พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15722/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคำฟ้องชั้นบังคับคดี: ไม่ขัดต่อกฎหมายหากเป็นบุคคลเดียวกัน
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำฟ้องของโจทก์ให้บริบูรณ์เพื่อแสดงและยืนยันตัวบุคคลว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน เมื่อ"นายสมเกียรติ" กับ "นายสมเกียรติ์" เป็นบุคคลคนเดียวกัน การขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อนายสมเกียรติ์เข้ามา จึงมิใช่เป็นกรณีฟ้องผิดตัวหรือฟ้องคดีต่างบุคคลกันและมิใช่เป็นการเพิ่มเติมข้อหาใหม่ หากแต่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาอย่างใด ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 ฉะนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 180 และมาตรา 181 ที่จะต้องถูกจำกัดระยะเวลาการยื่นคำร้องว่าต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน และไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15722/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในชั้นบังคับคดี: ไม่ถือเป็นการแก้ไขคำฟ้องใหม่ หากเป็นบุคคลเดียวกัน
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่านายสมเกียรติ คล้ายทอง กับนายสมเกียรติ์ คล้ายทอง เป็นบุคคลคนเดียวกัน การขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อนายสมเกียรติ์ เข้ามา จึงมิใช่เป็นกรณีฟ้องจำเลยที่ 3 ผิดตัวหรือฟ้องคดีต่างบุคคลกันและมิใช่เป็นการเพิ่มเติมข้อหาใหม่ หากแต่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาอย่างใด ทั้งกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ฉะนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 180 และมาตรา 181 ที่จะต้องถูกจำกัดระยะเวลาการยื่นคำร้องว่าต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน และไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6058/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องแย้งค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและการกำหนดจำนวนค่าอุปการะที่เหมาะสม
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่คลอดจนถึงขณะฟ้องแย้งเป็นเวลา 10 ปี ปีละ 25,000 บาท เป็นเงิน 2,500,000 บาท และต่อไปเป็นเวลา 10 ปี ปีละ 25,000 บาท เป็นเงิน 2,500,000 บาท รวม 5,000,000 บาท จำเลยประสงค์จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงบุตรปีละ 250,000 บาท การที่จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งให้ถูกต้อง เนื่องจากพิมพ์ตัวเลขตกไป จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย อันเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องแย้งก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ทั้งจำเลยไม่ได้ขอแก้ไขทุนทรัพย์ โดยยังคงติดใจเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู 2,000,000 บาท และไม่ได้เปลี่ยนแปลงข้อหาตามฟ้องแย้งเดิมตามมาตรา 179 จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 181 ที่จะต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขฟ้องแย้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคัดค้านในคดีล้มละลาย: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากประเด็นยังคงเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้แก้ไขคำคัดค้าน ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้คัดค้านยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 ศาลแพ่งสั่งรับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2547 ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2548 ศาลแพ่งตรวจพบว่าผู้คัดค้านมิได้ใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ซึ่งไม่ถูกต้อง ให้เพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ให้คืนคำร้องให้ผู้คัดค้านทำอุทธรณ์มาใหม่ภายใน 7 วัน ผู้คัดค้านนำอุทธรณ์มายื่นในวันที่ 27 มกราคม 2548 ถือได้ว่าผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์ก่อนวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ใช้บังคับ แต่ศาลแพ่งยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ จึงต้องบังคับตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ให้ถือว่าอุทธรณ์ของผู้คัดค้านเป็นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบถึงมูลเหตุเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยขอตัดข้อความเดิมในเรื่องอายุความทั้งหมดและแก้ไขใหม่เป็นว่า การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และ 240 โจทก์รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 จึงขาดอายุความ ประเด็นที่ผู้คัดค้านต่อสู้ตามคำคัดค้านที่ขอแก้ไขใหม่เป็นประเด็นเดียวกับที่ผู้คัดค้านต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง โดยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่อ้างว่าโจทก์ทราบถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 เท่านั้น และได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้แก้ไขคำคัดค้าน
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบถึงมูลเหตุเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยขอตัดข้อความเดิมในเรื่องอายุความทั้งหมดและแก้ไขใหม่เป็นว่า การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และ 240 โจทก์รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 จึงขาดอายุความ ประเด็นที่ผู้คัดค้านต่อสู้ตามคำคัดค้านที่ขอแก้ไขใหม่เป็นประเด็นเดียวกับที่ผู้คัดค้านต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง โดยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่อ้างว่าโจทก์ทราบถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 เท่านั้น และได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้แก้ไขคำคัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความหนี้ซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการ, และการฟ้องที่สมบูรณ์
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โดยไม่ได้แสดงเหตุว่าฟ้องโจทก์ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นอย่างไร อันทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ คำให้การของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ บัญชีพยานโจทก์และคำแถลงที่โจทก์ยื่นภายหลังการยื่นฟ้องต่างระบุชื่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ทั้งทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่โจทก์ระบุในใบแต่งทนายความว่าศาลแขวงพระนครใต้และระบุในหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครใต้จึงเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่า พ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลย ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่อของ พ. และ ธ. ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเขตอำนาจศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขชื่อศาลในใบแต่งทนายความและในหนังสือมอบอำนาจได้ แม้จะเป็นการขอแก้ไขหลังวันสืบพยานโจทก์และมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย เพราะเป็นการแก้ไขตรงกับข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ประกอบการค้ากระดาษและวัตถุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จำเลยประกอบกิจการโรงพิมพ์และค้าขายกระดาษ หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ค่าซื้อกระดาษที่นำมาใช้ในกิจการของจำเลย การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ บัญชีพยานโจทก์และคำแถลงที่โจทก์ยื่นภายหลังการยื่นฟ้องต่างระบุชื่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ทั้งทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่โจทก์ระบุในใบแต่งทนายความว่าศาลแขวงพระนครใต้และระบุในหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครใต้จึงเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่า พ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลย ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่อของ พ. และ ธ. ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเขตอำนาจศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขชื่อศาลในใบแต่งทนายความและในหนังสือมอบอำนาจได้ แม้จะเป็นการขอแก้ไขหลังวันสืบพยานโจทก์และมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย เพราะเป็นการแก้ไขตรงกับข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ประกอบการค้ากระดาษและวัตถุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จำเลยประกอบกิจการโรงพิมพ์และค้าขายกระดาษ หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ค่าซื้อกระดาษที่นำมาใช้ในกิจการของจำเลย การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการแก้ไขคำฟ้อง: ศาลฎีกาวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมาย
ขณะศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำฟ้อง ทั้งคำฟ้องและหมายเรียกคดีแพ่งสามัญศาลกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ชัดเจน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หากไม่พบหรือไม่มีผู้รับแทนโดยชอบให้ปิดหมายและเจ้าหน้าที่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ทนายจำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนด ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้โดยชอบและคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าหมายเรียกที่ส่งพร้อมสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยจะต้องระบุวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้เช่นกัน จำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์หาได้ไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำให้การของจำเลยไม่ว่าจะในวันที่จำเลยยื่นคำให้การหรือในวันหลังจากนั้นและได้นัดสืบพยานโจทก์ตามที่กำหนดไว้ ย่อมไม่ลบล้างวันนัดสืบพยานโจทก์ที่กำหนดไว้ในคำฟ้องและหมายเรียก จำเลยย่อมไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยหรือทนายจำเลยไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจึงเป็นการขาดนัดพิจารณา
โจทก์อ้างเหตุขอแก้ไขคำฟ้องว่าโจทก์พิมพ์ข้อความจำนวนสตางค์ผิดพลาด จึงขอแก้ไขจำนวนสตางค์ให้ตรงกับความจริงตามเอกสารท้ายฟ้อง อีกทั้งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้โดยไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยทราบล่วงหน้าเพื่อให้โอกาสจำเลยมีโอกาสคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 181
โจทก์อ้างเหตุขอแก้ไขคำฟ้องว่าโจทก์พิมพ์ข้อความจำนวนสตางค์ผิดพลาด จึงขอแก้ไขจำนวนสตางค์ให้ตรงกับความจริงตามเอกสารท้ายฟ้อง อีกทั้งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้โดยไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยทราบล่วงหน้าเพื่อให้โอกาสจำเลยมีโอกาสคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในชั้นบังคับคดีเมื่อเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ไม่เป็นการแก้ไขคำฟ้องและไม่อยู่ในบังคับมาตรา 180/181
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสหกรณ์แท็กซี่ร่วมมิตร จำกัด กับสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตร จำกัด เป็นนิติบุคคลเดียวกัน การขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตร จำกัด เข้ามาจึงมิใช่เป็นกรณีฟ้องจำเลยผิดตัวหรือฟ้องคดีต่างบุคคลกันและมิใช่เป็นการเพิ่มเติมข้อหาใหม่หากแต่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดีแต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใด ทั้งกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ฉะนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 180 และ 181 ที่จะต้องถูกจำกัดระยะเวลาการยื่นคำร้องว่าต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานและไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อนศาลจึงจะมีคำสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม การแก้ไขคำฟ้อง และการโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการคืนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นมารดาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นมารดาจำเลยที่ 2 และบรรยายฟ้องเกี่ยวกับถ้อยคำต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ให้เห็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อย่างไรด้วย และว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่โจทก์ยกให้จำเลยที่ 1 โดยขายให้จำเลยที่ 2 เป็นการทำนิติกรรมที่มีเจตนาไม่สุจริตและฉ้อฉลที่จะไม่ให้ที่ดินกลับคืนเป็นของโจทก์ ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดิน จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าการไม่สุจริตและฉ้อฉลคือการที่จำเลยที่ 1 สมรู้กับจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดิน เพื่อมิให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ จึงเป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากันจำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่า ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าโจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่มีการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นการแสดงให้เห็นด้วยว่า วันเวลาดังกล่าวมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดี แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้อง ก็ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากันจำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่า ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าโจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่มีการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นการแสดงให้เห็นด้วยว่า วันเวลาดังกล่าวมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดี แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้อง ก็ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องถอนคืนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณ การแก้ไขคำฟ้อง และการฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยบรรยายว่า โจทก์เป็นมารดาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นมารดาจำเลยที่ 2 และบรรยายถ้อยคำต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะให้เห็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้จำเลยที่ 1 โดยขายให้จำเลยที่ 2 เป็นการทำนิติกรรมที่มีเจตนาไม่สุจริตและฉ้อฉล โดยร่วมกันที่จะไม่ให้ทรัพย์สินตกกลับคืนเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่า การไม่สุจริตและฉ้อฉลคือการที่จำเลยที่ 1 สมรู้กับจำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อมิให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าไม่เคยประพฤติเนรคุณให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่โจทก์ ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในระหว่างการสืบพยานโจทก์แล้ว ในการนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าหยาบคายแก่โจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงทั้ง 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า วันเวลาในการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสอง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องก็ตาม แต่การที่จะให้มีการแก้ไขในข้อนี้ย่อมไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นการมีคำสั่งให้แก้ไขในประเด็นที่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี ทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับวันเวลาที่มีการแก้ไขดังกล่าวมาเป็นประเด็นชี้ขาดพิพากษาให้เพิกถอนคืนการให้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าไม่เคยประพฤติเนรคุณให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่โจทก์ ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในระหว่างการสืบพยานโจทก์แล้ว ในการนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าหยาบคายแก่โจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงทั้ง 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า วันเวลาในการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสอง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องก็ตาม แต่การที่จะให้มีการแก้ไขในข้อนี้ย่อมไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นการมีคำสั่งให้แก้ไขในประเด็นที่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี ทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับวันเวลาที่มีการแก้ไขดังกล่าวมาเป็นประเด็นชี้ขาดพิพากษาให้เพิกถอนคืนการให้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานจำเลย ศาลไม่อนุญาตหากทำให้การพิจารณาไม่สิ้นสุดและไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นครั้งที่สองหลังจากสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งหากอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้ตามขอการพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยก็ไม่มีที่สิ้นสุด แม้จำเลยจะอ้างว่า คำให้การที่ขอแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็หามีผลลบล้างพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบไปเสร็จสิ้นแล้วไม่ กรณีไม่มีเหตุอนุญาตให้แก้ไขคำให้การ