พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคัดค้านในคดีล้มละลาย: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากประเด็นยังคงเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้แก้ไขคำคัดค้าน ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้คัดค้านยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 ศาลแพ่งสั่งรับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2547 ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2548 ศาลแพ่งตรวจพบว่าผู้คัดค้านมิได้ใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ซึ่งไม่ถูกต้อง ให้เพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ให้คืนคำร้องให้ผู้คัดค้านทำอุทธรณ์มาใหม่ภายใน 7 วัน ผู้คัดค้านนำอุทธรณ์มายื่นในวันที่ 27 มกราคม 2548 ถือได้ว่าผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์ก่อนวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ใช้บังคับ แต่ศาลแพ่งยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ จึงต้องบังคับตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ให้ถือว่าอุทธรณ์ของผู้คัดค้านเป็นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบถึงมูลเหตุเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยขอตัดข้อความเดิมในเรื่องอายุความทั้งหมดและแก้ไขใหม่เป็นว่า การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และ 240 โจทก์รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 จึงขาดอายุความ ประเด็นที่ผู้คัดค้านต่อสู้ตามคำคัดค้านที่ขอแก้ไขใหม่เป็นประเด็นเดียวกับที่ผู้คัดค้านต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง โดยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่อ้างว่าโจทก์ทราบถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 เท่านั้น และได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้แก้ไขคำคัดค้าน
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบถึงมูลเหตุเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยขอตัดข้อความเดิมในเรื่องอายุความทั้งหมดและแก้ไขใหม่เป็นว่า การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และ 240 โจทก์รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 จึงขาดอายุความ ประเด็นที่ผู้คัดค้านต่อสู้ตามคำคัดค้านที่ขอแก้ไขใหม่เป็นประเด็นเดียวกับที่ผู้คัดค้านต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง โดยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่อ้างว่าโจทก์ทราบถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 เท่านั้น และได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้แก้ไขคำคัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ก่อนศาลตัดสิน การไม่นำเสนอคำร้องต่อศาลถือว่าจำเลยมิได้ขาดนัด
ระหว่างศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานโจทก์ฝ่ายเดียวทนายจำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยยื่นต่อพนักงานรับฟ้อง กรณีจึงเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง การที่พนักงานรับฟ้องไม่ได้นำคำร้องเสนอต่อศาล ก่อนที่ศาลจะชี้ขาดตัดสินคดี จะถือว่าทนายจำเลยไม่มาศาลหาได้ไม่ คำร้องของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการขอพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 อันจะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยขาดนัด และต้องแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไม่พิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ก่อนศาลตัดสิน และหน้าที่ของพนักงานรับฟ้องในการนำเสนอคำร้องต่อศาล
ระหว่างศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานโจทก์ฝ่ายเดียวทนายจำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยยื่นต่อพนักงานรับฟ้องกรณีจึงเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง การที่พนักงานรับฟ้องไม่ได้นำคำร้องเสนอต่อศาล ก่อนที่ศาลจะชี้ขาดตัดสินคดี จะถือว่าทนายจำเลยไม่มาศาลหาได้ไม่คำร้องของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการขอพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 อันจะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยขาดนัด และต้องแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา208 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไม่พิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598-1599/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, การดำเนินคดีอนาถา, และการขยายผลความรับผิดชอบของนายจ้างต่อลูกจ้าง
โจทก์ที่ 2 ยื่นฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดภายใน 1 ปีนับแต่วันเกิดเหตุแต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งรับฟ้องในวันนั้น เพราะโจทก์ที่ 2 ร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฟ้องในภายหลังซึ่งเป็นเวลาเกิน 1 ปีนับแต่วันเกิดเหตุแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าคดีโจทก์ที่ 2 ได้ฟ้องในวันยื่นฟ้อง ส่วนการไต่สวนเพื่อประกอบการสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้หรือไม่ เป็นกระบวนพิจารณาของศาล แม้จะเนิ่นนานไปก็หาใช่ความผิดของโจทก์ที่ 2 ไม่คดีโจทก์ที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลทหารพิพากษาคดีส่วนอาญาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ฐานขับรถประมาทำให้โจทก์ทั้งสองบาดเจ็บสาหัสไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่ง ให้ร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยตามข้อต่อสู้และฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า การที่รถชนกันเกิดจากโจทก์ที่ 1 ขับรถแล่นเข้าไปชนรถซึ่งจำเลยที่ 1 ขับ หาใช่ความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตอลดถึงจำเลยที่ 1 ด้วยได้
ศาลทหารพิพากษาคดีส่วนอาญาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ฐานขับรถประมาทำให้โจทก์ทั้งสองบาดเจ็บสาหัสไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่ง ให้ร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยตามข้อต่อสู้และฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า การที่รถชนกันเกิดจากโจทก์ที่ 1 ขับรถแล่นเข้าไปชนรถซึ่งจำเลยที่ 1 ขับ หาใช่ความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตอลดถึงจำเลยที่ 1 ด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขัดทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสีย ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าของทรัพย์ หากทรัพย์สินถูกยึดโดยไม่ชอบ
ประเด็นในเรื่องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นมีว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดนั้นหรือ ไม่ และตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 55 นั้น ผู้ที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลในกรณีขอให้ปล่อยทรัพย์นั้น ก็หาจำต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิในทรัพย์นั้นไม่ ผู้มีส่วนได้เสียในกรณีย่อมมาใช้สิทธิทางศาลได้ด้วยการร้องขัดทรัพย์
มีผู้ลอบตัดฟันไม้สักอันเป็นไม้หวงห้ามแล้วแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตภายหลังถูกเจ้าหนี้ยึดไม้เหล่านี้ไว้เพื่อ บังคับคดีกรมป่าไม้ซึ่งรัฐหรือแผ่นดินมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลรักษาไม้หวงห้ามย่อมมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อย ไม้นั้นได้
ไม้ที่หวงห้ามเป็นส่วนควบของป่าไม้แม้จะถูกลอบลักตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสังหาริมทรัพย์แล้วก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอยู่+
มีผู้ลอบตัดฟันไม้สักอันเป็นไม้หวงห้ามแล้วแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตภายหลังถูกเจ้าหนี้ยึดไม้เหล่านี้ไว้เพื่อ บังคับคดีกรมป่าไม้ซึ่งรัฐหรือแผ่นดินมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลรักษาไม้หวงห้ามย่อมมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อย ไม้นั้นได้
ไม้ที่หวงห้ามเป็นส่วนควบของป่าไม้แม้จะถูกลอบลักตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสังหาริมทรัพย์แล้วก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอยู่+
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล: กรรมการ/ผู้จัดการไม่ต้องรับผิดหากการกระทำผิดเกิดจากความรับผิดของบริษัท
บริษัทจำกัดมีลวดเก็บไว้ในโกดังของบริษัท โดยมีแขกยามเฝ้ารักษา ย่อมถือว่าลวดอยู่ในความครอบครองของบริษัท ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อไม่มีการแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ ในกรณีเช่นนี้ต้องถือว่า บริษัทเป็นผู้กระทำผิดกรรมการหรือผู้จัดการไม่มีความผิดเป็นส่วนตัว
ข้อเท็จจริงได้ความไม่ตรงกับที่บรรยายฟ้องหรือไม่นำสืบให้สมฟ้อง ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องของกลางและเรื่องจ่ายเงินรางวัล ให้คืนของกลางไป
ข้อเท็จจริงได้ความไม่ตรงกับที่บรรยายฟ้องหรือไม่นำสืบให้สมฟ้อง ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องของกลางและเรื่องจ่ายเงินรางวัล ให้คืนของกลางไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัวระหว่างการอุทธรณ์
ในคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวซึ่งอัยยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีนั้น เจ้าทุกข์ย่อมมีสิทธิยอมความได้เสมอเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดการยอมความนั้นทำกันในระหว่างอุทธรณืก็ชอบที่จะยื่นต่อศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาและการจำหน่ายคดีจากสารบบเมื่อผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีพิจารณา
คำคู่ความที่ส่งศาลโดยทางไปรษณีย์นั้นศาลไม่รับพิจารณา เมื่อผู้ร้องคัดค้านการเลือกตั้งขาดนัดพิจารณา และเมื่อผู้ถูกคัดค้านไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การถอนอุทธรณ์, พยานหลักฐาน, การคัดค้านผู้พิพากษา และการพิจารณาคดีแพ่ง-อาญาแยกกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งในทางแพ่งและอาญารวมกันมา ศาลฎีกาแยกพิจารณาแลพิพากษาคดีแพ่งแลคดีอาญาคนละส่วนได้
ขอถอนอุทธรณ์ ยืนคำร้องขอถอนอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ ศาลไม่รับไว้วินิจฉัย
ฏีกาอุทธรณ์การคัดค้านผู้พิพากษาว่าไม่มีอำนาจตัดสินต้องคัดค้านมาในชั้นศาลล่างมิฉะนั้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฎีกาที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุนเสียเลย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ไม่ใช่หนังสือสำคัญแห่งกรรมสิทธิ์ เป็นเพียงพยานหลักฐานว่ามีชื่อในใบเหยียบย่ำมาจองที่รายนั้นเมื่อใดเท่านั้น
ขอถอนอุทธรณ์ ยืนคำร้องขอถอนอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ ศาลไม่รับไว้วินิจฉัย
ฏีกาอุทธรณ์การคัดค้านผู้พิพากษาว่าไม่มีอำนาจตัดสินต้องคัดค้านมาในชั้นศาลล่างมิฉะนั้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฎีกาที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุนเสียเลย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ไม่ใช่หนังสือสำคัญแห่งกรรมสิทธิ์ เป็นเพียงพยานหลักฐานว่ามีชื่อในใบเหยียบย่ำมาจองที่รายนั้นเมื่อใดเท่านั้น