พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ แม้จะมีการครอบครองต่อเนื่องหลังสัญญาหมดอายุ
ในชั้น ชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท2ประเด็นคือ1.โจทก์ให้คำมั่นจะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก6ปีหรือไม่2.โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยหรือไม่แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ประเด็นพิพาทดังกล่าวเมื่อปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้วว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไปหรือไม่ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ครอบคลุมรวมถึงประเด็นที่จำเลยประสงค์ให้กำหนดไว้แล้วทั้งสองประเด็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มเติมอีก คำมั่นจะให้เช่าที่ดินพิพาทต่อของโจทก์เป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาซึ่งอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมแม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดสัญญาเช่าขึ้นใหม่ก็ตามแต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับผิดเป็นสำคัญจำเลยย่อมไม่อาจขอบังคับให้โจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538 สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา20ปีนับแต่วันที่13สิงหาคม2515จึงสิ้นสุดในวันที่13สิงหาคม2535โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา564การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยภายหลังสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วเพียง4วันแสดงว่าโจทก์ทักท้วงไม่ยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญากันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าและการบอกเลิกสัญญาเช่า: การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ชอบด้วยกฎหมายหลังสิ้นสุดสัญญาเดิม
แม้สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างโจทก์กับ ส. จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้การเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากผู้เช่าเดิมมาเป็นผู้เช่าใหม่ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนการเช่าดังกล่าวรับทราบด้วย โจทก์จำเลยและ ส. ลงลายมือชื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ส. มาเป็นจำเลยถือว่าโจทก์และ ส.ได้บอกกล่าวการโอนและให้ความยินยอมการโอนสิทธิการเช่าเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งแล้ว แม้หนังสือเลิกการเช่าของโจทก์ที่ส่งไปยังจำเลยเป็นระยะเวลาน้อยกว่ากำหนดเวลาที่ต้องชำระค่าเช่าระยะหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยมาตรา566แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกินกว่าชั่วกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบแล้วจึงมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์สิน: สิทธิเลิกสัญญาเช่าธรรมดา และความรับผิดในความเสียหายหลังสิ้นสุดสัญญา
ในสำนวนคดีหลัง จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากทรัพย์ที่เช่าซึ่งขณะยื่นคำฟ้องมีค่าเช่าเดือนละหนึ่งหมื่นบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองโจทก์ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวในสำนวนหลัง ค่าใช้จ่ายปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นกิจการพิพาทเพื่อประโยชน์ของโจทก์จะใช้สอยและเรียกเก็บค่าบริการ หาใช่เป็นการใช้จ่ายช่วยค่าก่อสร้างกิจการพิพาทจึงมิใช่ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าโจทก์จ่ายค่าตอบแทนให้จำเลยที่ 1 เป็นพิเศษยิ่งกว่ากว่าใช้จ่ายเช่ากิจการพิพาทตามสัญญาเช่าธรรมดา สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นสัญญาเช่าธรรมดาและโจทก์จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงระยะเวลาการเช่าต่อกันไว้โจทก์จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อกันเมื่อใดก็ได้ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์จำเลยที่ 1ตกลงชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน การบอกเลิกสัญญาเช่าจึงต้องบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าได้ทุกระยะ แต่ต้องแจ้งให้คู่สัญญารู้ตัวก่อนชั่วกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 จำเลยที่ 1แจ้งบอกเลิกการเช่าต่อโจทก์ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์2533 และจำเลยที่ 1 ยื่นคำฟ้องขับไล่โจทก์ วันที่ 17 เมษายน2533 เกินกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้วดังนี้การอยู่ดำเนินกิจการพิพาทของโจทก์ภายหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบ เป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 พึงได้รับในระหว่างที่โจทก์อยู่ในกิจการพิพาท ไม่ส่งมอบกิจการพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าในเดือนต่อมาหลังจากโจทก์รับทราบการบอกเลิกการเช่า สำนวนแรกเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นเงินรวม 15,000 บาทนั้นเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามมาตรา 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ารายเดือน การบอกเลิกสัญญา และความเสียหายจากการ占ครองหลังบอกเลิก
ในสำนวนคดีหลัง จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากทรัพย์ที่เช่าซึ่งขณะยื่นคำฟ้องมีค่าเช่าเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง โจทก์ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวในสำนวนหลัง
ค่าใช้จ่ายปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นกิจการพิพาทเพื่อประโยชน์ของโจทก์จะใช้สอยและเรียกเก็บค่าบริการ หาใช่เป็นการใช้จ่ายช่วยค่าก่อสร้างกิจการพิพาท จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าโจทก์จ่ายค่าตอบแทนให้จำเลยที่ 1เป็นพิเศษยิ่งกว่าการใช้จ่ายเช่ากิจการพิพาทตามสัญญาเช่าธรรมดา
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นสัญญาเช่าธรรมดาและโจทก์จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงระยะเวลาการเช่าต่อกันไว้ โจทก์จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อกันเมื่อใดก็ได้ ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์จำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน การบอกเลิกสัญญาเช่าจึงต้องบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าได้ทุกระยะ แต่ต้องแจ้งให้คู่สัญญารู้ตัวก่อนชั่วกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 566 จำเลยที่ 1 แจ้งบอกเลิกการเช่าต่อโจทก์ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2533 และจำเลยที่ 1 ยื่นคำฟ้องขับไล่โจทก์วันที่ 17 เมษายน 2533 เกินกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้ว ดังนี้การอยู่ดำเนินกิจการพิพาทของโจทก์ภายหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบ เป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 พึงได้รับในระหว่างที่โจทก์อยู่ในกิจการพิพาท ไม่ส่งมอบกิจการพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าในเดือนต่อมาหลังจากโจทก์รับทราบการบอกเลิกการเช่า
สำนวนแรกเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นเงินรวม 15,000 บาท นั้นเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ.แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
ค่าใช้จ่ายปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นกิจการพิพาทเพื่อประโยชน์ของโจทก์จะใช้สอยและเรียกเก็บค่าบริการ หาใช่เป็นการใช้จ่ายช่วยค่าก่อสร้างกิจการพิพาท จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าโจทก์จ่ายค่าตอบแทนให้จำเลยที่ 1เป็นพิเศษยิ่งกว่าการใช้จ่ายเช่ากิจการพิพาทตามสัญญาเช่าธรรมดา
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นสัญญาเช่าธรรมดาและโจทก์จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงระยะเวลาการเช่าต่อกันไว้ โจทก์จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อกันเมื่อใดก็ได้ ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์จำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน การบอกเลิกสัญญาเช่าจึงต้องบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าได้ทุกระยะ แต่ต้องแจ้งให้คู่สัญญารู้ตัวก่อนชั่วกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 566 จำเลยที่ 1 แจ้งบอกเลิกการเช่าต่อโจทก์ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2533 และจำเลยที่ 1 ยื่นคำฟ้องขับไล่โจทก์วันที่ 17 เมษายน 2533 เกินกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้ว ดังนี้การอยู่ดำเนินกิจการพิพาทของโจทก์ภายหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบ เป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 พึงได้รับในระหว่างที่โจทก์อยู่ในกิจการพิพาท ไม่ส่งมอบกิจการพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าในเดือนต่อมาหลังจากโจทก์รับทราบการบอกเลิกการเช่า
สำนวนแรกเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นเงินรวม 15,000 บาท นั้นเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ.แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าสถานที่ค้า การบอกเลิกสัญญาเช่า ค่าเสียหายจากการหยุดประกอบการ และการปรับปรุงโรงแรม
โจทก์เป็นเจ้าของกิจการร้านบาร์เบอร์ช้อบ ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งร้านค้าของโรงแรม ร.โดยเช่าจากบริษัทร. จำกัด โดยไม่มีกำหนดเวลา ต่อมาบริษัท ร. จำกัด ขายทรัพย์สินทั้งหมดให้จำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเดิมที่โจทก์มีกับบริษัท ร. จำกัด มาด้วย การที่จำเลยได้ปิดกิจการโรงแรมโดยปิดประตูใหญ่ด้านหน้าโรงแรม อันเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ปิดกิจการร้านของโจทก์แล้ว ในขณะที่โจทก์ยังมีสิทธิการเช่าอยู่ ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ สัญญาเช่ากำหนดว่าโจทก์จะต้องออกจากสถานที่เช่าเมื่อจำเลยบอกกล่าวแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน ดังนี้เมื่อจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอให้ส่งมอบสถานที่เช่าอ้างว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่า แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยปิดกิจการเพื่อจะปรับปรุงโรงแรม โดยปิดประตูใหญ่ เสีย ก็อนุโลมได้ว่าจำเลยแจ้งให้โจทก์ส่งมอบสถานที่เช่าเพื่อปรับปรุงอาคารของโรงแรมตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จะต้องย้ายออกจากสถานที่เช่าเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาผู้ให้เช่าสำคัญกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อครบกำหนด หากมีหนังสือทักท้วงแล้ว ไม่ถือเป็นการเช่าใหม่ไม่มีกำหนด
การที่จะถือว่าเมื่อสิ้นกำหนดการเช่าแล้วมีการเช่ากันใหม่ต่อไป ไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่จะต้องบอกเลิกการเช่าหรือบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก่อนหรือในวันครบกำหนดการเช่าว่าจะไม่ให้เช่าต่อไป หากแต่ให้ดูเจตนาของผู้ให้เช่าว่ามีการยินยอมให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปหรือไม่ ซึ่งการยินยอมนั้นรวมถึงการไม่ทักท้วงเมื่อรู้ว่าผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมหลังจากสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว สัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาแน่นอน โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยในวันครบกำหนดการเช่า แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปนับแต่วันครบกำหนดการเช่าแล้ว และหนังสือดังกล่าวนั้นจำเลยได้รับแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ทักท้วงในการที่จำเลยจะอยู่ในที่เช่าต่อไป ดังนี้ การที่จำเลยอยู่ในที่เช่า ต่อมาภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จึงไม่ใช่การเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องบอกเลิกการเช่าตามมาตรา 566 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาไม่ยินยอมให้เช่าต่อหลังสัญญาหมดอายุ ไม่ถือเป็นการเช่าใหม่ไม่มีกำหนดเวลา ผู้ให้เช่ามีอำนาจฟ้องได้โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา
การที่จะถือว่าเมื่อสิ้นกำหนดการเช่าแล้วมีการเช่ากันใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 นั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่จะต้องบอกเลิกการเช่าหรือบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก่อนหรือในวันครบกำหนดการเช่าว่าจะไม่ให้เช่าต่อไป หากแต่ให้ดูเจตนาของผู้ให้เช่าว่ามีการยินยอมให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปหรือไม่ซึ่งการยินยอมนั้นรวมถึงการไม่ทักท้วงเมื่อรู้ว่าผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาหลังจากสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว สัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาแน่นอน โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยในวันครบกำหนดการเช่า แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป นับแต่วันครบกำหนดการเช่าแล้ว และหนังสือดังกล่าวนั้นจำเลยได้รับแล้วพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ทักท้วงในการที่จำเลยจะอยู่ในที่เช่าต่อไป ดังนี้การที่จำเลยอยู่ในที่เช่าต่อมาภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จึงไม่ใช่การเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องบอกเลิกการเช่าตามมาตรา 566 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุโดยไม่มีกำหนดเวลา การบอกเลิกสัญญา และการปรับปรุงอาคาร
การที่จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในอาคารพิพาทที่เช่าต่อมา และโจทก์ผู้ให้เช่าได้นำเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระค่าเช่าไปเรียกเก็บเงินถือว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าโดยบอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ถือว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทได้เลิกกันแล้ว การที่จำเลยยังคงครอบครองอาคารพิพาทหลังจากนั้น ย่อมเป็นการละเมิดซึ่งต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ได้นำเช็คที่จำเลยออกให้ไปเรียกเก็บเงินอีก ก็เป็นการเรียกเก็บเงินเพื่อเป็นค่าเสียหายเท่านั้น หามีผลเกิดเป็นสัญญาเช่าไม่ การที่จำเลยทำการปรับปรุงพื้น ซ่อมหลังคา ทาสีและกั้นห้องในอาคารพิพาท นั้น ถือว่าเป็นการซ่อมแซมตามปกติซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553 และเป็นการทำเพื่อให้สวยงามและความสะดวกสบายของจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน ผลบังคับใช้ 3 ปี และการบอกเลิกสัญญาเช่าหลังครบกำหนด
สัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยร่วมมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมฟ้องร้องบังคับได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 แม้สัญญาเช่าระบุว่า เมื่อได้ชำระค่าเช่าครบแล้วเจ้าของที่จะจัดให้จดทะเบียนสัญญาเช่า จำเลยร่วมก็ไม่มีสิทธิบังคับโจทก์ทั้งสี่ให้ไปจดทะเบียนได้ การที่โจทก์ทั้งสี่ไม่จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยร่วมจะถือว่าโจทก์ทั้งสี่ผิดสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งถือว่าเป็นการเช่าที่ไม่กำหนดเวลาเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่ไม่ทักท้วงในการที่จำเลยร่วมอยู่ต่อมาภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดลงตามมาตรา 566และ 570 แล้ว โดยให้เวลาก่อนฟ้องเกินกว่า 2 เดือน สัญญาเช่าย่อมระงับไป โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุ-บอกเลิกสัญญา-อายุความ-การคิดเบี้ยปรับ การฟ้องร้องเรียกค่าเช่าและเบี้ยปรับตามสัญญาเช่า
เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่า จำเลยยังมิได้ส่งมอบบ้านเช่าคืนโจทก์ ต่อมาผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้จัดประโยชน์ในที่ดินที่เช่าได้มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยแสดงว่าโจทก์ได้รู้ถึงการที่จำเลยยังมิได้ออกจากบ้านเช่าด้วย จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา570 ค่าเช่าและเบี้ยปรับเมื่อไม่ชำระค่าเช่าเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม และสัญญาใหม่นี้ได้สิ้นสุดลงโดยการบอกเลิกสัญญาในวันครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 566
หลังจากครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญา ตัวแทนของจำเลยกับโจทก์ทำความตกลงกันเกี่ยวกับการยืดเวลาการย้ายกับค่ารื้อย้าย มีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความกัน ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันให้นำเอาสัญญาเช่าที่สิ้นสุดไปแล้วมาบังคับใช้กันอีกต่อไป โจทก์จะให้จำเลยชำระค่าเช่าในระหว่างนี้ไม่ได้
โจทก์คิดเบี้ยปรับของค่าเช่าโดยเอาเบี้ยปรับและค่าเช่าที่ค้างชำระมาทบเข้ากับค่าเช่าของแต่ละเดือนเพื่อคำนวณหาจำนวนเงินเบี้ยปรับในเดือนต่อไป เป็นการคิดเบี้ยปรับจากเบี้ยปรับที่ค้างชำระ ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะเบี้ยปรับที่ค้างมิใช่ค่าเช่า จึงนำมาคิดเบี้ยปรับอีกไม่ได้
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความละเมิดเพราะเกิน1 ปี ถือได้ว่าแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์ไม่ได้คัดค้าน ปัญหาเรื่องอายุ-ความจึงเป็นประเด็นในคดี แต่จำเลยให้การยกอายุความต่อสู้เฉพาะที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานละเมิดเท่านั้น ส่วนที่ศาลให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องให้รับผิดตามสัญญาเช่า เรื่องอายุความสำหรับค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
หลังจากครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญา ตัวแทนของจำเลยกับโจทก์ทำความตกลงกันเกี่ยวกับการยืดเวลาการย้ายกับค่ารื้อย้าย มีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความกัน ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันให้นำเอาสัญญาเช่าที่สิ้นสุดไปแล้วมาบังคับใช้กันอีกต่อไป โจทก์จะให้จำเลยชำระค่าเช่าในระหว่างนี้ไม่ได้
โจทก์คิดเบี้ยปรับของค่าเช่าโดยเอาเบี้ยปรับและค่าเช่าที่ค้างชำระมาทบเข้ากับค่าเช่าของแต่ละเดือนเพื่อคำนวณหาจำนวนเงินเบี้ยปรับในเดือนต่อไป เป็นการคิดเบี้ยปรับจากเบี้ยปรับที่ค้างชำระ ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะเบี้ยปรับที่ค้างมิใช่ค่าเช่า จึงนำมาคิดเบี้ยปรับอีกไม่ได้
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความละเมิดเพราะเกิน1 ปี ถือได้ว่าแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์ไม่ได้คัดค้าน ปัญหาเรื่องอายุ-ความจึงเป็นประเด็นในคดี แต่จำเลยให้การยกอายุความต่อสู้เฉพาะที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานละเมิดเท่านั้น ส่วนที่ศาลให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องให้รับผิดตามสัญญาเช่า เรื่องอายุความสำหรับค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย