พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าใหม่โดยปริยาย สิทธิเลิกสัญญาตามข้อตกลง และการฟ้องขับไล่
เมื่อครบอายุสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่าคงอยู่ในที่เช่าต่อไป ผู้ให้เช่ารู้แล้วไม่ท้วงถือว่ามีการทำสัญญาใหม่ซึ่งไม่มีกำหนดเวลา ส่วนข้อสัญญาอื่นของสัญญาใหม่นี้คงเป็นอย่างเดียวกับในสัญญาเช่าเดิม อ้างฎีกาที่ 1448/2503
เมื่อผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาตามข้อความในสัญญา ผู้ให้เช่าใช้สิทธินั้นได้โดยไม่ต้องบอกเลิกตามวิธีใน ป.พ.พ.มาตรา 566.
หมายเหตุ : คำพิพากษาฎีกาที่ 136/2503 ระหว่างนายประวิทย์ ศรีธัญรัตน์ โจทก์ นายกิมจั๊ว แซ่ซือ จำเลย ก็วินิจแัยไว้อย่างเดียวกับคดีนี้ด้วย.
เมื่อผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาตามข้อความในสัญญา ผู้ให้เช่าใช้สิทธินั้นได้โดยไม่ต้องบอกเลิกตามวิธีใน ป.พ.พ.มาตรา 566.
หมายเหตุ : คำพิพากษาฎีกาที่ 136/2503 ระหว่างนายประวิทย์ ศรีธัญรัตน์ โจทก์ นายกิมจั๊ว แซ่ซือ จำเลย ก็วินิจแัยไว้อย่างเดียวกับคดีนี้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หลัง 3 ปี: สิทธิโอน-ชดใช้ค่าเสียหาย
ทำสัญญาเช่าสวนมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปีโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ถ้าผู้ให้เช่า (จำเลย) โอนกรรมสิทธิ์ที่เช่าไปก่อนหมดกำหนดเวลาเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า(โจทก์) เช่าสวนมาได้ 8 ปีเศษผู้ให้เช่าจึงโอนขายที่สวนแปลงนี้ไปนั้น เมื่อปรากฏว่า สิ้นกำหนดเวลาสามปีแล้ว โจทก์ยังคงเช่าอยู่ต่อไปจึงต้องถือว่าเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 จริงอยู่คู่กรณีอาจต้องผูกพันตามข้อสัญญาเดิมต่อไปแต่ก็จำต้องพิจารณาข้อสัญญานั้นเป็นเรื่องๆ ไปข้อสัญญาใดมีสภาพที่จะผูกพันกันได้ ก็ย่อมผูกพันกัน แต่ถ้าข้อสัญญาใดโดยสภาพไม่อาจผูกพันกันต่อไปได้ ก็ย่อมไม่ผูกพัน เมื่อสัญญาเช่ารายนี้เปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาไปเสียแล้วจึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กันฉะนั้น การที่จำเลย (ผู้ให้เช่า) โอนขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้อื่นไปเมื่อการเช่าล่วงเลยกว่าสามปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของสัญญา จำเลยมีสิทธิโอนขายได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าเสียหายแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์พ้นระยะเวลา 3 ปี สัญญาใหม่ไม่มีกำหนดเวลา ผู้ให้เช่ามีสิทธิขายได้
ทำสัญญาเช่าสวนมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปี โดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ถ้าผู้ให้เช่า(จำเลย)โอนกรรมสิทธิ์ที่เช่าไปก่อนหมดกำหนดเวลาเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า (โจทก์) เช่าสวนมาได้ 8 ปีเศษ ผู้ให้เช่าจึงโอนขายที่สวนแปลงนี้ไปนั้น เมื่อปรากฏว่า สิ้นกำหนดเวลาสามปีแล้ว โจทก์ยังคงเช่าอยู่ต่อไป จึงต้องถือว่าเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 จริงอยู่ คู่กรณีอาจต้องผูกพันตามข้อสัญญาเดิมต่อไป แต่ก็จำต้องพิจารณาข้อสัญญานั้นเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อสัญญาใดมีสภาพที่จะผูกพันกันได้ ก็ย่อมผูกพันกัน แต่ถ้าข้อสัญญาใดโดยสภาพไม่อาจผูกพันกันต่อไปได้ ก็ย่อมไม่ผูกพัน เมื่อสัญญาเช่ารายนี้เปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาไปเสียแล้ว จึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กัน ฉะนั้น การที่จำเลย(ผู้ให้เช่า) โอนขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้อื่นไปเมื่อการเช่าล่วงเลยกว่าสามปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของสัญญา จำเลยมีสิทธิโอนขายได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าเสียหายแก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้รับโอนในสัญญาเช่าที่ไม่จดทะเบียน และข้อยกเว้นความคุ้มครอง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า
แม้สัญญาเช่าห้องพิพาทจะเป็นสัญญาต่างตอบแทน สัญญานั้นก็ก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิ มีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอน และเมื่อไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา จำเลยจะอ้างประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราร 569 ไม่ได้
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ฉะนั้น ข้อตกลงระหว่างเจ้าของเดิมกับจำเลยจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นก็ใช้ได้เพียง 3 ปี เมื่อครบ 3 ปีและได้บอกเลิกการเช่าแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
เมื่อจำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อทำการค้าขายเป็นส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน ฯ
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ฉะนั้น ข้อตกลงระหว่างเจ้าของเดิมกับจำเลยจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นก็ใช้ได้เพียง 3 ปี เมื่อครบ 3 ปีและได้บอกเลิกการเช่าแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
เมื่อจำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อทำการค้าขายเป็นส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน, สิทธิผู้รับโอน, สัญญาต่างตอบแทน, การฟ้องขับไล่, การคุ้มครองผู้เช่า
แม้สัญญาเช่าห้องพิพาทจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนสัญญานั้นก็ก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิ มีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนและเมื่อไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา จำเลยจะอ้างประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 ไม่ได้
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ฉะนั้น ข้อตกลงระหว่างเจ้าของเดิมกับจำเลยจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดาเมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การเช่านั้นก็ใช้ได้เพียง 3 ปีเมื่อครบ 3 ปีและได้บอกเลิกการเช่าแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
เมื่อจำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อทำการค้าขายเป็นส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ฉะนั้น ข้อตกลงระหว่างเจ้าของเดิมกับจำเลยจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดาเมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การเช่านั้นก็ใช้ได้เพียง 3 ปีเมื่อครบ 3 ปีและได้บอกเลิกการเช่าแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
เมื่อจำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อทำการค้าขายเป็นส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในตึกแถว, การใช้ตึกแถวผิดวัตถุประสงค์, สัญญาเช่าสิ้นสุด, การบอกเลิกสัญญาเช่า, สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้ห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้าและให้เช่าช่วง กับผิดนัดชำระค่าเช่าสองคราวติดกัน เพื่อแสดงว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ถือว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยให้การว่าได้เช่าตึกแถวให้คนเช่ามีกำหนดเวลา แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องทำพิธีจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก และเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าตึกแถวรายพิพาทเป็นที่ผลิตสินค้าสำหรับจำหน่าย ภายหลังต่อมาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่อย่างเดียว เป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการเช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ยินยอมด้วย ตึกแถวรายพิพาทจึงไม่เป็นเคหะควบคุม ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับ
จำเลยให้การว่าได้เช่าตึกแถวให้คนเช่ามีกำหนดเวลา แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องทำพิธีจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก และเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าตึกแถวรายพิพาทเป็นที่ผลิตสินค้าสำหรับจำหน่าย ภายหลังต่อมาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่อย่างเดียว เป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการเช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ยินยอมด้วย ตึกแถวรายพิพาทจึงไม่เป็นเคหะควบคุม ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่า, การไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ จากการเปลี่ยนวัตถุประสงค์การเช่า, และสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้ห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้าและให้เช่าช่วงกับผิดนัดชำระค่าเช่าสองคราวติดกัน เพื่อแสดงว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ถือว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยให้การว่าได้เช่าตึกแถวรายพิพาทเพื่ออยู่อาศัย ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถือได้ว่าจำเลยได้อ้างสิทธิตามกฎหมายพิเศษคือ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 แล้ว
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินโจทก์เพื่อสร้างตึกแถวให้คนเช่ามีกำหนดเวลาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องทำพิธีจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกและเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าตึกแถวรายพิพาทเป็นที่ผลิตสินค้าสำหรับจำหน่ายภายหลังต่อมาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่อย่างเดียวเป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการเช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ยินยอมด้วยตึกแถวรายพิพาทจึงไม่เป็นเคหะควบคุม ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับ
จำเลยให้การว่าได้เช่าตึกแถวรายพิพาทเพื่ออยู่อาศัย ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถือได้ว่าจำเลยได้อ้างสิทธิตามกฎหมายพิเศษคือ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 แล้ว
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินโจทก์เพื่อสร้างตึกแถวให้คนเช่ามีกำหนดเวลาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องทำพิธีจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกและเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าตึกแถวรายพิพาทเป็นที่ผลิตสินค้าสำหรับจำหน่ายภายหลังต่อมาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่อย่างเดียวเป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการเช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ยินยอมด้วยตึกแถวรายพิพาทจึงไม่เป็นเคหะควบคุม ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าระงับเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวไม่ต่อสัญญา การเก็บค่าเช่าหลังหมดสัญญาไม่ใช่สัญญาเช่าใหม่
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าได้มีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้เช่าทราบว่าจะไม่ต่อสัญญาเช่าให้อีก และเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าก็มีหนังสือบอกกล่าวอีกฉบับหนึ่งให้ผู้เช่าออกไปและให้ส่งคืนตึกที่เช่า ดังนี้ แม้ผู้เช่าจะยังคงครอบครองตึกพิพาทอยู่อีก ก็จะถือว่าสัญญาเช่าเป็นอันได้ทำกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาหาได้ไม่ ต้องถือว่าสัญญาเช่าระงับไปแล้ว และการที่ผู้ให้เช่ายังคงเก็บค่าเช่าต่อไปอีก 3 เดือนนั้น เป็นเรื่องผู้ให้เช่ากระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายที่ได้รับอยู่เท่านั้น หาใช่เป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าระงับเมื่อผู้ให้เช่าแจ้งไม่ต่ออายุ แม้ผู้เช่ายังครอบครอง และการเก็บค่าเช่าไม่ถือเป็นการทำสัญญาใหม่
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าได้มีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้เช่าทราบว่าจะไม่ต่อสัญญาเช่าให้อีก และเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าก็มีหนังสือบอกกล่าวอีกฉบับหนึ่งให้ผู้เช่าออกไปและให้ส่งคืนตึกที่เช่าดังนี้ แม้ผู้เช่าจะยังคงครอบครองตึกพิพาทอยู่อีก ก็จะถือว่าสัญญาเช่าเป็นอันได้ทำกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาหาได้ไม่ ต้องถือว่าสัญญาเช่าระงับไปแล้ว และการที่ผู้ให้เช่ายังคงเก็บค่าเช่าต่อไปอีก 3 เดือนนั้น เป็นเรื่องผู้ให้เช่ากระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายที่ได้รับอยู่เท่านั้น หาใช่เป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพิ่มเติมมีผลผูกพัน แม้ยังไม่ได้ทำสัญญาใหม่เป็นลายลักษณ์อักษร หากตกลงกันแล้ว
ผู้เช่าทำสัญญา จ.1 เช่าทรัพย์พิพาทจากผู้ให้เช่า ค่าเช่าเดือนละ 500 บาท มี กำหนด 1 ปี และได้ทำหนังสือ จ.2 ไว้ต่อกันอีกหนึ่งฉบับ มีความในข้อ 1.ว่า"ฯลฯ ผู้เช่ามีสิทธิที่จะต่อสัญญา(จ.1)ได้อีก 1 ปี โดยต้องบอกกับผู้ให้เช่าก่อนล่วงหน้า 1 เดือน แล้วทำสัญญาขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับ และต้องเพิ่มค่าเช่าเป็นเดือนละ 3,500 บาท" ปรากฎว่า ก่อนจะครบสัญญาเช่า 1 เดือน ผู้เช่าได้ให้คนไปติดต่อกับผู้ให้เช่าขอเช่าต่อ และผู้ให้เช่าก็ยอมให้เช่าต่อได้ เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญา จ.1 แล้ว ผู้เช่าก็ยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าต่อมาดังนี้ หนังสือ จ.2 ย่อมเป็นหลักฐานผูกมัดผู้เช่าให้ต้องชำระค่าเช่าสำหรับการเช่าต่อมาในอัตราเดือนละ 3,500 บาท กรณีนี้ แม้ผู้เช่ากับผู้ให้เช่ายังไม่ได้ทำสัญญากันใหม่อีกฉบับหนึ่งตามความในหนังสือ จ.2 ก็ตาม ก็เป็นที่ชัดแจ้งว่าข้อความส่วนที่ได้ตกลงกันแล้วย่อมเป็นอันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 367 ไม่มีข้อสงสัยอันจะนับได้ว่า่ยังมิได้มีสัญญาต่อกันตามบทบัญญัติมาตรา 366 วรรค 2 นั้นอย่างใด ผู้เช่าจะเถียงว่าหนังสือ จ.2 ไม่มีผลบังคับ ผู้เช่าจึงมีสิทธิที่จะให้ค่าเช่าเพียงเดือนละ 500 บาทเท่าอัตราค่าเช่าตามสัญญา จ.1 เดิมนั้นหาได้ไม่ ทั้งกรณีไม่เข้ามาตรา 570 อันจะถือได้ว่าผู้ให้เช่ากับผู้เช่าเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา