พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายความผิดฐานจ้างงานคนต่างด้าว และการพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง เมื่อข้อเท็จจริงไม่เข้าองค์ประกอบความผิด
แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งยื่นฎีกาเพียงผู้เดียวถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 3 เสียจากสารบบความของศาลฎีกาแล้ว แต่สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า สถานบริการที่เกิดเหตุเป็นสถานบริการที่เปิดเพื่อให้บริการแก่บุคคลทั่วไป ในวันเวลาเกิดเหตุที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจสอบพบหญิงสัญชาติพม่า 30 คน นั่งอยู่ในตู้กระจกใสอันเป็นที่เปิดเผยเพื่อรอให้บริการแก่ลูกค้า เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีเจตนาเพื่อให้หญิงทั้งหมดทำงานเป็นหญิงบริการให้แก่ลูกค้าในสถานบริการเท่านั้น หาได้มีเจตนาเพื่อให้หญิงทั้ง 30 คน พ้นจากการจับกุมไม่ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำความผิด กรณีเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่เป็นความผิดก็มีอำนาจยกขึ้นพิจารณาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มาตรา 3(1) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 ซึ่งความผิดฐานรับคนต่างด้าวเข้าทำงานตามกฎหมายที่ใช้บังคับใหม่เป็นความผิดตาม มาตรา 27 ที่ได้กำหนดโทษไว้ในมาตรา 54 ให้ระวางโทษปรับสถานเดียวต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน ต่างจาก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 39 ที่ให้ระวางโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ ในส่วนของโทษจำคุกกฎหมายที่ใช้ในภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากกว่า แต่ในส่วนโทษปรับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดมีบางส่วนเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 2 ไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก กรณีเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะยุติการพิจารณาไปในชั้นศาลอุทธรณ์แล้ว แต่คดีนี้ยังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มาตรา 3(1) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 ซึ่งความผิดฐานรับคนต่างด้าวเข้าทำงานตามกฎหมายที่ใช้บังคับใหม่เป็นความผิดตาม มาตรา 27 ที่ได้กำหนดโทษไว้ในมาตรา 54 ให้ระวางโทษปรับสถานเดียวต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน ต่างจาก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 39 ที่ให้ระวางโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ ในส่วนของโทษจำคุกกฎหมายที่ใช้ในภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากกว่า แต่ในส่วนโทษปรับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดมีบางส่วนเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 2 ไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก กรณีเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะยุติการพิจารณาไปในชั้นศาลอุทธรณ์แล้ว แต่คดีนี้ยังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย และการขอให้ลงโทษสถานเบาในคดีจำหน่ายยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ซึ่งข้อความผิดตามฟ้องนั้นมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การและจำเลยที่ 1 กับพวกให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น เป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกเพียงแต่ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง ฎีกาในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่บิดเบือนเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเป็นไปโดยมุ่งประสงค์จะโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น เป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกเพียงแต่ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง ฎีกาในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่บิดเบือนเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเป็นไปโดยมุ่งประสงค์จะโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งให้ผู้ร้องพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารแผนของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/67 ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีจากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทรัพย์สิน
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินจำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเป็นผู้ชำระค่าภาษีต่างๆ แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอรับเงินคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์หรือภายใน 20 วัน นับแต่ชำระราคาครบถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดดังกล่าวถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับเงินดังกล่าวคืนนั้น เป็นเพียงเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เมื่อจำหน่ายทรัพย์สินแล้วทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 การทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์จะมาขอรับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนได้ แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ทราบ หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปิดคดีเงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 176 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์หรือหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาที่ผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู ทำให้ไม่มีประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์อีกต่อไป
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริหารของลูกหนี้อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และมีคำสั่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ การใช้ปืนป้องกันตัว และเหตุรอการลงโทษ
ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเข้าไปรุมทำร้ายจำเลยกับพวก จำเลยใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้า 1 นัด เพื่อขู่ไม่ให้ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเข้ามาทำร้าย ลักษณะจึงเป็นการเตือนก่อน จากนั้นได้ยิงลงพื้นดินระหว่างจำเลยกับกลุ่มผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเพื่อให้ถอยไป เมื่อไม่ได้ผลจึงยิงจนกระสุนปืนหมดลูกโม่ แต่ละนัดที่ยิงจำเลยพยายามยิงลงพื้นและในระดับต่ำเพื่อไม่ให้ถูกอวัยวะส่วนสำคัญของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 กับพวก ลักษณะบาดแผลที่ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับจะอยู่ในระดับต่ำกว่าสะเอวลงมาคงมีเพียงผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดแผลที่แผ่นหลังเมื่อนอนหมอบลงแล้ว แสดงว่าจำเลยมิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 โดยมิได้บรรยายว่าผู้เสียหายทั้งสี่ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าจะพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) มิได้ คงลงโทษได้เพียงตามมาตรา 295
จำเลยกับพวกได้กลับมาที่เกิดเหตุก็เพื่อเอารถจักรยานยนต์ของพวกจำเลยที่จอดทิ้งไว้ มิได้กลับมาหาเรื่องและชวนทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหายที่ 1 กับพวก การที่ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเข้าไปรุมทำร้ายจำเลยกับพวก จำเลยกับพวกไม่มีหน้าที่ที่จะต้องหลบหนีแต่มีอำนาจที่จะป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการรุมทำร้ายของผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้ ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้ลงมือทำร้ายชกต่อยจำเลยตกจากรถจักรยานยนต์ ภยันตรายที่จำเลยได้รับจึงถึงตัวจำเลยไม่สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงยิงไปทางผู้เสียหายที่ 1 กับพวกจนหมดลูกโม่จำนวน 6 นัด การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการป้องกันสิทธิของตนและผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69
การที่จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีสาเหตุสมควร ทั้งไม่เป็นกรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยกับพวกได้กลับมาที่เกิดเหตุก็เพื่อเอารถจักรยานยนต์ของพวกจำเลยที่จอดทิ้งไว้ มิได้กลับมาหาเรื่องและชวนทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหายที่ 1 กับพวก การที่ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเข้าไปรุมทำร้ายจำเลยกับพวก จำเลยกับพวกไม่มีหน้าที่ที่จะต้องหลบหนีแต่มีอำนาจที่จะป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการรุมทำร้ายของผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้ ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้ลงมือทำร้ายชกต่อยจำเลยตกจากรถจักรยานยนต์ ภยันตรายที่จำเลยได้รับจึงถึงตัวจำเลยไม่สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงยิงไปทางผู้เสียหายที่ 1 กับพวกจนหมดลูกโม่จำนวน 6 นัด การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการป้องกันสิทธิของตนและผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69
การที่จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีสาเหตุสมควร ทั้งไม่เป็นกรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถบรรทุกที่ใช้ในการลักทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการลักทรัพย์ จำเลยที่ 1 กับพวกใช้รถบรรทุกพ่วงของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด พาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุมอันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้ให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดไม่ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 กับพวกลักมีปริมาณจำนวนมากต้องใช้รถบรรทุกของกลางเป็นเครื่องมือในการขนย้ายก็ตาม ก็ฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ใช้รถบรรทุกพ่วงของกลางเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ของผู้เสียหายหรือพาเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่จำเลยลักได้นั้นไป หรือเพื่อให้จำเลยพ้นจากการจับกุมเท่านั้น รถบรรทุกพ่วงของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรงที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานในข้อเท็จจริง และโทษจำคุกยังไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสเป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์เห็นว่ามีพยานหลักฐานโจทก์แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 6 เดือน แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย จำคุก 3 เดือน และปรับ 8,000 บาท แต่ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีสิทธิบริหารจัดการเงินฝากลูกค้าได้ แต่ต้องคืนเงินตามจำนวนที่รับฝาก การเบิกถอนเงินไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์
การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ ปรากฏว่าเงินจำนวนที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนไปนั้นเป็นเงินที่อยู่ในบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสองเงินจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าวนั้นประการใดก็ได้ จำเลยทั้งสองคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินฝากตามจำนวนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองไม่จำต้องส่งคืนเป็นเงินจำนวนอันเดียวกับที่ฝากไว้ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินหรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมอันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินหรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมอันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์และการมีอำนาจฟ้องคดีธนาคารพาณิชย์
การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต เงินฝากในบัญชีของโจทก์ที่ 1 ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสองตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากประการใดก็ได้ คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินตามที่โจทก์ทั้งสองฝากไว้เท่านั้น โดยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนเดียวกับที่ฝากไว้ การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม... เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม... เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง