พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัด ดอกเบี้ยทบต้นคิดได้จนกว่าจะเลิกสัญญา
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชี และเบิกเงินเกินบัญชีโดยใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้ง เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้นจะมีกำหนดระยะเวลา แต่ก็ไม่มีข้อสัญญาระบุว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อยังมิได้มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามสัญญา จนกว่าจะมีการเลิกสัญญาและหักทอนบัญชีกันแล้ว
จำเลยมิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้มา ตั้งแต่ศาลชั้นต้น จะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
จำเลยมิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้มา ตั้งแต่ศาลชั้นต้น จะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้: ข้อตกลงขัดต่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 เป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินโจทก์ไป โดยเอาที่ดินจำนองเป็นประกันหนี้ตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 75 สตางค์ต่อเดือน ส่งดอกเบี้ยทุกๆ เดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ย ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงิน อันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันดังนี้ เป็นการให้คิดดอกเบี้ยกันได้ทันทีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยเดือนที่ค้าง ข้อความที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้โดยการจำนองรายนี้ จึงฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 และเป็นโมฆะ(อ้างฎีกาที่ 543/2510) โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยไม่ได้คงคิดดอกเบี้ยได้อย่างธรรมดาในอัตราร้อยละ 75 สตางค์ต่อเดือน และเมื่อได้ตกลงกันชัดแจ้งเช่นนี้ จะถือว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยทบต้นในทันทีที่ผิดนัด และข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยทบต้น ไม่เป็นโมฆะหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้: ข้อตกลงขัดต่อกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 655 เป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินโจทก์ไป. โดยเอาที่ดินจำนองเป็นประกันหนี้ตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 75 สตางค์ต่อเดือน ส่งดอกเบี้ยทุกๆ เดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ย ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงิน อันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันดังนี้ เป็นการให้คิดดอกเบี้ยกันได้ทันทีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยเดือนที่ค้าง ข้อความที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้โดยการจำนองรายนี้ จึงฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 และเป็นโมฆะ(อ้างฎีกาที่ 543/2510) โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยได้อย่างธรรมดาในอัตราร้อยละ 75 สตางค์ต่อเดือนและเมื่อได้ตกลงกันชัดแจ้งเช่นนี้ จะถือว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยทบต้นในทันทีที่ผิดนัด และข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยทบต้น ไม่เป็นโมฆะหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันครอบคลุมหนี้เดิมและดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณี
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัทจึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้วจึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้วจึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี ความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อหนี้เดิมและหนี้ในอนาคต ข้อตกลงดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1 เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัท จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกัน แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1 ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้ว จึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกัน แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1 ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้ว จึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันการเบิกเงินเกินบัญชี, สิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้, การคิดดอกเบี้ยหลังล้มละลาย, การเลิกสัญญา
โจทก์จำนองที่ดินไว้กับธนาคารจำเลยเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท อ. หนี้ตามบัญชีเดินสะพัดระหว่างบริษัท อ. กับจำเลยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหนี้ที่สั่งจ่ายเป็นเช็คเสมอไป หากเป็นหนี้ส่วนที่ตกลงให้มีบัญชีกันแล้ว จะเป็นหนี้ที่เกิดจากสัญญาหรือมูลอื่นก็ย่อมลงบัญชีกันได้ บริษัท อ. เคยยินยอมให้จำเลยเอาหนี้รับจำนำใบประทวนสินค้าที่บริษัท อ. เป็นลูกหนี้บริษัทในเครือเดียวกับธนาคารจำเลย รวมทั้งหนี้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการจำนำใบประทวนสินค้ามาลงในบัญชีเดินสะพัดที่บริษัท อ. เบิกเงินเกินบัญชี การลงบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการแจ้งยอดหนี้พร้อมทั้งรายการให้โจทก์ทราบตลอดมาทุกระยะโจทก์ก็ไม่คัดค้าน และโจทก์ในฐานะกรรมการจัดการของบริษัท อ.ยังได้ลงชื่อรับรอง ยอดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดของบริษัทอ. อีกด้วยวิธีการที่จำเลยเอาหนี้ดังกล่าวมาลงในบัญชีนั้น เป็นวิธีการตามลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด หาอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ. ยังเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระหนี้แทนตามสัญญาจำนอง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้วจำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้วจำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, จำนอง, ล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้, การคิดดอกเบี้ย, การรับชำระหนี้
โจทก์จำนองที่ดินไว้กับธนาคารจำเลยเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท อ. หนี้ตามบัญชีเดินสะพัดระหว่างบริษัท อ. กับจำเลยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหนี้ที่สั่งจ่ายเป็นเช็คเสมอไป หากเป็นหนี้ส่วนที่ตกลงให้มีบัญชีกันแล้ว จะเป็นหนี้ที่เกิดจากสัญญาหรือมูลอื่นก็ย่อมลงบัญชีกันได้ บริษัท อ. เคยยินยอมให้จำเลยเอาหนี้รับจำนำใบประทวนสินค้าที่บริษัท อ. เป็นลูกหนี้บริษัทในเครือเดียวกับธนาคารจำเลย รวมทั้งหนี้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการจำนำใบประทวนสินค้ามาลงในบัญชีเดินสะพัดที่บริษัท อ. เบิกเงินเกินบัญชี การลงบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการแจ้งยอดหนี้พร้อมทั้งรายการให้โจทก์ทราบตลอดมาทุกระยะโจทก์ก็ไม่คัดค้าน และโจทก์ในฐานะกรรมการจัดการของบริษัท อ.ยังได้ลงชื่อรับรองยอดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดของบริษัทอ. อีกด้วย วิธีการที่จำเลยเอาหนี้ดังกล่าวมาลงในบัญชีนั้น เป็นวิธีการตามลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด หาอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ. ยังเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่ โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระหนี้แทนตามสัญญาจำนอง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิดซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้ว จำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิดซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้ว จำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, เบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ย, สิทธิของธนาคาร, การเลิกสัญญา
การที่ลูกค้าผู้เปิดบัญชีฝากเงินประเภทกระแสรายวันไว้กับธนาคารพาณิชย์และได้ทำการเดินสะพัดทางบัญชี โดยนำเงินฝากและถอนเงินไปใช้เรื่อยมาภายหลังลูกค้ามีเงินฝากเหลืออยู่ในบัญชีเพียงเล็กน้อย จึงได้ตกลงกับธนาคารนั้นขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนตามประเพณีธนาคารแล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีเพื่อลดหนี้บ้าง ดังนี้ หาเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินไม่แต่เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้ว่า จะต้องชำระเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใดสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเป็นอันสิ้นสุดเลิกกันเมื่อธนาคารทวงถามให้ชำระหนี้
เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว ระยะเวลาต่อจากนั้นธนาคารจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกหาได้ไม่ คงคิดได้เฉพาะดอกเบี้ยตามปกติ
คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้ว่า จะต้องชำระเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใดสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเป็นอันสิ้นสุดเลิกกันเมื่อธนาคารทวงถามให้ชำระหนี้
เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว ระยะเวลาต่อจากนั้นธนาคารจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกหาได้ไม่ คงคิดได้เฉพาะดอกเบี้ยตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดและดอกเบี้ย: การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
การที่ลูกค้าผู้เปิดบัญชีฝากเงินประเภทกระแสรายวันไว้กับธนาคารพาณิชย์และได้ทำการเดินสะพัดทางบัญชีโดยนำเงินฝากและถอนเงินไปใช้เรื่อยมาภายหลังลูกค้ามีเงินฝากเหลืออยู่ในบัญชีเพียงเล็กน้อยจึงได้ตกลงกับธนาคารนั้นขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนตามประเพณีธนาคารแล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีเพื่อลดหนี้บ้าง ดังนี้ หาเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินไม่แต่เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้ว่า จะต้องชำระเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใดสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเป็นอันสิ้นสุดเลิกกันเมื่อธนาคารทวงถามให้ชำระหนี้
เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว ระยะเวลาต่อจากนั้นธนาคารจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกหาได้ไม่ คงคิดได้เฉพาะดอกเบี้ยตามปกติ
คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้ว่า จะต้องชำระเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใดสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเป็นอันสิ้นสุดเลิกกันเมื่อธนาคารทวงถามให้ชำระหนี้
เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว ระยะเวลาต่อจากนั้นธนาคารจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกหาได้ไม่ คงคิดได้เฉพาะดอกเบี้ยตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: หลักฐานการกู้ยืม, การเบิกเงิน, และดอกเบี้ยทบต้น
ฟ้องดังกล่าว จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป 10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้ พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่า จำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้ว การเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม