คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยงยุทธ สุเรนทร์รังสิกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้เถียงข้อเท็จจริงใหม่หลังรับสารภาพขัด พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง/อาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 6 ซอง น้ำหนักสุทธิ 6.859 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 6.655 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย อันต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา โดยไม่ปรากฏว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องหรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฎีกาของจำเลยที่ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางไม่สามารถนับได้เป็นจำนวนหน่วยการใช้และโจทก์ไม่นำสืบจึงต้องฟังเป็นคุณว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อเสพ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ และเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจรับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7282/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีและการอุทธรณ์คำสั่งศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว และได้ออกคำบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามคำพิพากษา ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าจำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง ขอให้ศาลชั้นต้นอย่าเพิ่งออกหมายบังคับคดี ถือได้ว่าเป็นการขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 และตามฎีกาของจำเลยทั้งสองก็อ้างว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคสาม บัญญัติว่า คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะต้องพิพากษายกอุทธรณ์เสีย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กลับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการไม่ชอบและจำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาเป็นที่สุด ไม่สามารถฎีกาได้
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องแล้วส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาว่าจะสั่งรับคำร้องนั้นไว้เพื่อดำเนินการพิจารณาคดีนั้นใหม่หรือไม่ตามมาตรา 9 ซึ่งในการพิจารณาสั่งคำร้องของศาลอุทธรณ์นั้น มาตรา 10 วรรคสองกำหนดให้คำสั่งรับคำร้องหรือคำสั่งยกคำร้องของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด เมื่อคดีนี้อยู่ในชั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นของศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาสั่งรับคำร้องของผู้ร้องหรือไม่ มิใช่กรณีที่มีการพิจารณาคดีใหม่แล้วมีคำพิพากษาตามมาตรา 13 ที่จะฎีกาได้ตามมาตรา 15 (2) ดังนั้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่วินิจฉัยว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่และให้ยกคำร้องของผู้ร้องย่อมเป็นที่สุดตามบทบัญญัติมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4971/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญา: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุและฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญตาม ป.อ. มาตรา 376 และ 392 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 15 วันและปรับ 500 บาท โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับวินิจฉัยความผิดฐานดังกล่าวมาโดยไม่รอการลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการริบมัดจำเมื่อฝ่ายผิดสัญญา การปฏิบัติตามขั้นตอนการบอกเลิกสัญญาตามกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไคโตซานและวางเงินจำนวน 200,000 บาท แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา โดยสัญญาข้อ 4 ระบุว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องขอใบอนุญาตขึ้นทะเบียนการใช้ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้แก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดเวลาว่าจำเลยต้องขอใบอนุญาตให้แล้วเสร็จเมื่อใด จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องขอใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยโดยไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายในเวลาที่โจทก์กำหนดเสียก่อน จึงไม่เป็นผลให้สัญญาระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ทั้งหลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาเพียงสิบวัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็ออกใบสำคัญการใช้ฉลากอาหารให้แก่โจทก์แล้ว การกระทำของโจทก์จึงเป็นการบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญาและมีผลให้โจทก์ตกเป็นผู้ผิดสัญญา การที่จำเลยมีหนังสือตอบกลับไปยังโจทก์ว่า จำเลยตกลงสนองรับการบอกเลิกสัญญาโดยไม่ยอมคืนเงินจำนวน 200,000 บาท ให้ เนื่องจากโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่เป็นจำนวนมากนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงเลิกสัญญาโดยไม่มีเงื่อนไข แต่เป็นการที่จำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ อันเป็นผลมาจากการที่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเสียก่อน เมื่อโจทก์มอบเงินให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาจึงมีผลเป็นมัดจำ จำเลยย่อมริบเงินจำนวนดังกล่าวนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์ของกลาง: ศาลฎีกาชี้ว่าคำพิพากษาให้คืนทรัพย์เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ไม่สร้างฐานะเจ้าหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ร่วม
คดีนี้พนักงานสอบสวนยึดทรัพย์ของกลางไว้ในชั้นสอบสวนเพื่อดำเนินคดีและตกลงให้โจทก์ร่วมรับมอบทรัพย์ดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ในระหว่างดำเนินคดีมิใช่คดีที่มีข้อหาหรือข้อกล่าวอ้างที่พิพาทกันว่า โจทก์ร่วมยึดถือครอบครองทรัพย์ของกลางของจำเลยที่ 1 ไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายในอันที่จะพิจารณาและพิพากษาบังคับให้โจทก์ร่วมคืนทรัพย์นี้แก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด คำพิพากษาที่ให้โจทก์ร่วมคืนทรัพย์ของกลางแก่จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่คำพิพากษาบังคับในลักษณะให้โจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วยการคืนทรัพย์ของกลางนี้แก่จำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขอให้ศาลบังคับคดีแก่โจทก์ร่วมเพื่อให้โจทก์ร่วมคืนทรัพย์ของกลางนี้แก่จำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 249 ประกอบกับ ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์ของกลางตามคำพิพากษา: จำเลยไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับคดีโจทก์ร่วม
เจ้าพนักงานตำรวจยึดทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องรวม 7 รายการ เป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน ต่อมาพนักงานสอบสวนให้โจทก์ร่วมรับมอบทรัพย์ดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ในระหว่างดำเนินคดี เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คืนทรัพย์ของกลางแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยในเรื่องของกลางตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) อันเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนผู้ยึดทรัพย์ของกลางไว้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวนั่นเอง ทั้งมิใช่คดีที่มีข้อหาหรือข้อพิพาทกันว่า โจทก์ร่วมยึดถือหรือครอบครองทรัพย์ของกลางของจำเลยที่ 1 ไว้โดยมิชอบที่จะบังคับให้โจทก์ร่วมคืนให้แก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ตกอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขอให้ศาลบังคับคดีเพื่อให้โจทก์ร่วมคืนทรัพย์ของกลางแก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายต้องเป็นนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย หากสินค้าเป็นของปลอม หนี้จึงไม่สมบูรณ์
จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้เสียหาย หนี้ค่าสินค้าดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายจึงจะครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า สินค้าที่ผู้เสียหายขายให้จำเลยเป็นสินค้าที่ซื้อขายกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะมีผลทำให้การซื้อขายสินค้าอันเป็นมูลหนี้ตามฟ้องระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นนิติกรรมที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะถือได้ว่าเป็นนิติกรรมที่ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย ดังนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่าหนี้ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหายเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การออกเช็คของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบอันจะเป็นความผิดตามฟ้อง
of 3