พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือ จ.2 เป็นหลักฐานผูกมัดค่าเช่าใหม่ แม้ยังไม่ได้ทำสัญญาใหม่ตามรูปแบบ
ผู้เช่าทำสัญญา จ.1 เช่าทรัพย์พิพาทจากผู้ให้เช่า ค่าเช่าเดือนละ 500 บาทมีกำหนด 1 ปี และได้ทำหนังสือจ.2 ไว้ต่อกันอีกหนึ่งฉบับ มีความในข้อ 1 ว่า'ฯลฯ ผู้เช่ามีสิทธิที่จะต่อสัญญา (จ.1) ได้อีก 1 ปี โดยต้องบอกกับผู้ให้เช่าก่อนล่วงหน้า 1 เดือนแล้วทำสัญญาขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับ และต้องเพิ่มค่าเช่าเป็นเดือนละ 3,500 บาท' ปรากฏว่า ก่อนจะครบสัญญาเช่า1 เดือน ผู้เช่าได้ให้คนไปติดต่อกับผู้ให้เช่าขอเช่าต่อและผู้ให้เช่าก็ย่อมให้เช่าต่อได้ เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญา จ.1 แล้ว ผู้เช่าก็ยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าต่อมา ดังนี้ หนังสือ จ.2 ย่อมเป็นหลักฐานผูกมัดผู้เช่าให้ต้องชำระค่าเช่าสำหรับการเช่าต่อมาในอัตราเดือนละ 3,500 บาทกรณีนี้ แม้ผู้เช่ากับผู้ให้เช่ายังไม่ได้ทำสัญญากันใหม่อีกฉบับหนึ่งตามความในหนังสือ จ.2 ก็ตาม ก็เป็นที่ชัดแจ้งว่าข้อความส่วนที่ได้ตกลงกันแล้วย่อมเป็นอันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 367 ไม่มีข้อสงสัยอันจะนับได้ว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามบทบัญญัติมาตรา366 วรรค 2 นั้นอย่างใด ผู้เช่าจะเถียงว่าหนังสือจ.2 ไม่มีผลบังคับ ผู้เช่าจึงมีสิทธิที่จะให้ค่าเช่าเพียงเดือนละ 500 บาทเท่าอัตราค่าเช่าตามสัญญา จ.1เดิมนั้นหาได้ไม่ ทั้งกรณีไม่เข้ามาตรา 570 อันจะถือได้ว่าผู้ให้เช่ากับผู้เช่าเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบ แม้ผู้เช่าอยู่ต่างประเทศ โดยผ่านตัวแทน และการแสดงเจตนาถึงผู้เช่า
ผู้เช่าไปต่างประเทศ ได้มอบอำนาจคนอื่นเป็นตัวแทนไว้และผู้ให้เช่ากับตัวแทนได้ติดต่อเรื่องส่งค่าเช่าและไม่ยอมรับเงินธนาณัติค่าเช่ากันได้ตลอดมา ครั้นโจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังสำนักงานเดิมของตัวแทนนั่นเอง แต่กลับหาตัวคนรับไม่ได้ แต่ในระยะเดียวกันตัวแทนกลับส่งธนาณัติค่าเช่ามาให้อีก โดยระบุตำบลที่อยู่เดิมอันแสดงว่าตัวแทนยังอยู่ที่เดิม และเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ ผู้ให้เช่ายังเอาคำบอกเลิกไปปิดไว้ ณ ที่เช่าอีก ยังมีผู้ฉีกเอาไปให้พวกพ้องของโจทก์ได้ดูด้วย และเมื่อฝ่ายผู้ให้เช่าเข้าอยู่ในบ้านนั้น ตัวแทนก็ไปแจ้งความหาว่าบุกรุก พฤติการณ์ทั้งนี้เห็นได้ว่าผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าการแสดงเจตนาของฝ่ายผู้ให้เช่าถือว่าไปถึงฝ่ายผู้เช่าแล้ว (อ้างฎีกาที่ 97/2496) สัญญาเช่าย่อมระงับไป
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่า: การแสดงเจตนาถึงผู้เช่าผ่านตัวแทน แม้ผู้เช่าอยู่ต่างประเทศ และผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ผู้เช่าไปต่างประเทศ ได้มอบอำนาจคนอื่นเป็นตัวแทนไว้และผู้ให้เช่ากับตัวแทนได้ติดต่อเรื่องส่งค่าเช่าและไม่ยอมรับเงินธนาณัติค่าเช่ากันได้ตลอดมา ครั้นผู้ให้เช่าส่งหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังสำนักงานเดิมของตัวแทนนั่นเองแต่กลับหาตัวคนรับไม่ได้ แต่ในระยะเดียวกันตัวแทนกลับส่งธนาณัติค่าเช่ามาให้อีก โดยระบุตำบลที่อยู่เดิมอันแสดงว่าตัวแทนยังอยู่ที่เดิม และเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ ผู้ให้เช่ายังเอาคำบอกเลิกไปปิดไว้ ณ ที่เช่า ยังมีผู้ฉีกเอาไปให้พวกพ้องของผู้เช่าได้ดูด้วย และเมื่อฝ่ายผู้ให้เช่าเข้าอยู่ในบ้านเช่านั้นตัวแทนก็ไปแจ้งความหาว่าบุกรุก พฤติการณ์ทั้งนี้เห็นได้ว่า ผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าการแสดงเจตนาของฝ่ายผู้ให้เช่าถือว่าไปถึงฝ่ายผู้เช่าแล้ว(อ้างฎีกาที่ 97/2496) สัญญาเช่าย่อมระงับไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุโดยปริยาย ผู้ให้เช่าต้องแจ้งบอกเลิกตามสัญญาเดิมก่อนฟ้องขับไล่
สัญญาเช่าที่ระบุว่า "เมื่อผู้เช่าต้องการห้องเช่าคืน หรือผู้เช่าต้องการคืนห้อง ทั้งสองฝ่ายจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน 30 วัน" นั้นมีความหมายว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาเช่า จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน 30 วัน
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ เมื่อสิ้นกำหนดเวลาการเช่า ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินอยู่โดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วงกฎหมายถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น ข้อสัญญาบอกกล่าวเดิมก็ยังคงเป็นข้อสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปด้วย ฉะนั้น เมื่อผู้ให้เช่ามิได้บอกเลิกสัญญาก่อน ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่านั้นยังคงมีอยู่ต่อกัน ผู้ให้เช่าจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
แม้คณะกรรมการควบคุมค่าเช่าจะได้ลงมติให้ผู้ให้เช่าได้เข้าอยู่เองในห้องเช่า ก็เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าต่อผู้เช่าก่อน
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2505)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ เมื่อสิ้นกำหนดเวลาการเช่า ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินอยู่โดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วงกฎหมายถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น ข้อสัญญาบอกกล่าวเดิมก็ยังคงเป็นข้อสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปด้วย ฉะนั้น เมื่อผู้ให้เช่ามิได้บอกเลิกสัญญาก่อน ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่านั้นยังคงมีอยู่ต่อกัน ผู้ให้เช่าจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
แม้คณะกรรมการควบคุมค่าเช่าจะได้ลงมติให้ผู้ให้เช่าได้เข้าอยู่เองในห้องเช่า ก็เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าต่อผู้เช่าก่อน
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุโดยปริยาย: การบอกเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามข้อตกลงเดิม และการชำระค่าเช่าต่อเนื่องแสดงถึงการไม่มีเจตนาบอกเลิก
สัญญาเช่าที่ระบุว่า "เมื่อผู้เช่าต้องการห้องเช่าคืนหรือผู้เช่าจะต้องการคืนห้องทั้งสองฝ่ายจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน 30 วัน" นั้นมีความหมายว่าถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาเช่าจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน 30 วัน
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่า ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินอยู่โดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง กฎหมายถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น ข้อสัญญาบอกกล่าวเดิมก็ยังคงเป็นข้อสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปด้วย ฉะนั้น เมื่อผู้ให้เช่ามิได้บอกเลิกสัญญาก่อน ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่านั้นยังคงมีอยู่ต่อกันผู้ให้เช่าจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
แม้คณะกรรมการควบคุมค่าเช่าจะได้ลงมติให้ผู้ให้เช่าได้เข้าอยู่เองในห้องเช่าก็เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าต่อผู้เช่าก่อน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2505)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่า ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินอยู่โดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง กฎหมายถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น ข้อสัญญาบอกกล่าวเดิมก็ยังคงเป็นข้อสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปด้วย ฉะนั้น เมื่อผู้ให้เช่ามิได้บอกเลิกสัญญาก่อน ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่านั้นยังคงมีอยู่ต่อกันผู้ให้เช่าจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
แม้คณะกรรมการควบคุมค่าเช่าจะได้ลงมติให้ผู้ให้เช่าได้เข้าอยู่เองในห้องเช่าก็เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าต่อผู้เช่าก่อน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน ผลบังคับใช้ 3 ปี ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ทำสัญญาเช่ากันมีกำหนด 5 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียน จึงมีผลบังคับเพียง 3 ปี เมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกการเช่าก็ต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 สัญญาเช่าจึงจะระงับ
แต่ในปัญหาดังนี้ ถ้าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องบอกกล่าว และสั่งงดสืบพยานในข้อนี้ การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ(เพราะคดียังมีประเด็นข้ออื่นอีกด้วย) แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งไว้เสียแต่ศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3)
แต่ในปัญหาดังนี้ ถ้าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องบอกกล่าว และสั่งงดสืบพยานในข้อนี้ การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ(เพราะคดียังมีประเด็นข้ออื่นอีกด้วย) แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งไว้เสียแต่ศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าและการฟ้องขับไล่: โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้แม้ข้อกล่าวหาเรื่องเช่าช่วงไม่เป็นจริง หากสัญญาเช่าหมดอายุ
คำฟ้องที่ว่าโจทก์ยกเหตุ 2 ประการขึ้นอ้างในการบอกเลิกการเช่า
โจทก์บอกเลิกการเช่าโดยอ้างเหตุว่าสัญญาหมดอายุ กับจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า โดยให้เช่าช่วง แม้ในเรื่องเช่าช่วง ขอ้เท็จจริงจะฟังไม่ได้ แต่ฟังได้ว่าสัญญาเช่าหมดอายุแล้ว โจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ และศาลก็ย่อมพิพากษาขับไล่จำเลยเพราะเหตุว่าสัญญาเช่าหมดอายุได้
โจทก์บอกเลิกการเช่าโดยอ้างเหตุว่าสัญญาหมดอายุ กับจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า โดยให้เช่าช่วง แม้ในเรื่องเช่าช่วง ขอ้เท็จจริงจะฟังไม่ได้ แต่ฟังได้ว่าสัญญาเช่าหมดอายุแล้ว โจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ และศาลก็ย่อมพิพากษาขับไล่จำเลยเพราะเหตุว่าสัญญาเช่าหมดอายุได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ แม้ข้ออ้างเรื่องเช่าช่วงไม่เป็นผล
คำฟ้องที่ถือว่าโจทก์ยกเหตุ 2 ประการขึ้นอ้างในการบอกเลิกการเช่า
โจทก์บอกเลิกการเช่าโดยอ้างเหตุว่าสัญญาหมดอายุ กับจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่าโดยให้เช่าช่วง แม้ในเรื่องเช่าช่วง ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ แต่ฟังได้ว่าสัญญาหมดอายุแล้ว โจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ และศาลก็ย่อมพิพากษาขับไล่จำเลยเพราะเหตุว่าสัญญาเช่าหมดอายุได้
โจทก์บอกเลิกการเช่าโดยอ้างเหตุว่าสัญญาหมดอายุ กับจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่าโดยให้เช่าช่วง แม้ในเรื่องเช่าช่วง ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ แต่ฟังได้ว่าสัญญาหมดอายุแล้ว โจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ และศาลก็ย่อมพิพากษาขับไล่จำเลยเพราะเหตุว่าสัญญาเช่าหมดอายุได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนที่มีกำหนดระยะเวลา และการบังคับตามสัญญาแม้มีข้อโต้แย้ง
ที่ดินเป็นของ ผ. โจทก์ปลูกตึกรายพิพาทลงในที่ดินนี้ให้สามีจำเลยเช่า ได้ทำสัญญาเช่าตึกระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่ากับสามีจำเลยผู้เช่า มีข้อสัญญาว่าให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ 100 บาท เมื่อครบ 3 ปีแล้ว ถ้าผู้เช่าหรือทายาทจะเช่าต่อไป ผู้ให้เช่าจะต้องต่ออายุสัญญาคราวละ 3 ปีจนกว่าอายุสัญญาจะร่วมกันเป็น 14 ปี ผู้ให้เช่าและเจ้าของที่ดินสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าภายในเวลาอันสมควร ผ.ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและตึกก็บันทึกข้อความยอมตกลงตามข้อสัญญานี้ด้วย ในการทำสัญญานี้ สามีจำเลยและจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ 56,000 บาท เป็นค่าช่วยการก่อสร้างด้วย ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อเช่ากันได้ราว 1 ปีแล้ว สามีจำเลยตาย แต่ได้มีการบันทึกของโจทก์จำเลยไว้หลังสัญญาเช่าให้จำเลยเช่าต่อไป จำเลยผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องโจทก์ให้ไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญานั้นได้ และแม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของที่ดินกับตึก และ ผ.เจ้าของที่ดินก็เป็นคู่สัญญาร่วมด้วย จำเลยก็ไม่จำเป็นต้องฟ้อง ผ.หรือเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม (ในคดีที่จำเลยฟ้องแย้ง) การฟ้องขอให้บังคับโจทก์เช่นนี้ แม้จำเลยปล่อยให้ล่วงเลยมาถึง 6 ปี (นับแต่วันทำสัญญาเช่า)
ก็ไม่ขาดอายุความ แม้จำเลยจะได้เช่าห้องพิพาทมาแล้ว 6 ปี โดยไม่ได้ต่ออายุสัญญาเช่า สัญญาเช่าก็ไม่หมดอายุ เพราะต้องถือตามสัญญาต่างตอบแทน และเมื่อจำเลยมีสิทธิเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ก็ไม่ต้องวินิจฉัยข้อที่ว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ
ก็ไม่ขาดอายุความ แม้จำเลยจะได้เช่าห้องพิพาทมาแล้ว 6 ปี โดยไม่ได้ต่ออายุสัญญาเช่า สัญญาเช่าก็ไม่หมดอายุ เพราะต้องถือตามสัญญาต่างตอบแทน และเมื่อจำเลยมีสิทธิเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ก็ไม่ต้องวินิจฉัยข้อที่ว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางเช่าทรัพย์: จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิคุ้มครองค่าเช่า หากไม่ได้ขอรับสิทธิพิเศษตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าจำเลยเช่าห้องรายพิพาทเพื่ออยู่อาศัย มิใช่เช่าเพื่อทำการค้า สัญญาเช่าที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพราง จำเลยไม่เคยผิดสัญญาเช่า ทั้งโจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญา ดังนี้ ไม่พอที่จะให้รับฟังได้ว่าจำเลยได้ขอรับสิทธิพิเศษ ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน ฯ เพื่อที่ตนจะได้รับความคุ้มครองให้อยู่ตอ่ไป