คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 570

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย: หลักฐานเป็นหนังสือ-การยอมรับข้อกล่าวอ้าง
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และเนื่องจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าในอัตราที่สูงกว่าเดือนละ 1,000 บาท โจทก์ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ18,000 บาท ย่อมเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดค่าเช่าที่ค้างชำระตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเดือนละ1,000 บาท เท่านั้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย: หลักฐานทางหนังสือ-การยอมรับข้อกล่าวอ้าง-ผลของการไม่กำหนดประเด็น
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และเนื่องจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าในอัตราที่สูงกว่าเดือนละ 1,000 บาทโจทก์ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ18,000 บาท ย่อมเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดค่าเช่าที่ค้างชำระตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเดือนละ1,000 บาท เท่านั้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ-ทำสัญญาใหม่ไม่มีกำหนด-บอกเลิกสัญญา-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย-การพิสูจน์ค่าเช่าที่สูงขึ้น
จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทหลังจากที่โจทก์ซื้อมานานเกือบ 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าก่อนหรือหลังจากที่ให้จำเลยเช่าได้มีการต่อเติมตึกแถวพิพาทแต่อย่างใด เงินที่จำเลยอ้างว่าให้โจทก์เพื่อช่วยค่าก่อสร้าง จึงหาใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทอันจะทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อได้มีการบอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าไว้เดือนละ 1,000บาท เมื่อครบกำหนดอายุการเช่า 1 ปี จำเลยยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง มาตรา 570 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าหลังจากครบอายุการเช่า 1 ปี ในอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าโจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่า ได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าจึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาททำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้างจำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องกำหนดประเด็นในเรื่องค่าเสียหายไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: การบอกเลิกสัญญา, ค่าเช่า, หลักฐานการตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญา, ค่าเสียหาย
จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทหลังจากที่โจทก์ซื้อมานานเกือบ 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าก่อนหรือหลังจากที่ให้จำเลยเช่าได้มีการต่อเติมตึกแถวพิพาทแต่อย่างใด เงินที่จำเลยอ้างว่าให้โจทก์เพื่อช่วยค่าก่อสร้างจึงหาใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทอันจะทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อได้มีการบอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าไว้เดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดการเช่า 1 ปี จำเลยยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 ให้ถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าหลังจากครบอายุการเช่า 1 ปี เป็นอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่า ได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าจึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้ละเมิดโดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท ไม่ได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่า แม้คำฟ้องระบุว่าเดิมจำเลยเป็นผู้เช่าบ้านพิพาทมาก่อน แต่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ก็เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในบ้านพิพาทอีกต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยคงอยู่ในบ้านพิพาทเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แม้สำเนาโฉนดเป็นสำเนาเอกสาร แต่ต้นฉบับดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 วรรคสอง เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าไม่ยอมต่อสัญญาให้โดยบอกว่าจะขายหรือขายที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว ต่อมาในระยะต่อเนื่องกัน ผู้ซื้อไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในบ้านที่พิพาทได้ฟ้องขับไล่จำเลย แม้จำเลยจะอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทต่อมาหลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าได้ทำสัญญาใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะผู้ให้เช่าได้ทักท้วงแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570สัญญาเช่าระงับ โจทก์ผู้รับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาเช่าอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากผู้รับโอนสิทธิหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และการงดสืบพยานเนื่องจากจำเลยประวิงคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้ละเมิดโดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท ไม่ได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่า แม้คำฟ้องระบุว่าเดิมจำเลยเป็นผู้เช่าบ้านพิพาทมาก่อน แต่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ก็เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในบ้านพิพาทอีกต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยคงอยู่ในบ้านพิพาทเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้สำเนาโฉนดเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารแต่ต้นฉบับดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคสอง เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าไม่ยอมต่อสัญญาให้โดยบอกว่าจะขายหรือขายที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว ต่อมาในระยะต่อเนื่องกันผู้ซื้อไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในบ้านที่พิพาทได้ฟ้องขับไล่จำเลยแม้จำเลยจะอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาหลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วก็ถือไม่ได้ว่าได้ทำสัญญาใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะผู้ให้เช่าได้ทักท้วงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 สัญญาเช่าระงับ โจทก์ผู้รับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาเช่าอีก พยานจำเลยที่จำเลยขอสืบเป็นพยานบอกเล่าและศาลให้โอกาสแก่จำเลยพอสมควรแล้ว จำเลยก็แถลงรับว่าหากไม่ได้สืบพยานไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบ ทั้งโจทก์แถลงคัดค้านว่าจำเลยประวิงคดี จึงมีเหตุสมควรจะงดสืบพยานจำเลยต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินหลังการซื้อขาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้ละเมิดโดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท ไม่ได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่า แม้คำฟ้องระบุว่าเดิมจำเลยเป็นผู้เช่าบ้านพิพาทมาก่อน แต่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ก็เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในบ้านพิพาทอีกต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยคงอยู่ในบ้านพิพาทเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
แม้สำเนาโฉนดเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารแต่ต้นฉบับดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคสอง
เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าไม่ยอมต่อสัญญาให้โดยบอกว่าจะขายหรือขายที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว ต่อมาในระยะต่อเนื่องกันผู้ซื้อไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในบ้านที่พิพาทได้ฟ้องขับไล่จำเลยแม้จำเลยจะอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาหลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วก็ถือไม่ได้ว่าได้ทำสัญญาใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะผู้ให้เช่าได้ทักท้วงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 สัญญาเช่าระงับ โจทก์ผู้รับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาเช่าอีก
พยานจำเลยที่จำเลยขอสืบเป็นพยานบอกเล่าและศาลให้โอกาสแก่จำเลยพอสมควรแล้ว จำเลยก็แถลงรับว่าหากไม่ได้สืบพยานไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบ ทั้งโจทก์แถลงคัดค้านว่าจำเลยประวิงคดี จึงมีเหตุสมควรจะงดสืบพยานจำเลยต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน: สิทธิเช่ามีผลแค่ 3 ปี แม้สัญญาจะระบุ 8 ปี
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรก สิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน: สิทธิเช่าจำกัด 3 ปี แม้สัญญา 8 ปี เจ้าของที่ดินรื้อถอนก่อนกำหนดชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกสิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน สิทธิเช่ามีผลใช้ได้ 3 ปี แม้ทำสัญญา 8 ปี
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกสิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้.
of 19