คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 181

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายกล่องกระดาษ การผิดนัด การบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3 คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้น เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้ง รายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้าปรากฎตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฎรายละเอียดวันส่งสินค้าและจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ 2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญาจำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทนข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน...วันนับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีที่ไม่ถูกต้องและการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่กระทบสิทธิคู่ความ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าว โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132 (1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้วมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจนและเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก: บุตรทายาทลำดับที่หนึ่งมีสิทธิมากกว่าน้องร่วมบิดามารดา
ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย เป็นทายาทลำดับที่หนึ่ง ทายาทอื่นของผู้ตายก็ให้ความยินยอมและไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องเป็นน้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย เป็นทายาทลำดับถัดไปไม่มีสิทธิและส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ มีเหตุสมควรถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องของผู้คัดค้านเป็นการเพิ่มชื่อและนามสกุลของผู้ตายที่มีหลายชื่อและหลายนามสกุล เป็นเพียงรายละเอียดเล็กน้อย แม้ผู้คัดค้านจะไม่ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องก็อาจนำสืบถึงความข้อนี้ในชั้นพิจารณาได้อยู่แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมอนุญาตให้แก่ไขได้โดยไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ร้องทราบล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในความเสียหายจากไฟไหม้ไร่อ้อย การให้สัตยาบันการพิจารณาคดี และสิทธิในทรัพย์สินในที่ดินป่าสงวน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะลงชื่อมาในท้ายอุทธรณ์ แต่ก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์มิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยไม่น้อยกว่า 3 วันตามกำหนด แต่เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้คัดค้านที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาคำร้อง และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว จำเลยยังขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการชี้สองสถานไปเพื่อจำเลยจะได้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เช่นนี้เท่ากับจำเลยให้สัตยาบันแก่การพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุนี้ขึ้นมาคัดค้านในภายหลังอีกไม่ได้
แม้ที่ดินที่โจทก์ปลูกอ้อยจะเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่ชอบก็ตาม แต่อ้อยดังกล่าวก็ยังเป็นทรัพย์ของโจทก์ เมื่อมีบุคคลอื่นมาทำให้อ้อยที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้มาทำละเมิดได้
การปลูกป่าจำเป็นต้องแผ้วถางก่อน เมื่อแผ้วถางแล้วก็ต้องเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถาง เพื่อให้พื้นที่เตียนจะได้ปลูกป่าต่อไป การที่คนงานปลูกป่าของจำเลยจุดไฟเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถางไว้ จึงเป็นงานในทางการที่จ้าง จำเลยจะยกเอาเหตุดังกล่าวมาปัดความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การอ้างโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นคดีความสงบเรียบร้อย ศาลต้องพิจารณาตามขั้นตอน
การขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นคดีเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยื่น คำร้องในวันชี้สองสถานก็ไม่ต้องห้าม แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181 ศาลฎีกาจึงให้ ยกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181 แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอ, ค่าจ้าง, โบนัส, และผลของการไม่อนุญาตแก้ไขฟ้องในคดีแรงงาน
ศาลแรงงานพิพากษาไปตามคำขอบังคับของโจทก์เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับแล้ว ส่วนการพิพากษาเกินคำขอนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 มิได้บังคับให้ศาลแรงงานจำต้องปฏิบัติแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะกระทำได้เมื่อเห็นสมควรเท่านั้น
ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานหาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่ ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่า "การจ่ายเงินโบนัสจะทำการจ่ายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีปฏิทิน " แสดงว่าลูกจ้างผู้มีสิทธิรับเงินโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในเดือนธันวาคมซึ่งมีการจ่ายโบนัส ด้วยโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนเดือนธันวาคมจึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัส
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า "สำเนาให้จำเลยสั่งในวันนัด" แต่จนกระทั่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง ทั้งคู่ความก็มิได้แถลงประการใดต่อศาล ดังนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมิได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลแรงงานในการพิพากษาเกินคำขอ, สิทธิโบนัส, และการจ่ายค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้าง
ศาลแรงงานพิพากษาไปตามคำขอบังคับของโจทก์เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับแล้ว ส่วนการพิพากษาเกินคำขอนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 มิได้บังคับให้ศาลแรงงานจำต้องปฏิบัติแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะกระทำได้เมื่อเห็นสมควรเท่านั้น
ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน หาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่ ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่า 'การจ่ายเงินโบนัสจะทำการจ่ายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีปฏิทิน ' แสดงว่าลูกจ้างผู้มีสิทธิรับเงินโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในเดือนธันวาคมซึ่งมีการจ่ายโบนัสด้วยโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนเดือนธันวาคมจึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัส
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งในวันนัด' แต่จนกระทั่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง ทั้งคู่ความก็มิได้แถลงประการใดต่อศาล ดังนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมิได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในฟ้อง และการเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดของลูกจ้าง
ชื่อจำเลยในฟ้องตามที่โจทก์เสนอต่อศาลแต่แรกผิดเพี้ยนกับชื่อของจำเลยเพียงเล็กน้อย จำเลยได้เข้ามายื่นคำให้การในฐานะจำเลย มิได้อ้างว่าไม่ใช่จำเลยที่โจทก์ฟ้อง และโจทก์ก็มิได้คัดค้านว่าจำเลยมิใช่บุคคลที่โจทก์ฟ้องเป็นจำเลย พฤติการณ์แสดงว่าเป็นที่เข้าใจกันตลอดมาว่าจำเลยที่โจทก์ฟ้องคือบริษัท ช. จำเลยที่เข้ามาต่อสู้คดีนั่นเอง การแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงต่อความจริงตามที่เข้าใจกันอยู่แล้วเช่นนี้ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 21 และมาตรา 181 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง. แม้ศาลชั้นต้นได้ยอมรับการแก้ไขโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน และมิได้ส่งสำเนาคำร้องแก่จำเลย ก็หาถึงกับเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย แม้โจทก์ยังมิได้ซ่อมรถที่เสียหาย โจทก์ก็สามารถนำสืบถึงค่าซ่อมและค่าเสื่อมสภาพรถที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยและการเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดในทางการที่จ้าง
ชื่อจำเลยในฟ้องตามที่โจทก์เสนอต่อศาลแต่แรกผิดเพี้ยนกับชื่อของจำเลยเพียงเล็กน้อย จำเลยได้เข้ามายื่นคำให้การในฐานะจำเลย มิได้อ้างว่าไม่ใช่จำเลยที่โจทก์ฟ้อง และโจทก์ก็มิได้คัดค้านว่าจำเลยมิใช่บุคคลที่โจทก์ฟ้องเป็นจำเลย พฤติการณ์แสดงว่าเป็นที่เข้าใจกันตลอดมาว่าจำเลยที่โจทก์ฟ้องคือบริษัท ช. จำเลยที่เข้ามาต่อสู้คดีนั่นเอง การแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงต่อความจริงตามที่เข้าใจกันอยู่แล้วเช่นนี้ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 21 และมาตรา 181 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้ศาลชั้นต้นได้ยอมรับการแก้ไขโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน และมิได้ส่งสำเนาคำร้องแก่จำเลย ก็หาถึงกับเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย แม้โจทก์ยังมิได้ซ่อมรถที่เสียหาย โจทก์ก็สามารถนำสืบถึงค่าซ่อมและค่าเสื่อมสภาพรถที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้โจทก์ได้
of 10