 2,000 ส่วน ผู้ร้องรับโอนมาจาก จ. มารดาจากการยกให้โดยเสน่หาจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ส่วนที่ดินอีก 492 ส่วน ที่ผู้ร้องซื้อมาจาก น. ระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่โจทก์จะนำยึดที่ดินพิพาท ผู้ร้องได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 492 ส่วน ให้แก่ ว. น้องสาวของผู้ร้องไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 492 ส่วนนั้นแล้ว คงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เฉพาะในที่ดิน 2,000 ส่วนเท่านั้น กรณีจึงไม่มีสินสมรสระคนปนอยู่ในที่ดินแปลงพิพาทอันจะเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นสินสมรส ทั้งพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบมาสนับสนุนให้เห็นว่าผู้ร้องและเจ้าของรวมอื่นได้แบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้ว กรณีจึงไม่เป็นที่สงสัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง สิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้ร้องจึงมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 20948 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยที่ 2 กับผู้ร้อง ซึ่งโจทก์จะยึดนำออกขายทอดตลาดได้ จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเรื่องสินสมรสหลังหย่า การได้มาซึ่งทรัพย์สินหลังฟ้องหย่า และการประมูลซื้อทรัพย์สิน
เมื่อจำเลยรับว่าที่ดินพิพาทจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนบุคคลอื่น จำเลยจึงไม่อาจยกข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ขึ้นอ้างได้ โจทก์อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 วรรคสอง จำเลยปฏิเสธว่าไม่ใช่สินสมรส จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์
การจัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาในกรณีที่มีการฟ้องหย่ากัน ป.พ.พ. มาตรา 1532 (ข) บัญญัติว่า "ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า" คดีนี้เป็นฟ้องให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาเมื่อมีการหย่ากันแล้วโดยคำพิพากษาของศาล จึงต้องบังคับตามมาตรา 1532 (ข) กล่าวคือ ในส่วนของการบังคับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้นให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า การพิจารณาการได้มาเกี่ยวกับสินสมรสจึงต้องพิจารณามาตรา 1532 (ข) ประกอบด้วย โดยหากเป็นกรณีที่มีการหย่าโดยคำพิพากษา ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสที่จะเป็นสินสมรสจะต้องได้มาอย่างช้าสุดไม่เกินวันฟ้องหย่า จำเลยฟ้องหย่าโจทก์วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 จำเลยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 20691 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 ส่วนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 53456 จำเลยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 อันเป็นการได้รับโอนมาภายหลังจากวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นฟ้องหย่าโจทก์แล้ว และทางนำสืบของโจทก์ไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยนำเงินที่เป็นสินสมรสไปชำระค่าที่ดิน เมื่อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้จำเลยได้มาภายหลังวันที่ฟ้องหย่า จึงไม่เป็นสินสมรสของจำเลยกับโจทก์ตามมาตรา 1574 (1) ประกอบมาตรา 1532 (ข) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 20691 และเลขที่ 53456 จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3122/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: สิทธิการเช่าที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส แม้จะมีการโอนสิทธิให้บุคคลภายนอก
การที่มารดาจำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ให้ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการให้โดยเป็นหนังสือระบุว่ายกให้แก่ผู้ใด และหนังสือยกให้นั้นระบุว่าเป็นสินสมรส การจะฟังว่ามารดาจำเลยที่ 1 ยกให้โจทก์หรือจำเลยที่ 1 ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมไม่อาจรับฟังได้โดยถนัดนัก แต่สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส และกรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ป.พ.พ. มาตรา 1474 วรรคสอง บัญญัติว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส เช่นนี้จึงต้องฟังว่า สิทธิการเช่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้แบ่งสินสมรสและคืนสินส่วนตัวคือ สิทธิการเช่าพิพาทแก่โจทก์และ ธ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อตกลง จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์สมคบกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลหลอกลวงจำเลยที่ 1 ให้ทำบันทึกข้อตกลง และไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่านข้อความก่อนลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 ยินยอมทำเอกสารดังกล่าวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้คบชู้กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลเป็นการแสดงเจตนาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมายต่อไป เช่นนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 1 ย่อมมีประเด็นข้อพิพาทว่า บันทึกข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิการเช่าพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 หรือไม่ ทั้งตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างการแสดงเจตนาที่จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามที่ให้การว่าถูกโจทก์กับพวกฉ้อฉลหลอกลวงก็ตาม แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธว่าบันทึกข้อตกลงไม่มีผลบังคับแก่จำเลย เท่ากับเป็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงเป็นสัญญาระหว่างสมรสและหยิบยกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ขึ้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ และถือว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 มีประเด็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงแล้ว
สิทธิการเช่าพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องหย่าขาดจากกัน คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่องการแบ่งสินสมรส ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกโจทก์กับ ธ. ร่วมกันฉ้อฉล และมีผลผูกพันสินสมรสเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 เพียงครึ่งหนึ่งที่ยกให้โจทก์และ ธ. อีกครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสในส่วนของโจทก์ และส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้ ธ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นมีลักษณะเป็นการให้ เมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสที่ทำไว้กับโจทก์แล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลให้สิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้แก่โจทก์กลับมาเป็นสินสมรสดังเดิม เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน สิทธิการเช่าพิพาทดังกล่าวต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งหนึ่ง โดยส่วนของจำเลยที่ 1 ครึ่งหนึ่งได้ตกเป็นสิทธิของ ธ. ไปแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1 และ ธ. มีส่วนแบ่งคนละหนึ่งในสี่ของสิทธิการเช่าพิพาท กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องของการปรับบทกฎหมายในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งสินสมรส ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่คู่ความนำมาสืบ มิใช่เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันจะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นอย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: ที่ดินและรถยนต์ที่ซื้อระหว่างสมรสเป็นสินสมรส แม้ใช้เงินกู้และเงินเดือนที่ได้ระหว่างสมรส
จำเลยซื้อที่ดินและรถยนต์ในระหว่างสมรส ที่ดินและรถยนต์จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) แม้เงินที่ใช้ในการผ่อนหนี้ค่าซื้อที่ดินเป็นเงินที่จำเลยกู้มาจากธนาคาร และเงินที่ใช้ในการผ่อนหนี้ค่าซื้อที่ดินเป็นเงินที่จำเลยกู้มาจากสหกรณ์ออมทรัพย์ 400,000 บาท ซึ่งจำเลยเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้ด้วยเงินเดือนของจำเลยทั้งสิ้นก็ตาม แต่เงินเดือนของจำเลยดังกล่าวก็เป็นเงินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรสนั่นเอง ส่วนเงิน 130,000 บาท ที่นำไปรวมกับเงินกู้เพื่อซื้อรถยนต์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นเงินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส จำเลยจะต้องพิสูจน์หักล้าง เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ก็ต้องถือว่าเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การบังคับคดี, ฉ้อฉล: ยึดที่ดินที่เป็นสินสมรสได้แม้จะซื้อขายไปแล้ว หากผู้ซื้อรู้ถึงหนี้สินและร่วมฉ้อฉล
ปรากฏตามสำเนาทะเบียนสมรสว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2524 และทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ 26526 ให้แก่ ส. เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 โดยไม่ปรากฏว่า ส. ได้ที่ดินมาด้วยเหตุใด กรณีจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าที่ดินแปลงนี้เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) และวรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยย่อมมีสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278 ประกอบมาตรา 282 ที่จะบังคับคดีเอาชำระหนี้จากที่ดินแปลงนี้ได้
ผู้ร้องและ ส. มีภูมิลำเนาอยู่หมู่ที่ 1 เช่นเดียวกัน จำเลยกับ ส. แต่งงานกันมาเกือบ 30 ปี และผู้ร้องทราบจาก ก. บ. และ ป. ก่อนผู้ร้องจะทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ส. ว่าบุคคลทั้งสามกับพวกกำลังดำเนินคดีแก่จำเลยกับ ส. เป็นคดีอาญาและดำเนินคดีทางแพ่งแก่จำเลยอีกด้วย จึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องซื้อที่ดินจาก ส. โดยคบคิดกันฉ้อฉลทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยการยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8144/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินฝากร่วม กรณีเงินฝากเป็นสินสมรส
การที่โจทก์กับ ม. ขอเปิดบัญชีร่วมกับธนาคารจำเลยที่ 1 โดยกำหนดเงื่อนไขในการเบิกถอนเงินจากบัญชีว่าโจทก์กับ ม. ต้องลงลายมือชื่อร่วมกันจึงจะเซ็นสั่งจ่ายเงินจากบัญชีได้นั้น ย่อมแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวจากสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์ถือเอาเงื่อนไขการเบิกถอนเงินตามที่กำหนดไว้ในคำขอเปิดบัญชีร่วมเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขที่ทำให้โจทก์ผู้ฝากเงินเกิดความมั่นใจว่าหากโจทก์มิได้ร่วมลงลายมือชื่อในใบถอนเงินด้วย จะไม่มีใครสามารถที่จะเบิกถอนเงินจากบัญชีได้ ดังนั้น หากจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขการเบิกถอนเงินเช่นว่านี้เป็นอย่างอื่น ย่อมต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในส่วนที่เป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กล่าวคือ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขดังกล่าวก็ชอบที่ฝ่ายโจทก์คือทั้งโจทก์และ ม. จะต้องมาปรากฏตัวแสดงตนต่อจำเลยที่ 1 ด้วยตนเองหรือทำหนังสือมอบอำนาจมาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ การที่จำเลยที่ 1 เห็นว่า โจทก์และ ม. เป็นลูกค้ารายใหญ่และยอมผ่อนปรนวิธีปฏิบัติให้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้บุคคลทั้งสองมาปรากฏตัวเพื่อแสดงความประสงค์พร้อมกันด้วยตนเองต่อจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มุ่งหมายเพียงเพื่อการเอาใจลูกค้ารายใหญ่ให้ได้รับความสะดวกโดยไม่ถือปฏิบัติเช่นที่ต้องปฏิบัติตามปกติ ถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่เป็นธรรมดาที่ต้องใช้และสมควรต้องใช้ในกิจการธนาคารพาณิชย์ของตน เมื่อลายมือชื่อของโจทก์ในหนังสือขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินฝากเป็นลายมือชื่อปลอม พนักงานของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นลายมือชื่อปลอมจึงอนุมัติให้ ม. เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเบิกถอนได้ เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับฝากซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์มิได้ใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ในกิจการธนาคารของตนในส่วนนี้อีกโสดหนึ่งด้วย
ขณะที่โจทก์กับ ม. เปิดบัญชีร่วมต่อจำเลยที่ 1 และ ม. ยื่นหนังสือขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินจากบัญชี รวมทั้งขณะที่ ม. เบิกถอนเงินจากบัญชีร่วมดังกล่าวไปแต่ผู้เดียวนั้น โจทก์กับ ม. ยังเป็นสามีภริยากัน ซึ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาย่อมเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1470 และถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ตามมาตรา 1474 วรรคสอง บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ประกอบกับหากเงินในบัญชีเงินฝากเป็นของโจทก์คนเดียว ก็ไม่มีเหตุที่โจทก์กับ ม. จะกำหนดเงื่อนไขการเบิกถอนเงินว่าต้องลงลายมือสั่งจ่ายทั้งสองคนร่วมกัน จึงฟังว่าเงินในบัญชีเงินฝากที่ ม. เบิกถอนไปนั้นเป็นสินสมรส ซึ่งโจทก์มีส่วนอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างสมรส: ข้อสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส และภาระการพิสูจน์ของจำเลย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดย่อมได้รับการสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของที่ดินนั้นจำเลยอ้างว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแทนบุคคลอื่นจำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์ จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาระหว่างสมรสกับโจทก์โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474วรรคสองจำเลยกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมิใช่สินสมรสย่อมมีภาระการพิสูจน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: สันนิษฐานว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส จำเลยมีภาระการพิสูจน์หากอ้างว่ามิใช่
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด ย่อมได้รับการสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของที่ดินนั้น จำเลยอ้างว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแทนบุคคลอื่นจำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์ จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาระหว่างสมรสกับโจทก์โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคสอง จำเลยกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมิใช่สินสมรสย่อมมีภาระการพิสูจน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินและสินสมรส: ภาระการพิสูจน์ของจำเลย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด ย่อมได้รับการสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของที่ดินนั้น จำเลยอ้างว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแทนบุคคลอื่น จำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์
จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาระหว่างสมรสกับโจทก์โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 วรรคสองจำเลยกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมิใช่สินสมรสย่อมมีภาระการพิสูจน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: สันนิษฐานว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส จำเลยมีภาระพิสูจน์หักล้าง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดย่อมได้รับการสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของที่ดินนั้นจำเลยอ้างว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแทนบุคคลอื่นจำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์ จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาระหว่างสมรสกับโจทก์โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474วรรคสองจำเลยกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมิใช่สินสมรสย่อมมีภาระการพิสูจน์