คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 181

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากทำให้การพิจารณาคดีไม่สิ้นสุด
จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นครั้งที่สองหลังจากสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งหากอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้ตามขอการพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยก็ไม่มีที่สิ้นสุด แม้จำเลยจะอ้างว่า คำให้การที่ขอแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็หามีผลลบล้างพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบไปเสร็จสิ้นแล้วไม่ กรณีไม่มีเหตุอนุญาตให้แก้ไขคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างเป็นสาระสำคัญ แม้มีการอ้างตกลงเลิกสัญญา
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรก โดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามเดิม แม้จำเลยอ้างมีการตกลงเลิกสัญญา แต่เป็นเหตุสนับสนุนข้ออ้างเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรกโดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403-2430/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชย-การแก้ไขคำฟ้อง: กำหนดระยะเวลาของงาน, การปฏิเสธข้อกล่าวหา, กระบวนการยุติธรรม
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง แต่ในวรรคสามบัญญัติว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น" และวรรคสี่บัญญัติว่า "การจ้างที่มีกำหนดเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง" จะเห็นได้ว่า ในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอน ส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างให้มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท โดยในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่างานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี คำว่า งานนั้น ย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่
การขอแก้ไขคำฟ้องนั้นไม่อาจกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวศาลแรงงานกลางต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสี่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสคัดค้านเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งอนุญาต และเมื่ออนุญาตให้โจทก์ที่ 1 แก้ไขคำฟ้องได้แล้วก็จะต้องให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้ออ้างที่โจทก์ที่ 1 กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อน จึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่โจทก์ที่ 1 ได้แก้ไขคำฟ้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21, 181 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางนำข้ออ้างตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 มาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 117,150 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ให้การปฏิเสธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ยอมรับ แล้วคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างสุดท้ายตามอัตราดังดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนนาแปลงที่ขายฝ่าฝืน พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ราคาซื้อตามราคาตลาดหรือราคาซื้อเดิม
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 คชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การที่ช. ให้จำเลยที่ 2มีกรรมสิทธิ์รวมในนาพิพาทโดยมีค่าตอบแทนเป็นการชำระหนี้เงินยืมอย่างอื่นแทนเงิน ไม่เป็นการซื้อขายนาพิพาทโจทก์ได้ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดตั้งแต่วันที่21 พฤษภาคม 2535 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57 วรรคหนึ่งบัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2535 แต่วันที่ 20 มิถุนายน 2535 เป็นวันเสาร์ ศาลหยุดทำการดังนั้นโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2535ซึ่งเป็นวันจันทร์ศาลเปิดทำการวันแรกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 30 วัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ฟ้องจะระบุข้อความซึ่งหมายความว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง เมื่ออ่านรวมกันแล้วย่อมเข้าใจได้ดีแล้วว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2อีกฐานะหนึ่งด้วย หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อความในช่องคู่ความ เฉพาะโจทก์ที่ 2เป็นว่า "พ.โดยผ. ผู้รับมอบอำนาจที่ 2"และศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องแก้ฟ้องในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเคลือบคลุมโดยตัดข้อความว่า "แสดงเจตนาลวงโดยสมยอม ซึ่งความจริงเป็นเรื่องซื้อขายกัน" ออก แล้วเพิ่มข้อความ"ทำนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพราะเจตนาจริง ๆเป็นเรื่องซื้อขาย หาใช่เป็นเรื่องให้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่"แทน และตัดข้อความ "ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎหมาย" ออก แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับสำเนาคำร้องก่อนตามมาตรา 181 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อีกทั้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็วินิจฉัยจากข้อความที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไข จำเลยที่ 1 และที่ 2ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ การแก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว คำฟ้องและข้อที่แก้ไขคำฟ้องเมื่อเข้าใจได้ว่า ฟ้องข้อ 4โจทก์ทั้งสองอ้างว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายส่วนฟ้องข้อ 5เป็นเรื่องที่ช. กับจำเลยที่ 2 แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าไม่มีการเช่านา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองเช่าอยู่ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย คำฟ้องจึงมิได้มีข้อความขัดกันฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพ แห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาแล้ว มิได้เป็นฟ้องเคลือบคลุม คชก. ประจำจังหวัดนนทบุรี จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ใช่นิติบุคคลแต่โจทก์ทั้งสองก็ได้แก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3ประกอบด้วย ท.ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีเป็นประธานกรรมการ ส.อัยการจังหวัดนนทบุรีพ.เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ป. แทนเกษตรจังหวัดนนทบุรีส.ประมงจังหวัดนนทบุรีพ.ปศุสัตว์ จังหวัดนนทบุรีผู้แทนผู้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สว.สจ. บก.และสม. กับผู้แทนผู้ให้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือสส.พจ.สน.และผอ.โดยมีสต.จ่าจังหวัดนนทบุรีเป็นกรรมการและเลขานุการ แม้จะมิได้ระบุรายชื่อคณะกรรมการแต่ละคนในช่องคู่ความตามฟ้องโจทก์ทั้งสองก็พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่ไม่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โจทก์ทั้งสองจึงต้องฟ้องคชก.จังหวัดนนทบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดนนทบุรีได้มี โอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 พยานโจทก์เบิกความว่า เอกสารหมาย จ.6เป็นการซื้อขายนาพิพาทโดยเป็นวิธีการจดทะเบียนขายที่ดิน บางส่วน ที่ตอนท้ายของข้อ 3 ในเอกสารดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายได้ที่ดินมาอย่างไรและผู้ซื้อจะนำนาพิพาทไปทำอะไรนั้น ก็ได้ความมาจากการสอบถามผู้รับมอบอำนาจของ ช. และจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าก่อนที่จะให้บุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อในเอกสารได้สอบถามถึงการชำระเงินตามที่ระบุในเอกสารแล้วทั้งสองคนตอบว่าชำระกันเรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบถึงความหมายของเอกสารหมาย จ.6ไม่ใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบได้ สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วันตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นสิทธิในการฟ้องคดีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องใช้สิทธิดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งจะมีอายุความไม่ดังนั้น สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ฟ้องว่า ช. ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2โอนขายนาพิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงช. ซึ่งเป็นผู้ขายด้วย อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่างช. กับจำเลยที่ 2 ดังนั้นนิติกรรมระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 จึงยังมีผลสมบูรณ์โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับช. ตามฟ้องได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของช. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในข้อ 2 ว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการขายนาพิพาท แต่เป็นเสมือนการให้โดยเสน่หาตอบแทนความดีของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อ ช. ตลอดมาและให้การในข้อ 3 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลละหารที่ให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ในราคา 1,100,000 บาทว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากโจทก์ทั้งสองจะบังคับซื้อคืนจะต้องซื้อตามราคาตลาดในขณะนั้นคือไร่ละ 1,500,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การในข้อ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสองว่า ช. มิได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ส่วนคำให้การในข้อ 3 เป็นเรื่อง ราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อนั้น ก็เป็นการปฏิเสธราคานาพิพาทที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยบังคับให้จำเลยที่ 2ขายนาพิพาทคืนให้โจทก์ทั้งสองว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกต้องเพราะตามกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นคือ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่ คชก.ตำบลเชื่อว่า ช. ขายให้จำเลยที่ 2ดังนั้น ราคานาพิพาทกับเรื่องที่ ช. ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันเพราะเป็นการปฏิเสธตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงยกขึ้นต่อสู้ได้โดยไม่จำต้องรับว่า ช.ได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อน คำให้การของจำเลย ที่ 1 และที่ 2 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาขัดแย้งกันไม่ พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนองจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธี การชำระเงินที่ได้แจ้งไว้" และมาตรา 54 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวหมายความว่า เมื่อ ช. ผู้ให้เช่านาไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดก็ตาม โจทก์ทั้งสองผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาพิพาท จากจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนตามมาตรา 54 แต่จะต้องซื้อนาพิพาท คืนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือ ตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน หาใช่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้าน และไม่อาจยกมาตรา 54 ขึ้นอ้าง ดังนั้น ศาลชอบ ที่จะให้โจทก์ทั้งสองซื้อนาพิพาทคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การเกี่ยวกับราคาตลาดของ นาพิพาทว่ามีราคา 30,000,000 บาท เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54เพื่อปฏิเสธราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อคืนว่าโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อในราคาตลาดในขณะนั้น เพราะเป็นราคาที่สูงกว่าจำนวนเงิน 30,000,000 บาทนี้ มิได้ เป็นทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จำต้องฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อนาคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ และประเด็นอำนาจฟ้อง/การโต้แย้งราคา
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 คชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การที่ ช.ให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์รวมในนาพิพาทโดยมีค่าตอบแทนเป็นการชำระหนี้เงินยืมอย่างอื่นแทนเงิน ไม่เป็นการซื้อขายนาพิพาท โจทก์ได้ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2535 ซึ่งตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 57 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด โจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2535 แต่วันที่ 20 มิถุนายน 2535 เป็นวันเสาร์ ศาลหยุดทำการ ดังนั้นโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2535 ซึ่งเป็นวันจันทร์ศาลเปิดทำการวันแรกได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/8 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน30 วัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ฟ้องจะระบุข้อความซึ่งหมายความว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง เมื่ออ่านรวมกันแล้วย่อมเข้าใจได้ดีแล้วว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วย หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อความในช่องคู่ความ เฉพาะโจทก์ที่ 2 เป็นว่า "พ.โดย ผ.ผู้รับมอบอำนาจที่ 2" และศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง แก้ฟ้องในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเคลือบคลุม โดยตัดข้อความว่า "แสดงเจตนาลวงโดยสมยอม ซึ่งความจริงเป็นเรื่องซื้อขายกัน" ออก แล้วเพิ่มข้อความ "ทำนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพราะเจตนาจริง ๆ เป็นเรื่องซื้อขาย หาใช่เป็นเรื่องให้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่" แทน และตัดข้อความ "ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎหมาย" ออก แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับสำเนาคำร้องก่อนตามมาตรา 181 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อีกทั้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็วินิจฉัยจากข้อความที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไข จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ การแก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว
คำฟ้องและข้อที่แก้ไขคำฟ้องเมื่อเข้าใจได้ว่า ฟ้องข้อ 4 โจทก์ทั้งสองอ้างว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายส่วนฟ้องข้อ 5 เป็นเรื่องที่ ช.กับจำเลยที่ 2 แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าไม่มีการเช่านา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองเช่าอยู่ ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย คำฟ้องจึงมิได้มีข้อความขัดกัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว มิได้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คชก.ประจำจังหวัดนนทบุรี จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ใช่นิติบุคคลแต่โจทก์ทั้งสองก็ได้แก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ประกอบด้วย ท.ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีเป็นประธานกรรมการ ส.อัยการจังหวัดนนทบุรี พ.เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ป.แทนเกษตรจังหวัดนนทบุรี ส.ประมงจังหวัดนนทบุรี พ.ปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี ผู้แทนผู้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สว. สจ. บก.และ สม.กับผู้แทนผู้ให้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สส. พจ. สน. และ ผอ. โดยมีสต.จ่าจังหวัดนนทบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ แม้จะมิได้ระบุรายชื่อคณะกรรมการแต่ละคนในช่องคู่ความตามฟ้องโจทก์ทั้งสอง ก็พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่ไม่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โจทก์ทั้งสองจึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดนนทบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดนนทบุรีได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
พยานโจทก์เบิกความว่า เอกสารหมาย จ.6 เป็นการซื้อขายนาพิพาทโดยเป็นวิธีการจดทะเบียนขายที่ดินบางส่วน ที่ตอนท้ายของข้อ 3 ในเอกสารดังกล่าวระบุว่าผู้ขายได้ที่ดินมาอย่างไรและผู้ซื้อจะนำนาพิพาทไปทำอะไรนั้น ก็ได้ความมาจากการสอบถามผู้รับมอบอำนาจของ ช.และจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าก่อนที่จะให้บุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อในเอกสาร ได้สอบถามถึงการชำระเงินตามที่ระบุในเอกสารแล้ว ทั้งสองคนตอบว่าชำระกันเรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงความหมายของเอกสารหมาย จ.6 ไม่ใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบได้
สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วันตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524เป็นสิทธิในการฟ้องคดีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องใช้สิทธิดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งจะมีอายุความไม่ ดังนั้น สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องว่า ช.ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 โอนขายนาพิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อเท่านั้น ไม่ได้รวมถึง ช.ซึ่งเป็นผู้ขายด้วย อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ดังนั้น นิติกรรมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 จึงยังมีผลสมบูรณ์ โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับ ช.ตามฟ้องได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ช.
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในข้อ 2 ว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการขายนาพิพาท แต่เป็นเสมือนการให้โดยเสน่หาตอบแทนความดีของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อ ช.ตลอดมา และให้การในข้อ 3 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลละหารที่ให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ในราคา 1,100,000 บาท ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากโจทก์ทั้งสองจะบังคับซื้อคืนจะต้องซื้อตามราคาตลาดในขณะนั้นคือไร่ละ 1,500,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การในข้อ 2จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสองว่า ช.มิได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ส่วนคำให้การในข้อ 3 เป็นเรื่องราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อนั้น ก็เป็นการปฏิเสธราคานาพิพาทที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยบังคับให้จำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทคืนให้โจทก์ทั้งสองว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกต้อง เพราะตามกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นคือ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่ คชก.ตำบลเชื่อว่า ช.ขายให้จำเลยที่ 2 ดังนั้น ราคานาพิพาทกับเรื่องที่ ช.ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันเพราะเป็นการปฏิเสธตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงยกขึ้นต่อสู้ได้โดยไม่จำต้องรับว่า ช.ได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อน คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาขัดแย้งกันไม่
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา53 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้..." และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวหมายความว่า เมื่อ ช.ผู้ให้เช่านาไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดก็ตาม โจทก์ทั้งสองผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนตามมาตรา 54 แต่จะต้องซื้อนาพิพาทคืนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันหาใช่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านและไม่อาจยกมาตรา54 ขึ้นอ้าง ดังนั้น ศาลชอบที่จะให้โจทก์ทั้งสองซื้อนาพิพาทคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การเกี่ยวกับราคาตลาดของนาพิพาทว่ามีราคา 30,000,000 บาท เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 เพื่อปฏิเสธราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อคืนว่า โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อในราคาตลาดในขณะนั้น เพราะเป็นราคาที่สูงกว่าจำนวนเงิน 30,000,000 บาทนี้ มิได้เป็นทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จำต้องฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันหลายจำเลย, การแก้ไขคำฟ้อง, และการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน
โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนา จำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าเช่าที่พิพาททำนา คดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ก่อนฟ้อง โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ เดิมมารดาโจทก์ให้ ส.เช่าทำนา ต่อมา ส. เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไป แต่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพี่น้องของ ส. ยังคงปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิใด ๆ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อบ้านแต่ละหลังออกไปเป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสามเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิ ส.และจำเลยทั้งสามก็ให้การว่า ที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามครอบครองที่พิพาทตลอดมา จำเลยทั้งสามจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59 โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. เช่าที่พิพาทโฉนดเลขที่ 7 และ11 จากมารดาโจทก์ ต่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์และพี่น้องจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์มาแล้ว ต่อมา ส. ได้เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสามไม่ออก ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไป ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 7และ 11 ตั้งแต่ต้น เหตุที่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 11 ด้วย ก็เพราะพิมพ์ข้อความตกไป ฉะนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องโดยขอเพิ่มเติมที่ดินโฉนดเลขที่ 11 จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับทีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 วรรคสอง และอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว โดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสามมีโอกาสคัดค้านตามมาตรา 21(2) และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทั้งสามทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องตามมาตรา 181(1) คดีมีประเด็นโต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์ จำเลยมีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องได้ เอกสารมหาชนมีน้ำหนักในการพิจารณา
โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนาจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าเช่าที่พิพาททำนาคดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ก่อนฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์เดิมมารดาโจทก์ให้ส.เช่าทำนาต่อมาส. เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแต่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพี่น้องของส. ยังคงปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิใดๆขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อบ้านแต่ละหลังออกไปเป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสามเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิส.และจำเลยทั้งสามก็ให้การว่าที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามครอบครองที่พิพาทตลอดมาจำเลยทั้งสามจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีโจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59 โจทก์บรรยายฟ้องว่าส. เช่าที่พิพาทโฉนดเลขที่7และ11จากมารดาโจทก์ต่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์และพี่น้องจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์มาแล้วต่อมาส. ได้เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแล้วแต่จำเลยทั้งสามไม่ออกขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่7และ11ตั้งแต่ต้นเหตุที่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่11ด้วยก็เพราะพิมพ์ข้อความตกไปฉะนั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องโดยขอเพิ่มเติมที่ดินโฉนดเลขที่11จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับทีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180วรรคสองและอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสามมีโอกาสคัดค้านตามมาตรา21(2)และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทั้งสามทราบล่วงหน้าอย่างน้อย3วันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องตามมาตรา181(1) คดีมีประเด็นโต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142และมาตรา183ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ และผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล
คดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานและการสืบพยานเนื่องจากศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ดังนั้นตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษา ถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยที่ 2แก้ไขคำให้การได้ หาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ไม่ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 181 ซึ่งหมายถึงให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 เสียใหม่นั้น เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การทั้งสองครั้งและมีโอกาสคัดค้านทั้งในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นควรสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอีก และเมื่อจะต้องรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การและดำเนินคดีต่อไปเช่นนี้แล้ว ก็เป็นอันยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งโจทก์ฎีกาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเช่นเดียวกัน ดังนั้น ที่จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดี และโจทก์ก็เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเช่นเดียวกัน จึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ซึ่งที่ถูกจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ 200 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายกล่องกระดาษ การผิดนัด การบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3 คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้น เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้ง รายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้าปรากฎตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฎรายละเอียดวันส่งสินค้าและจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ 2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญาจำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทนข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน...วันนับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์
of 10