คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 570

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและการรับซื้อโรงเรือนของผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าใหม่ไม่มีกำหนดเวลา
ข้อตกลงเรื่องผู้ให้เช่าต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลย(ผู้เช่า)ตามสัญญาข้อ 3 ตอนท้าย แม้จะเป็นเงื่อนไขในสัญญาแต่ก็เป็นเงื่อนไขหรือข้อตกลงต่างหากจากการเช่าจึงไม่ผูกพันโจทก์ผู้รับโอนให้จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 คือ ต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลยก่อน จึงจะมีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและการรับซื้อโรงเรือน: ข้อตกลงแยกต่างหากไม่ผูกพันผู้รับโอน
ข้อตกลงเรื่องผู้ให้เช่าต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลย(ผู้เช่า) ตามสัญญาข้อ 3 ตอนท้าย แม้จะเป็นเงื่อนไขในสัญญา แต่ก็เป็นเงื่อนไขหรือข้อตกลงต่างหากจากการเช่าจึงไม่ผูกพันโจทก์ผู้รับโอนให้จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 คือ ต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลยก่อน จึงจะมีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินกินเปล่าจากสัญญาเช่า และผลของการต่อสัญญาเช่าโดยปริยาย
การที่ผู้ให้เช่ารับเงินกินเปล่าไว้จากผู้เช่านั้น หาใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ไม่ หากแต่เป็นการรับไว้เนื่องจากผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าทำสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าไม่ให้ผู้เช่าอยู่ครบกำหนดตามที่ตกลงกัน ผู้เช่าเรียกเงินกินเปล่าคืนเพราะผู้ให้เช่าผิดสัญญาจะต้องใช้อายุความทั่วไป ซึ่งมีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วงย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินกินเปล่าจากสัญญาเช่า, สิทธิเรียกร้องเมื่อเช่าต่อเนื่อง, ความรับผิดของคู่สัญญา
การที่ผู้ให้เช่ารับเงินกินเปล่าไว้จากผู้เช่านั้น หาใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ไม่ หากแต่เป็นการรับไว้เนื่องจากผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าทำสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าไม่ให้ผู้เช่าอยู่ครบกำหนดตามที่ตกลงกัน ผู้เช่าเรียกเงินกินเปล่าคืน เพราะผู้ให้เช่าผิดสัญญาจะต้องใช้อายุความทั่วไป ซึ่งมีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าและอำนาจบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เปลี่ยนแปลง
มูลนิธิโจทก์ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากผู้ให้เช่าเดิม ย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการเช่า เมื่อมูลนิธิโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้ จำเลยจะโต้เถียงสิทธิของมูลนิธิโจทก์ว่าเป็นเรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์ของมูลนิธิหาได้ไม่
การที่ประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่าเพียงผู้เดียว โดยไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนลงนามด้วย ให้ครบถ้วนถูกต้องนั้นแม้จะถือไม่ได้ว่าทำในฐานะผู้แทนมูลนิธิโจทก์ แต่ก็เห็นได้ว่าทำในฐานะตัวแทนของมูลนิธิโจทก์ ทั้งมูลนิธิโจทก์ก็ได้รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้น และฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การบอกกล่าวเลิกการเช่าของทนายโจทก์มิได้มีการมอบอำนาจโดยชอบ เพราะไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนร่วมมอบอำนาจกับประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าและการฟ้องขับไล่: สิทธิของเจ้าของที่ดินเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
มูลนิธิโจทก์ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากผู้ให้เช่าเดิมย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการเช่า เมื่อมูลนิธิโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้ จำเลยจะโต้เถียงสิทธิของมูลนิธิโจทก์ว่าเป็นเรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์ของมูลนิธิหาได้ไม่
การที่ประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่าเพียงผู้เดียว โดยไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนลงนามด้วย ให้ครบถ้วนถูกต้องนั้นแม้จะถือไม่ได้ว่าทำในฐานะผู้แทนมูลนิธิโจทก์ แต่ก็เห็นได้ว่าทำในฐานะตัวแทนของมูลนิธิโจทก์ ทั้งมูลนิธิโจทก์ก็ได้รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้นและฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การบอกกล่าวเลิกการเช่าของทนายโจทก์มิได้มีการมอบอำนาจโดยชอบ เพราะไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนร่วมมอบอำนาจกับประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811-2818/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีและอำนาจฟ้องขับไล่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้ง 11 สำนวนเข้าด้วยกันจำเลยแต่ละคนในทุกสำนวนต่างก็อ้างตนเองเป็นพยาน โดยรวมอยู่ในบัญชีระบุพยานฉบับเดียวกัน แสดงว่าจำเลยในคดีหนึ่งมิได้เป็นพยานเฉพาะคดีของตนเองเท่านั้น แต่ต่างเป็นพยานซึ่งกันและกันในทุกคดี จึงต้องห้ามไม่ให้เบิกความต่อหน้าจำเลยอื่นที่จะเบิกความเป็นพยานในภายหลัง
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับกองมรดกของ ส. ครบกำหนดเวลาเช่าในสิ้นเดือนมีนาคม 2511 ต่อมาโจทก์ทำสัญญาเช่าต่อ เริ่มนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2511 เป็นต้นไป จึงมีช่วงว่างอยู่ 3 เดือน แต่โจทก์ยังครอบครองทรัพย์ที่เช่าอยู่ในระหว่าง 3 เดือนนั้น ถือได้ว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยอาศัยสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าช่วงที่พวกจำเลยทำไว้กับโจทก์สิ้นสุดลง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าโรงแรมเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน สัญญาเป็นโมฆะ การเช่าสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด
เช่าโรงแรมมีกำหนดเวลารวม 8 ปี. โดยทำสัญญาเช่ากันไว้ล่วงหน้าเป็น 3 ระยะ ระยะละ 3 ปี 3 ปี และ 2 ปี ตามลำดับโดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการหลีกเลี่ยงมาตรา 538 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 768/2490)
เมื่อการเช่าบังคับกันได้เพียง 3 ปีตามสัญญาฉบับแรกและครบกำหนดเวลานั้นแล้วการที่ผู้เช่าอยู่ต่อมาในโรงแรมที่เช่าอาจถือได้ว่าเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 ซึ่งบัญญัติว่า หากผู้เช่ายังครองทรัพย์สินนั้นอยู่และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง แต่พฤติการณ์ที่ผู้เช่าส่งค่าเช่าเดือนแรกนับแต่การเช่าสิ้นสุดลงไปให้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ยอมรับและส่งค่าเช่าคืนนับว่าเป็นการทักท้วงแล้ว แม้ผู้เช่าจะยังครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการอยู่ต่อมาของผู้เช่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 อันจะต้องมีการบอกเลิกการเช่าให้ถูกต้องตามมาตรา 566 การเช่าระงับลงแล้ว เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าฉบับแรกตามมาตรา 564 (หมายเหตุ ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 173/2506 เปรียบเทียบ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน เป็นโมฆะ ใช้ได้เพียง 3 ปี การอยู่ต่อถือเป็นการเช่าสิ้นสุดแล้ว
เช่าโรงแรมมีกำหนดเวลารวม 8 ปี. โดยทำสัญญาเช่ากันไว้ล่วงหน้าเป็น 3 ระยะ ระยะละ 3 ปี 3 ปี และ 2 ปี ตามลำดับโดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการหลีกเลี่ยงมาตรา 538แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 768/2490)
เมื่อการเช่าบังคับกันได้เพียง 3 ปีตามสัญญาฉบับแรกและครบกำหนดเวลานั้นแล้วการที่ผู้เช่าอยู่ต่อมาในโรงแรมที่เช่าอาจถือได้ว่าเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570ซึ่งบัญญัติว่า หากผู้เช่ายังครองทรัพย์สินนั้นอยู่และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง แต่พฤติการณ์ที่ผู้เช่าส่งค่าเช่าเดือนแรกนับแต่การเช่าสิ้นสุดลงไปให้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ยอมรับและส่งค่าเช่าคืนนับว่าเป็นการทักท้วงแล้ว แม้ผู้เช่าจะยังครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการอยู่ต่อมาของผู้เช่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 อันจะต้องมีการบอกเลิกการเช่าให้ถูกต้องตามมาตรา 566 การเช่าระงับลงแล้ว เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าฉบับแรกตามมาตรา 564 (หมายเหตุ ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 173/2506 เปรียบเทียบ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636-638/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีขับไล่ผู้เช่า และประเด็นอำนาจฟ้อง/การบอกเลิกสัญญาเช่า
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ว่าจำเลยอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเห็นควรรับอุทธรณ์ทั้งหมด จึงรับเป็นอุทธรณ์นั้น ยังถือไม่ได้ว่ามีการรับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ข้อเท็จจริงมาโดยไม่ถูกต้อง แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น ก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ หากมีการฎีกาข้อเท็จจริงต่อมา ถือว่าไม่ใช่ข้อที่ว่ามาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและห้องอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมได้โดยลำพังเพราะเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ซึ่งหมายความรวมถึงการต่อสู้ในฐานะเป็นโจทก์ด้วยมิใช่เฉพาะการต่อสู้ในฐานะจำเลยเท่านั้น
เมื่อมีการบอกเลิกการเช่าแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมมาฟ้องเรียกทรัพย์ที่เช่าคืนจากผู้เช่า ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของการเป็นเจ้าของรวม
ปัญหาที่ว่า จำเลยเช่าที่ดินและห้องของโจทก์เพื่ออยู่อาศัยหรือประกอบการค้าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและห้องเช่า จำเลยต่อสู้ว่าเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งให้คลุมถึงการเช่าห้องด้วย ศาลย่อมไม่อาจจะยกเอาความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยเกี่ยวกับการเช่าห้องได้
การเช่าห้องภายหลังจากวันประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ห้องเช่านั้นไม่เป็นเคหะควบคุมอันจะได้รับความคุ้มครอง
โจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยปรากฏชัดแจ้งจากหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้วว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาให้จำเลยเช่าห้องและที่ดินของโจทก์ต่อไป การที่โจทก์ยังรับเงินเท่าค่าเช่าจากจำเลย โดยโจทก์ถือเป็นค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้ทรัพย์ของโจทก์ ย่อมมิใช่เป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์กระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายซึ่งโจทก์ได้รับอยู่เท่านั้น
of 19