คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 570

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงในสัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, และสิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินเป็นหนังสือ เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาย่อมเห็นได้จากเอกสารหรือหนังสือนั้น ถ้าข้อความในสัญญาชัดแล้วย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการตีความการแสดงเจตนา และจะนำสืบพยานบุคคลว่าคู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าข้อความในสัญญาหาได้ไม่
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปี ย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า "การต่ออายุสัญญาเช่า ผู้เช่าย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี" เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลย มิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: เจตนาคู่สัญญา, การต่ออายุ, และสิทธิในสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินเป็นหนังสือ เจตนาอันแท้จริง ของคู่สัญญาย่อมเห็นได้จากเอกสารหรือหนังสือนั้น ถ้าข้อความในสัญญาชัดแล้วย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการ ตีความการแสดงเจตนา และจะนำสืบพยานบุคคลว่าคู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าข้อความในสัญญาหาได้ไม่
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปีย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะ ต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า 'การต่ออายุสัญญาเช่าผู้เช่า ย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี' เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการ ต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยมิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่ จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้ จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่าและการมีอำนาจฟ้องขับไล่: สัญญาเช่าตกทอดไปยังผู้รับโอนสิทธิ
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์โดยรับโอนมาจากมารดาซึ่งจำเลยเช่าห้องพิพาทอยู่ก่อน การเช่าตกทอดมายังโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อครบสัญญาเช่าแล้วโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความละเมิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็เป็นการนอกประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่หลังสัญญาเช่าสิ้นสุด โดยผู้รับโอนสิทธิเช่ามีอำนาจฟ้องได้ และประเด็นอายุความละเมิดที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นศาล
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์โดยรับโอนมาจากมารดาซึ่งจำเลยเช่าห้องพิพาทอยู่ก่อน การเช่าตกทอดมายังโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อครบสัญญาเช่าแล้วโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความละเมิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็เป็นการนอกประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเดิมมีผลผูกพันสัญญาใหม่ที่ไม่มีกำหนดเวลา การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาต้องห้ามตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าระบุไว้ว่า ผู้เช่าเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านเรือนอาศัยมีกำหนดหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ายอมให้ถือว่าสัญญาเช่าระงับสิ้นสุดลง ครั้นสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้วผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีกหนึ่งปีโดยให้ถือสัญญาเดิม จากนั้นก็ไม่ได้ทำสัญญาเช่าต่อกันอีก การที่ผู้เช่ายังคงครองที่ดินต่อมาโดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งข้อตกลงอื่นของสัญญาใหม่ย่อมต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าอยู่ในที่ดินที่ เช่าไปจนตลอดชีวิตอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นการขอสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่อท้ายสัญญาเดิม และข้อจำกัดการสืบพยานเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเดิม
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าระบุไว้ว่า ผู้เช่าเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านเรือนอาศัยมีกำหนดหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ายอมให้ถือว่าสัญญาเช่าระงับสิ้นสุดลง ครั้นสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้วผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีกหนึ่งปีโดยให้ถือสัญญาเดิม จากนั้นก็ไม่ได้ทำสัญญาเช่าต่อกันอีก การที่ผู้เช่ายังคงครองที่ดินต่อมาโดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งข้อตกลงอื่นของสัญญาใหม่ย่อมต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าอยู่ในที่ดินที่ เช่าไปจนตลอดชีวิตอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นการขอสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ การรับเงินหลังฟ้อง ไม่สร้างสัญญาเช่าใหม่ ฟ้องขับไล่ได้
การที่โจทก์รับเงินจากจำเลยไว้เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว เงินดังกล่าวไม่ว่าจะเรียกเงินค่าเช่าหรือค่าเสียหาย ก็จะถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ไม่ได้ ในเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่จะปรับกับบทกฎหมายดังกล่าวได้ และเมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาเช่ากันไว้แน่นอน สัญญาเช่าสิ้นกำหนดแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว การรับเงินค่าเช่าภายหลังถือเป็นการทำสัญญาเช่าใหม่ไม่มีกำหนดเวลา โจทก์ฟ้องขับไล่ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
การที่โจทก์รับเงินจากจำเลยไว้เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว เงินดังกล่าวไม่ว่าจะเรียกเงินค่าเช่าหรือค่าเสียหายก็จะถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไป ไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ไม่ได้ ในเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่จะปรับกับบทกฎหมายดังกล่าวได้ และเมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาเช่ากันไว้แน่นอน สัญญาเช่าสิ้นกำหนดแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินหลังสัญญาหมดอายุและมีสัญญาใหม่ไม่มีกำหนดเวลา การบอกกล่าวล่วงหน้า และการสืบพยานนอกบัญชี
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์มีกำหนด 1 ปี โดยทำสัญญากันไว้เป็นหลักฐาน เมื่อสิ้นกำหนดตามสัญญา จำเลยยังคงครอบครองที่ดินที่เช่าอยู่ และโจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยในภายหลังต่อมาจึงถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าอาจบอกเลิกสัญญาเช่าตามมาตรา 566 ก็ได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน และโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2516 ให้จำเลยออกจากที่เช่าภายในวันที่ 31 มกราคม 2516 จำเลยรับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2516 และโจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 8 มีนาคม 2516 จึงถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้วตามมาตรา 566 การบอกกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 845/2490)
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) จะห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนมาตรา 88 และมาตรา 90 ก็ตาม แต่ในมาตรา 87 (2) นั้นเอง ก็ได้บัญญัติต่อไปว่า " ฯลฯ แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้" ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบตัวโจทก์ซึ่งเป็นพยานสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 623/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าหลังหมดอายุสัญญาและมีสัญญาใหม่โดยปริยาย การบอกกล่าวล่วงหน้าและการอนุญาตสืบพยาน
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์มีกำหนด 1 ปี โดยทำสัญญากันไว้เป็นหลักฐาน เมื่อสิ้นกำหนดตามสัญญา จำเลยยังคงครอบครองที่ดินที่เช่าอยู่ และโจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง. การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยในภายหลังต่อมาจึงถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าอาจบอกเลิกสัญญาเช่าตามมาตรา 566 ก็ได้ ดังนี้เมื่อปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือนและโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2516ให้จำเลยออกจากที่เช่าภายในวันที่ 31 มกราคม 2516จำเลยรับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2516 และโจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 8 มีนาคม 2516 จึงถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้วตามมาตรา 566 การบอกกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
of 19