คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 181

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยก่อนส่งหมายเรียก ศาลมีอำนาจอนุญาตตามมาตรา 181 โดยไม่จำต้องแจ้งจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินร่วมกับส. ให้แบ่งแยกที่ดินส่วนของ ส. ให้โจทก์ และโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ชื่อจำเลยในฟ้องจากนางสาวสนธนาเป็นนางสาวสมธนา ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินร่วมกับ ส. คือจำเลยนั่นเอง โจทก์เพียงแต่จะขอแก้ชื่อที่ผิดเพี้ยนให้ตรงกับความจริงเท่านั้น และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องดังกล่าวก็กระทำก่อนส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลย ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งอนุญาตให้แก้ฟ้องได้ โดยส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องพร้อมกับคำร้องขอแก้ฟ้องและคำสั่งศาลให้จำเลย ไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าเพื่อให้จำเลยมีโอกาสคัดค้าน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 181

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การขับรถแทนลูกจ้างและหน้าที่ควบคุมของนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างทำหน้าที่สารบรรณของจำเลยที่ 3 ไม่มีหน้าที่ขับรถ ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ขับรถคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 โดย น.ลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ยินยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับ และนั่งมาด้วย กรณีเช่นนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของ น.ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 1 ขับรถนั้นมิให้เกิดเหตุร้าย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุแทน น.ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ชนท้ายรถยนต์ของโจทก์เสียหาย น.ต้องรับผิดในการละเมิดที่เกิดขึ้น การละเมิดนี้ย่อมนับได้ว่าอยู่ในกรอบแห่งการที่จำเลยที่ 3 จ้าง จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์จำเลยที่ชนท้ายรถยนต์โจทก์ โดยถือตามบันทึกหมายเลข ทะเบียนรถของพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุซึ่งผิดพลาดต่อมาโจทก์จึงยึ่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนรถของจำเลยเฉพาะเลขตัวหน้าตัวเดียวให้ถูกต้องตามความจริงดังนี้ เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยที่โจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถานแม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตไปโดยไม่ ฟังข้อคัดค้านของจำเลยก็ตาม ก็ถือว่าชอบด้วยวิธีพิจารณาแล้ว
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยว่า "ก.ท.พ 2077" ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเป็นว่า "ก.ท.พ 2077 หรือ ก.ท.พ 3077" ดังนี้ ย่อมเป็นการขอแก้หมายเลขทะเบียนรถคันเกิดเหตุที่แท้จริงว่าเป็น ก.ท.พ 3077 นั่นเอง ทั้งคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ดังกล่าวชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 และไม่เคลือบคลุม
ภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่โจทก์อ้างประกอบคดีนั้นเป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่จำต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการแก้ไขฟ้องที่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างทำหน้าที่สารบรรณของจำเลยที่3 ไม่มีหน้าที่ขับรถ ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ขับรถคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 โดยน. ลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ยินยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับ และนั่งมาด้วยกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของ น. ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 1 ขับรถนั้นมิให้เกิดเหตุร้ายเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุแทน น. ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ชนท้ายรถยนต์ของโจทก์เสียหาย น. ต้องรับผิดในการละเมิดที่เกิดขึ้นการละเมิดนี้ย่อมนับได้ว่าอยู่ในกรอบแห่งการที่จำเลยที่ 3 จ้าง จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยที่ชนท้ายรถยนต์โจทก์โดยถือตามบันทึกหมายเลขทะเบียนรถของพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุซึ่งผิดพลาด ต่อมาโจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนรถของจำเลยเฉพาะเลขตัวหน้าตัวเดียวให้ถูกต้องตามความจริง ดังนี้เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยที่โจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตไปโดยไม่ฟังข้อคัดค้านของจำเลยก็ตาม ก็ถือว่าชอบด้วยวิธีพิจารณาแล้ว
คำฟ้องเดิมของโจทก์ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเป็นว่า'ก.ท.พ.2077หรือก.ท.พ.3077' ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยว่า 'ก.ท.พ.2077' ดังนี้ ย่อมเป็นการขอแก้คันเกิดเหตุที่แท้จริงว่าเป็น ก.ท.พ.3077 นั่นเอง ทั้งคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ดังกล่าว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 และไม่เคลือบคลุม
ภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่โจทก์อ้างประกอบคดีนั้น เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่จำต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถในการฟ้องคดี ทำได้ตลอดเวลาจนกว่าศาลมีคำพิพากษา
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติไว้ต่างหากจากบทบัญญัติเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามมาตรา 179ถึงมาตรา 181 โดยให้เป็นเรื่องที่คู่ความจะขอแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษา และเมื่อได้ปรากฏความบกพร่องในเรื่องความสามารถขึ้นแล้ว ห้ามมิให้ศาลพิพากษาในประเด็นแห่งคดีจนกว่าข้อบกพร่องนั้นได้แก้ไขโดยบริบูรณ์แล้ว ดังนั้น การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่อง ความสามารถจึงไม่อยู่ในบังคับว่าจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานเหมือนการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและคำให้การ
โจทก์เป็นหญิงมีสามี ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมของสามี เมื่อโจทก์แสดงหลักฐานว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์โดยนำหนังสือยินยอมอนุญาตของสามีให้ดำเนินคดีมาแสดงต่อศาล แม้ภายหลังการชี้สองสถานแล้วก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบกพร่องความสามารถในการฟ้องคดีทำได้ตลอดเวลาจนกว่าศาลมีคำพิพากษา
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติไว้ต่างหากจากบทบัญญัติเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามมาตรา 179ถึงมาตรา 181 โดยให้เป็นเรื่องที่คู่ความจะขอแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษา และเมื่อได้ปรากฏความบกพร่องในเรื่องความสามารถขึ้นแล้ว ห้ามมิให้ศาลพิพากษาในประเด็นแห่งคดีจนกว่าข้อบกพร่องนั้นได้แก้ไขโดยบริบูรณ์แล้ว ดังนั้น การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ จึงไม่อยู่ในบังคับว่าจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานเหมือนการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและคำให้การ
โจทก์เป็นหญิงมีสามี ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมของสามี เมื่อโจทก์แสดงหลักฐานว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์โดยนำหนังสือยินยอมอนุญาตของสามีให้ดำเนินคดีมาแสดงต่อศาล แม้ภายหลังการชี้สองสถานแล้วก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างขณะขับรถประจำตำแหน่ง แม้เลยเวลาราชการ
คำฟ้องของโจทก์ระบุเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยคันที่ชนโจทก์ผิดพลาด จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ารถยนต์นั้นมิใช่ของจำเลยแต่ต่อสู้ว่าคนขับรถมิใช่ลูกจ้างของจำเลย หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โจทก์มาขอแก้ไขฟ้องให้ถูกต้อง ดังนี้ เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อย แม้จะขอภายหลังกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ศาลก็มีอำนาจสั่ง อนุญาตได้
เทศบาลนครกรุงเทพจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้พนักงานเทศบาลชั้นผู้ใหญ่ใช้พร้อมกับจ้างคนขับรถให้ด้วยโดยผู้ใช้รถนำรถไปเก็บไว้ที่บ้าน คนขับรถได้ขับรถโดยประมาทชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสในขณะที่ผู้ใช้รถนั่งมาในรถนั้นด้วยแม้ขณะเกิดเหตุจะเป็นเวลา 20 นาฬิกานอกเวลาราชการ ก็ยังถือได้ว่าคนขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของเทศบาลได้กระทำไปในทางการที่จ้างเทศบาลจะปฏิเสธความรับผิดมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างในการขับรถประจำตำแหน่ง แม้พ้นเวลาราชการ
คำฟ้องของโจทก์ระบุเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยคันที่ชนโจทก์ผิดพลาด จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ารถยนต์นั้นมิใช่ของจำเลย แต่ต่อสู้ว่าคนขับรถมิใช่ลูกจ้างของจำเลย หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โจทก์มาขอแก้ไขฟ้องให้ถูกต้อง ดังนี้ เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อย แม้จะขอภายหลังกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ศาลก็มีอำนาจสั่งอนุญาตได้
เทศบาลนครกรุงเทพจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้พนักงานเทศบาลชั้นผู้ใหญ่ใช้พร้อมกับจ้างคนขับรถให้ด้วยโดยผู้ใช้รถนำรถไปเก็บไว้ที่บ้าน คนขับรถได้ขับรถโดยประมาทชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสในขณะที่ผู้ใช้รถนั่งมาในรถนั้นด้วยแม้ขณะเกิดเหตุจะเป็นเวลา 20 นาฬิกานอกเวลาราชการ ก็ยังถือได้ว่าคนขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของเทศบาลได้กระทำไปในทางการที่จ้างเทศบาลจะปฏิเสธความรับผิดมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ
เหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 นั้น ศาลสูงจะหยิบยกขึ้นอ้างตามมาตรานี้ได้ จะต้องมีเหตุอันสมควร เช่นว่า ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายในการต่อสู้คดีเป็นต้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจแม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้นไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การใหม่หลังขาดนัด เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ไม่ได้
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำให้การจำเลยเพราะพ้นกำหนด 8 วัน แม้จะเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ซึ่งจำเลยอาจอุทธรณ์ได้ทันทีตามมาตรา 228 ข้อ (3) แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยกลับใช้สิทธิตามมาตรา 199 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การใหม่ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นในครั้งหลังนี้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การหรือคำสั่งอันเกี่ยวกับคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ซึ่งจำเลยอุทธรณ์ทันทีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การใหม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา มิใช่วิธีพิจารณาคดี ทำให้ไม่อุทธรณ์ได้ทันที
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำให้การจำเลยเพราะพ้นกำหนด 8 วันแม้จะเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 ซึ่งจำเลยอาจอุทธรณ์ได้ทันทีตามมาตรา 228 ข้อ (3) แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยกลับใช้สิทธิตามมาตรา 199 ยื่นคำร้องขอ ให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การใหม่ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นในครั้งหลังนี้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การหรือคำสั่งอันเกี่ยวกับคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ซึ่งจำเลยอุทธรณ์ทันทีไม่ได้
of 10