พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่ขัดมาตรา 653, ดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาที่ผิดนัดเป็นโมฆะ
การชำระหนี้เงินกู้ด้วยเช็ค เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 (อ้างฎีกาที่ 767/2505)
สัญญากู้ที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดที่ให้ชำระรายเดือน ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินทันที และยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเป็นต้นเงินซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยด้วย เป็นการให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 255 ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ
สัญญากู้ที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดที่ให้ชำระรายเดือน ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินทันที และยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเป็นต้นเงินซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยด้วย เป็นการให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 255 ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่ขัดมาตรา 653 และข้อตกลงดอกเบี้ยทบต้นขัดมาตรา 655
การชำระหนี้เงินกู้ด้วยเช็ค เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 (อ้างฎีกาที่ 767/2505)
สัญญากู้ที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดที่ให้ชำระรายเดือน ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินทันที และยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเป็นต้นเงินซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยด้วย เป็นการให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีที่ ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ
สัญญากู้ที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดที่ให้ชำระรายเดือน ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินทันที และยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเป็นต้นเงินซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยด้วย เป็นการให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีที่ ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นต้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 1 ปี การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
ดอกเบี้ยที่จะเอามาทบเป็นเงินต้นได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี การที่เอาดอกเบี้ยมาทบต้นตั้งแต่แรกกู้เงินโดยยังไม่ค้างชำระเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย มาตรา 655 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าแก่โจทก์ ถ้าเป็นดอกเบี้ยที่ไม่เกินอัตราตามกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมเรียกร้องเอาได้ เพราะข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อกฎหมาย ถ้าเกินอัตราตามกฎหมาย ข้อตกลงเรียกดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น
จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าแก่โจทก์ ถ้าเป็นดอกเบี้ยที่ไม่เกินอัตราตามกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมเรียกร้องเอาได้ เพราะข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อกฎหมาย ถ้าเกินอัตราตามกฎหมาย ข้อตกลงเรียกดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทบดอกเบี้ยเป็นเงินต้นและการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย
ดอกเบี้ยที่จะเอามาทบเป็นเงินต้นได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี การที่เอาดอกเบี้ยมาทบต้นตั้งแต่แรกกู้เงินโดยยังไม่ค้างชำระเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายมาตรา 655 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าแก่โจทก์ถ้าเป็นดอกเบี้ยที่ไม่เกินอัตราตามกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมเรียกร้องเอาได้ เพราะข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อกฎหมาย ถ้าเกินอัตราตามกฎหมาย ข้อตกลงเรียกดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น
จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าแก่โจทก์ถ้าเป็นดอกเบี้ยที่ไม่เกินอัตราตามกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมเรียกร้องเอาได้ เพราะข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อกฎหมาย ถ้าเกินอัตราตามกฎหมาย ข้อตกลงเรียกดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริง vs. เจตนาที่แสดงออก สัญญาค้ำประกัน และดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยทำสัญญาเป็นผู้กู้ แม้ในใจจริงจะถือว่าทำแทนผู้อื่น และไม่มีเจตนาให้ถูกผูกพันก็ตาม ก็ต้องถูกผูกพันตามที่ได้แสดงเจตนาออกมา เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจนั้น
แม้ผู้จัดการของนิติบุคคลโจทก์จะทราบความในใจดังกล่าวของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อผู้จัดการนั้นกับจำเลยได้ตกลงกันไว้ว่า การกู้เงินครั้งนี้ก็เพื่อเอาเงินมาให้ผู้จัดการ และเมื่อกู้เงินได้แล้ว ผู้จัดการก็ได้รับเงินไปเป็นประโยชน์เฉพาะตัว ผู้จัดการก็ไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนนิติบุคคลตาม ป.พ.พ.มาตรา 80 ความรู้ของผู้จัดการจึงถือเป็นความรู้ของนิติบุคคลด้วยไม่ได้
กู้เงินธนาคารเพื่อเอาไปปลูกบ้านโดยตรงไม่ใช่กรณีบัญชีเดินสะพัด เรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้.
แม้ผู้จัดการของนิติบุคคลโจทก์จะทราบความในใจดังกล่าวของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อผู้จัดการนั้นกับจำเลยได้ตกลงกันไว้ว่า การกู้เงินครั้งนี้ก็เพื่อเอาเงินมาให้ผู้จัดการ และเมื่อกู้เงินได้แล้ว ผู้จัดการก็ได้รับเงินไปเป็นประโยชน์เฉพาะตัว ผู้จัดการก็ไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนนิติบุคคลตาม ป.พ.พ.มาตรา 80 ความรู้ของผู้จัดการจึงถือเป็นความรู้ของนิติบุคคลด้วยไม่ได้
กู้เงินธนาคารเพื่อเอาไปปลูกบ้านโดยตรงไม่ใช่กรณีบัญชีเดินสะพัด เรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริง vs. เจตนาที่แสดงออก, ความรู้ของตัวแทนที่มีประโยชน์ขัดแย้ง, สัญญาค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญาเป็นผู้กู้ แม้ในใจจริงจะถือว่าทำแทนผู้อื่นและไม่มีเจตนาให้ถูกผูกพันก็ตาม ก็ต้องผูกพันตามที่ได้แสดงเจตนาออกมา เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจนั้น
แม้ผู้จัดการของนิติบุคคลโจทก์จะทราบความในใจดังกล่าวของจำเลยก็ตามแต่เมื่อผู้จัดการนั้นกับจำเลยได้ตกลงกันไว้ว่าการกู้เงินครั้งนี้ก็เพื่อเอาเงินมาให้ผู้จัดการและเมื่อกู้เงินได้แล้ว ผู้จัดการก็ได้รับเงินไปเป็นประโยชน์เฉพาะตัวผู้จัดการก็ไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 ความรู้ของผู้จัดการจึงถือเป็นความรู้ของนิติบุคคลด้วยไม่ได้
กู้เงินธนาคารเพื่อเอาไปปลูกบ้านโดยตรงไม่ใช่กรณีบัญชีเดินสะพัดเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้
แม้ผู้จัดการของนิติบุคคลโจทก์จะทราบความในใจดังกล่าวของจำเลยก็ตามแต่เมื่อผู้จัดการนั้นกับจำเลยได้ตกลงกันไว้ว่าการกู้เงินครั้งนี้ก็เพื่อเอาเงินมาให้ผู้จัดการและเมื่อกู้เงินได้แล้ว ผู้จัดการก็ได้รับเงินไปเป็นประโยชน์เฉพาะตัวผู้จัดการก็ไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 ความรู้ของผู้จัดการจึงถือเป็นความรู้ของนิติบุคคลด้วยไม่ได้
กู้เงินธนาคารเพื่อเอาไปปลูกบ้านโดยตรงไม่ใช่กรณีบัญชีเดินสะพัดเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องมีทรัพย์สิทธิเหนือทรัพย์สินลูกหนี้ การยึดโฉนดหรือระบุทรัพย์ในสัญญาไม่ถือเป็นประกัน
เจ้าหนี้มีประกันตามความหมายของมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือมีสิทธิยึดหน่วงหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ
การที่โจทก์เจ้าหนี้เพียงแต่ยึดโฉนดไว้ โดยไม่ได้ไปทำจำนองกันโดยถูกต้อง และเครื่องจักรที่ระบุไว้ในสัญญานั้นจำเลยลูกหนี้ก็ยังคงครอบครองใช้สอยอยู่โดยไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์เจ้าหนี้ยึดไว้แต่ประการใด ดังนี้ โจทก์เจ้าหนี้ย่อมไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีประกันตามความหมายในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
การที่โจทก์เจ้าหนี้เพียงแต่ยึดโฉนดไว้ โดยไม่ได้ไปทำจำนองกันโดยถูกต้อง และเครื่องจักรที่ระบุไว้ในสัญญานั้นจำเลยลูกหนี้ก็ยังคงครอบครองใช้สอยอยู่โดยไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์เจ้าหนี้ยึดไว้แต่ประการใด ดังนี้ โจทก์เจ้าหนี้ย่อมไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีประกันตามความหมายในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้นผิดสัญญา, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่ลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีและถอนไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีกันอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีแต่อย่างใดไม่
จะนำข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือนไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง
จะนำข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือนไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อายุความหนี้เงินกู้, และการรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของลูกหนี้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้ไว้แก่ธนาคารในวงเงินที่กำหนดไว้และมีระยะเวลา 2 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปนั้น กำหนดให้ถือตามบัญชีกระแสรายวันของธนาคารแล้วมีผู้ค้ำประกันเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวนั้นจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ คำว่า "เบิกเงินเกินบัญชี" ย่อมหมายความเป็นการเบิกเงินเกินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด การเข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้ จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่และหนี้ในอนาคตในวงเงินที่ค้ำประกันในระยะ 2 เดือนนั้นด้วย
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาจำนอง: ห้ามตามกฎหมายหากไม่มีข้อตกลง
การกู้เงินโดยเอาที่ดินและบ้านมาทำจำนองเป็นประกันหนี้นั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ซึ่งห้ามเอาดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงิน
ประเพณีการค้าของธนาคารที่ให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบ เมื่อผู้กล่าวอ้างไม่นำสืบก็รับฟังไม่ได้
ประเพณีการค้าของธนาคารที่ให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบ เมื่อผู้กล่าวอ้างไม่นำสืบก็รับฟังไม่ได้