คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 566

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งจากหนังสือมอบอำนาจ และการบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา
หนังสือมอบอำนาจระบุว่าให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้กระทำการในกิจการต่าง ๆ แทน โดยมีข้อหนึ่งระบุว่า ให้มีอำนาจฟ้องบุคคลใดหรือนิติบุคคลใดต่อศาลในคดีแพ่ง จึงเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนแล้ว แม้มิได้ระบุตัวบุคคลที่จะให้ฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงก็ตาม
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การรับกันว่ามีการเช่าที่พิพาทอยู่จริงแล้วโจทก์ผู้ให้เช่าแถลงรับว่าไม่มีหนังสือสัญญาเช่าที่ได้กำหนดเวลาเช่ากันไว้ก็ต้องฟังว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาอันการเลิกสัญญาเช่าจะต้องบอกกล่าวตามกฎหมาย และแม้โจทก์จะมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่พิพาทภายใน 15 วันก็ตาม แต่เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องขับไล่นั้นเป็นเวลาเกินกว่า2 เดือนแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ซึ่งจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทนี้แล้วข้อฎีกาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการครอบครองปรปักษ์, และดุลพินิจศาลในการกำหนดค่าเสียหาย
การบอกเลิกการเช่าซึ่งโจทก์บอกกล่าวแก่ห้างจำเลยที่ 1 โดยส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับฝ่ายจำเลยไม่ยอมรับถือว่าได้บอกกล่าวโดยชอบแล้ว
โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าที่พิพาทอยู่ในย่านชุมชน มีรถประจำทางผ่านหลายสาย ถ้าโจทก์นำไปสร้างศูนย์การค้าหรืออาคารชุด (คอนโดมิเนียม) จะมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท แต่เป็นเพียงความคาดหมายไม่แน่นอนว่าจะมีรายได้เท่านั้นจริงศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่เห็นสมควร
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีเป็นดุลพินิจคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือดำเนินคดีของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, การเรียกร้องค่าเสียหายจากการครอบครองปรปักษ์, และดุลพินิจศาลในการกำหนดค่าเสียหาย
การบอกเลิกการเช่าซึ่งโจทก์บอกกล่าวแก่ห้างจำเลยที่1โดยส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่2ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับฝ่ายจำเลยไม่ยอมรับถือว่าได้บอกกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าที่พิพาทอยู่ในย่านชุมชนมีรถประจำทางผ่านหลายสายถ้าโจทก์นำไปสร้างศูนย์การค้าหรืออาคารชุด(คอนโดมิเนียม)จะมีรายได้เดือนละ20,000บาทแต่เป็นเพียงความคาดหมายไม่แน่นอนว่าจะมีรายได้เท่านั้นจริงศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่เห็นสมควร ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีเป็นดุลพินิจคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือดำเนินคดีของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และการกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
การบอกเลิกการเช่าซึ่งโจทก์บอกกล่าวแก่ห้างจำเลยที่ 1 โดยส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับฝ่ายจำเลยไม่ยอมรับถือว่าได้บอกกล่าวโดยชอบแล้ว
โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าที่พิพาทอยู่ในย่านชุมชนมีรถประจำทางผ่านหลายสาย ถ้าโจทก์นำไปสร้างศูนย์การค้าหรืออาคารชุด (คอนโดมิเนียม) จะมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท แต่เป็นเพียงความคาดหมายไม่แน่นอนว่าจะมีรายได้เท่านั้นจริงศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่เห็นสมควร
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีเป็นดุลพินิจคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือดำเนินคดีของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าและการพิสูจน์การบอกกล่าว การแจ้งให้ผู้เช่าออกจากอาคาร
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้วหรือไม่ จึงถือว่าคดีมีประเด็นดังกล่าวเพียงเท่านั้น มิได้มีประเด็นขยายความไปถึงการไม่บอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าก่อนจึงเลิกสัญญาเช่าไม่ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ใน มาตรา 560 วรรคสอง และมาตรา 566 ดังที่จำเลยฎีกา เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแล้ว จำเลยและบริวารจึงต้องออกไปจากตึกพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า: ผลของการบอกกล่าวเลิกสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายและการปฏิเสธการรับหนังสือ
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้วหรือไม่ จึงถือว่าคดีมีประเด็นดังกล่าวเท่านั้นมิได้มีประเด็นขยายความไปถึงการไม่บอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าก่อน จึงเลิกสัญญาเช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 วรรคสอง และมาตรา 566ดังที่จำเลยฎีกา เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ได้บอกกล่าว เลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแล้ว จำเลยและบริวารจึงต้องออกไป จากตึกพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่าและการเช่าช่วง: หน้าที่ผู้ให้เช่าไปเก็บค่าเช่า และการเสียค่าเปลี่ยนชื่อเฉพาะกรณีจดทะเบียน
ตามสัญญาเช่าไม่ได้ระบุว่าการชำระค่าเช่าให้ปฏิบัติต่อกันอย่างไรแต่การที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันว่าให้ผู้ให้เช่าเป็นฝ่ายไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าและปฏิบัติต่อกันเช่นนี้ตลอดมา จึงฟังได้ว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่า จะถือว่าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1735/2517)
ตามบันทึกต่อท้ายสัญญาเช่ามีใจความว่า ผู้เช่ามีสิทธิจะให้ผู้อื่นเช่าช่วงต่อไปได้แต่จะต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้ผู้เช่าครั้งละ 4,000 บาท คำว่า 'เปลี่ยนชื่อ' ในสัญญาข้อนี้ จึงย่อมหมายถึงการไปจดทะเบียนการเช่าเปลี่ยนชื่อผู้เช่าจากผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วงในกรณีผู้เช่าให้เช่าช่วงโดยไม่มีการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วงตามที่จดทะเบียนการเช่าไว้ ผู้เช่าก็ไม่ต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้แก่ผู้ให้เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการชำระค่าเช่าและค่าเปลี่ยนชื่อผู้เช่าช่วง การบอกเลิกสัญญาเช่าจึงไม่ชอบ
ตามสัญญาเช่าไม่ได้ระบุว่าการชำระค่าเช่าให้ปฏิบัติต่อกันอย่างไร แต่การที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันว่าให้ผู้ให้เช่าเป็นฝ่ายไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าและปฏิบัติต่อกันเช่นนี้ตลอดมา จึงฟังได้ว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่า จะถือว่าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1735/2517) ตามบันทึกต่อท้ายสัญญาเช่ามีใจความว่า ผู้เช่ามีสิทธิจะให้ผู้อื่นเช่าช่วงต่อไปได้แต่จะต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้ผู้เช่าครั้งละ 4,000 บาท คำว่า 'เปลี่ยนชื่อ' ในสัญญาข้อนี้ จึงย่อมหมายถึงการไปจดทะเบียนการเช่าเปลี่ยนชื่อผู้เช่าจากผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วง ในกรณีผู้เช่าให้เช่าช่วงโดยไม่มีการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าเป็นชื่อผู้เช่าช่วงตามที่จดทะเบียนการเช่าไว้ ผู้เช่าก็ไม่ต้องเสียค่าเปลี่ยนชื่อให้แก่ผู้ให้เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา เมื่อครบกำหนดไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปีกลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไปแต่อย่างใดไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา สิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ไม่ได้จดทะเบียน
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538 ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปี กลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไป แต่อย่างใดไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)
of 31